logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

โรค เอสแอลอี เมื่อร่างกายทำร้ายตัวเอง

โดย :
myfirstbrain.com
เมื่อ :
วันพุธ, 17 สิงหาคม 2554
Hits
19238

โรค "เอสแอลอี" เมื่อร่างกายทำร้ายตัวเอง

โรคเอสแอลอี หลายคนเรียกว่า โรคพุ่มพวง เนื่องจากคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์ ราชินีลูกทุ่งป่วยด้วยโรคนี้ และเสียชีวิตต่อมาในที่สุดโรคเอสแอลอี ( Systemic Lupus Erythematosus) คือโรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โดยมีปัจจัยแวดล้อมบางอย่างเป็นตัวกระตุ้นให้ความผิดปกติปรากฏชัดขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติของผู้ป่วยจะทำร้ายเนื้อเยื่อตัวเอง โดยการสร้างสารเคมีไปทำให้เกิดการอักเสบที่หลอดเลือดและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ของอวัยวะต่างๆ ทำให้อวัยวะนั้นเกิดการอักเสบและเสียหน้าที่ อวัยวะที่มีการอักเสบบ่อยในโรคนี้คือ ข้อ ผิวหนัง ไต หัวใจ ปอด ระบบโลหิต ระบบประสาท เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าโรคเอสแอลอีมีอาการแสดงได้เกือบทุกอวัยวะ

ผู้ ป่วยโรคเอสแอลอีแต่ละรายอาจจะมีอาการแสดงของโรคที่ระบบใดระบบหนึ่งเพียงระบบ เดียว หรือมีพร้อมๆ กันหลายระบบ หรือเริ่มมีอาการที่อวัยวะหนึ่งก่อน แล้วจึงเกิดอาการที่อวัยวะอื่นตามมาก็ได้ และอาจมีความรุนแรง ทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้

ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีแนวโน้มทางพันธุกรรมอยู่ก่อน แล้วมีปัจจัยภายนอกบางอย่างเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ ปัจจัยภายนอกดังกล่าว ได้แก่ แสงแดด ความร้อน ยาบางชนิด เชื้อโรค ความเครียด การตั้งครรภ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยบางอย่างภายในตัวผู้ป่วยเอง เช่น ฮอร์โมนเพศ จึงพบว่าเพศหญิงเป็นโรคนี้มากกว่าเพศชายถึง 10 เท่า โรคนี้พบได้ประปรายทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

สาเหตุของโรค

ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการตอบสนองอย่างผิดปกติ ต่อเชื้อโรคหรือสารเคมีบางอย่าง ทำให้มีการสร้างแอนติบอดีหรือภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อต่างๆ ของตัวเอง บางคนจึงเรียกว่า โรคภูมิแพ้ตัวเอง

อาการของโรค



การตรวจวินิจฉัย

ผู้ที่สงสัยว่าตัวเองเป็นโรคเอสแอลอีควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย ว่าเป็นโรคนี้จริงหรือไม่ หากเป็นจริงจะได้รับการประเมินว่าโรคเกิดกับอวัยวะใดบ้าง ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจร่างกายโดยละเอียด พร้อมทั้งการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด ปัสสาวะ อุจจาระ และเอ็กซเรย์ทรวงอก เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคเอสแอลอี

1. อย่าวิตกกังวล โรคนี้สามารถควบคุมได้ด้วยยา ถ้าผู้ป่วยปฏิบัติตัวตามแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด อาการของโรคจะสงบลงได้

2. รักษาสุขภาพทั่วไป ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายแต่พอควร หลีกเลี่ยงสิ่งเสพติดทุกชนิด และทำจิตใจให้สงบ จะช่วยให้ควบคุมโรคได้ง่าย

3. ต้องปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด ไม่ควรเปลี่ยนแพทย์บ่อยๆ หากต้องการเปลี่ยนแพทย์เพราะมีความจำเป็นจริงๆ ควรขอข้อมูลการเจ็บป่วยและการดูแลรักษาติดตัวไปให้แพทย์ผู้ดูแลท่านใหม่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการดูแลรักษาต่อไป

4. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ดูแลรักษา เช่น รับประทานยาให้ตรงตามเวลาและขนาดที่กำหนด และพบแพทย์ตามเวลานัดหมาย

ข้อห้ามสำหรับผู้ป่วยเอสแอลอี

1. ไม่ควรออกแดดจัดทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ถ้าจำเป็นต้องออกกลางแจ้งควรใช้ร่มและครีมกันแดด

2. หลีกเลี่ยงอากาศเย็นจัด ร้อนจัด และการออกแรงหรือออกกำลังกายหนักๆ

3. พยายามหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ เช่น อย่ารับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ไม่สะอาด อย่าเข้าใกล้คนป่วย อย่าอยู่ในที่แออัด เป็นต้น และทุกครั้งที่รู้สึกไม่สบาย ควรรีบปรึกษาแพทย์

4. ไม่ควรทดลองรักษาโรคด้วยยาต่างๆ เช่น ยาไทย ยาจีน ยาหม้อ เพราะอาจเกิดอาการแพ้ยาแทรกซ้อน ทำให้โรคกำเริบได้

อย่าง ไรก็ตามยังมีปัจจัยบางอย่างที่ทั้งผู้ป่วยและแพทย์ไม่สามารถควบคุมและหลีก เลี่ยงได้ ในกรณีนี้ ผู้ป่วยอาจยังมีอาการของโรคอยู่บ้าง แต่หากผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าวได้ อาการของโรคก็จะไม่รุนแรงและสงบลงได้ในที่สุด และช่วยให้ผู้ป่วยอยู่ร่วมกับโรคอย่างเป็นสุขได้


ที่มาข้อมูล : ผู้จัดการ

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
โรค,เอสแอลอี,ร่างกาย
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพุธ, 17 สิงหาคม 2554
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
myfirstbrain.com
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 2144 โรค เอสแอลอี เมื่อร่างกายทำร้ายตัวเอง /article-science/item/2144-woman-syndrome
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
มาตรฐานแถบสีธงชาติไทย
มาตรฐานแถบสีธงชาติไทย
Hits ฮิต (27446)
ให้คะแนน
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่หน่วยงานหรือองค์กรใด ๆ มักให้ความสำคัญเป็นอย่างมากก็คือการใช้สีของสัญลักษณ์หร ...
ต้นกำเนิดการประปาของสยามประเทศ
ต้นกำเนิดการประปาของสยามประเทศ
Hits ฮิต (20388)
ให้คะแนน
รู้หรือไม่ ว่าระบบการประปาของไทยมีจุดกำเนิดเริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ นี่เป็นคำถามที่มีหลายคนอาจรู้ ...
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรหัสสนามบิน
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรหัสสนามบิน
Hits ฮิต (30455)
ให้คะแนน
เชื่อว่าหลายคนต้องเคยเดินทางโดยเครื่องบินโดยสารประเภทพานิชย์กันอย่างแน่นอน เคยสงสัยไหมว่า สนามบินหร ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

SciMath ใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้
ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตกลง
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)