เวลาเดิน มันไม่ได้เดินตัวตรงเหมือนคน แต่จะใช้ 2 มือ และ 2 ขาเดิน โดยใช้ข้อมือแตะพื้นไป ถึงแม้จะเดินตรงไม่ได้ แต่มันก็สามารถยืนตรงได้ แต่ก็ได้ไม่นานชิมแปนซีมีขนสีดำ บางตัวขนเป็นสีเทา หรือน้ำตาล แต่พออายุมากขึ้น ขนจะเป็นสีเทา ขณะอายุน้อยขนบนหัวดก แต่พออายุมาก ศีรษะมักล้าน
ชิมแปนซีเป็นสัตว์ที่รักสันติ มันจะไม่โจมตีสัตว์อื่น ศัตรูสำคัญคือคนและเสือ มัน ต่อสู้โดยใช้ปากกัด เวลาชาวบ้านจะล่ามัน เขาจะย่องตามไปดูมันอย่างเงียบๆ ว่ารังมันอยู่ที่ใด จากนั้นก็ส่งเสียงดังทำให้มันตกใจตะลีตะลานหนี โดยลิงตัวพ่อจะลงจากต้นไม้ก่อน ซึ่งเขาจะปล่อยไป แต่พอลิงตัวเมียและลูกๆ หนี ขณะเดินผ่านตาข่าย ชาวบ้านจะยกตาข่ายขึ้นทำให้มันติดกับ เพราะชิมแปนซีเป็นสัตว์ที่ฝึกง่าย ดังนั้นคนจึงชอบเอามันไปแสดงละครลิงหรือละครสัตว์
ชิมแปนซีตัวเมียคลอดลูกได้ตลอดปี มันมีลูกครั้งละตัว แต่บางครั้งก็ได้ลูกแฝด ลูกลิงช่วยตัวเองไม่ได้จึงต้องพึ่งพาแม่มันมาก และนานประมาณ 2 ปี จึงจะแยกตัวเป็นอิสระ แต่เมื่อมีภัยมา มันก็จะหวนกลับไปหาแม่อีก มันโตเต็มที่เมื่อมีอายุได้ 12 ปี และมีอายุยืนตั้งแต่ 30-50 ปี (ขึ้นกับสายพันธุ์)
ในป่าที่มีต้นไม้อุดมสมบูรณ์ มันกินผลไม้สุก แต่ในยามที่ผลไม้ขาดแคลน มันกินใบไม้ ปลวกหรือเคี้ยวเปลือกไม้ ขณะอยู่ป่ามันมักไม่ดื่มน้ำ เวลาดื่มน้ำ มันใช้นิ้วจุ่มลงน้ำแล้วเลียน้ำจากนิ้ว
เวลาตัวเมียติดสัด มันจะผสมพันธุ์กับตัวผู้หลายตัว เพราะมันไม่มีอารมณ์หึงหวงเช่นคน ชิมแปนซีจึงเป็นสัตว์สำส่อน ข้อสังเกตหนึ่งที่ได้จากการศึกษาชีวิตของสัตว์ชนิดนี้คือ ญาติที่ใกล้ชิดกันจะไม่ผสมพันธุ์กัน และพี่น้องลิงร่วมท้องเดียวกัน มักเป็นเพื่อนเล่นกัน หรือไม่ก็แต่งขนให้กันและกัน
สังคมลิงพันธุ์นี้ไม่มีการแบ่งวรรณะ แต่ตัวผู้มีตำแหน่งสูงสุดในฝูง มันใช้เสียง และท่าทางในการสื่อสารและส่งสัญญาณ และอาจใช้มือโอบกอดเวลาแสดงความเป็นมิตรกัน เวลาต้องการขู่มันจะส่งเสียงดัง และเปล่งเสียงต่ำ เวลาต้องการเตือนภัย เป็นต้น
ประวัติการศึกษา ญาติที่ใกล้ชิดมนุษย์ที่สุดมีว่า นักชีววิทยาสัตว์ดึกดำบรรพ์ได้พบว่า ในอดีตเมื่อ 7 ถึง 5 ล้านปีก่อนนี้ มนุษย์และชิมแปนซีมีบรรพบุรุษร่วมกัน การศึกษา DNA ของคน และชิมแปนซีแสดงให้เห็นว่า เมื่อ 5 ล้านปีก่อนนี้ ชิมแปนซีได้วิวัฒนาการแยกจากคนเป็น Pan Troglodytes
ในปีพ.ศ.2184
Nicolas Tulp นักกายวิภาคชาวเนเธอร์แลนด์ได้ให้ข้อกำหนดว่า เอปเป็นลิงที่ไม่มีหาง และอีก 58 ปีต่อมา
Edward Tyson แพทย์ชาวอังกฤษได้ผ่าร่างของชิมแปนซี และพบว่ามันมีอวัยวะต่างๆ คล้ายคนมาก
ในปีพ.ศ.2318
Johanns Friedrich Blumenbach นักมานุษยวิทยาชาวเยอรมัน ได้ตั้งชื่อชนิดนี้ว่า
troglodytes ซึ่งหมายความว่า พวกที่ชอบอาศัยอยู่ตามถ้ำ
พ.ศ.2359
Lorenz Oken นักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมันตั้งชื่อสกุล (genus) ของชิมแปนซีว่า
Pan ตามชื่อของเทพเจ้ากรีก ผู้มีขนตามตัวรุงรัง
พ.ศ.2414
Charles Darwin แถลงว่า ชิมแปนซีเป็นสัตว์ที่ใกล้เคียงมนุษย์มากที่สุด
พ.ศ.2504 ชิมแปนซีชื่อ
Ham ถูกส่งขึ้นโคจรในอวกาศเป็นครั้งแรก ในสภาพไร้น้ำหนักนานกว่า 6 นาที
พ.ศ.2508
Jame Goodall นักชีววิทยาชาวอเมริกันได้ตีพิมพ์งาน วิจัยในวารสาร Nature ว่า ชิมแปนซีสามารถสร้างอุปกรณ์ได้ เช่น ใช้กิ่งไม้เป็นอุปกรณ์หาอาหาร โดยใช้ไม้แหย่รูปลวก มดและไล่ให้มันออกจากรูมาให้ลิงจับกิน
พ.ศ.2513
Gordon Gallup ได้ทดลองพบว่า ชิมแปนซีสามารถจำตัวเองได้ในกระจกเงา
พ.ศ.2521
Sue Savage-Rumbauch ได้รายงานในวารสาร
Science ว่า ชิมแปนซีมีความสามารถในการสื่อสาร เช่น ขออาหารกินได้
พ.ศ.2521
William Mc Grew และ Caroline Tutin ได้พบว่า ชิมแปนซีมีประเพณีในการดำรงชีวิต
พ.ศ.2527
Charles Sibley และ Jon Ahlquist พบว่า รหัสพันธุกรรม (genome) ของคนและชิมแปนซีคล้ายกันถึง 98%
พ.ศ.2540
Edwin Mc Conkey และ Morris Goodman ได้เสมอให้นักชีววิทยาโมเลกุลเปรียบเทียบ genome ของคน และชิมแปนซี
พ.ศ.2545
Svante Paabo ได้รายงานในวารสาร
Nature ว่า ยีน
FOXP2 (ที่มีบทบาทในการพูด) ของคนแตกต่างจากชิมแปนซี
พ.ศ.2545 โครงการถอดรหัสพันธุกรรมของชิมแปนซีได้รับการจัดอันดับให้มีความสำคัญระดับต้นๆ
พ.ศ.2547 คณะนักวิทยาศาสตร์จากญี่ปุ่นได้ศึกษา
Chromosome ทั้ง 24 คู่ของชิมแปนซี เพื่อเปรียบเทียบกับ
Chromosome 23 คู่ของคน
1 กันยายน พ.ศ.2548 รหัสพันธุกรรมฉบับค่อนข้างสมบูรณ์ของชิมแปนซี (98%) ปรากฏในวารสาร Nature ซึ่งแสดงให้เห็นว่า 29% ของยีน คนและชิมแปนซีเหมือนกัน และการแปลรหัสที่ได้นี้ในอนาคตจะทำให้เราเข้าใจว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้คน (Homo sapiens) แตกต่างจากชิมแปนซี (Pan troglodytes) ไม่ว่าจะเป็นด้านความสามารถในการได้ยิน การสืบพันธุ์ การติดโรคหรือการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
ข้อมูลที่ปรากฏยังแสดงให้เห็นอีกว่า
ในแง่ ชีววิทยาโลเมกุลคนแตกต่างจากชิมแปนซีน้อยกว่าที่คนแตกต่างจากหนู (mice) 60 เท่า และคนแตกต่างจากชิมแปนซีมากประมาณ 10 เท่าของความแตกต่างด้านรหัสพันธุกรรมระหว่างคน 2 คน
สุทัศน์ ยกส้าน ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สสวท