logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • ตะคริว เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

ตะคริว เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

โดย :
myfirstbrain
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 04 สิงหาคม 2554
Hits
16130

"ตะคริว" เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

ตะคริว (Muscle Cramps) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้อย่างกะทันหันและบ่อยๆ จากการที่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อส่วนใด ทั้งแขน ขา น่อง ผู้เขียนเองเป็นคนหนึ่ง ที่เคยประสบกับปัญหาตะคริวที่กล้ามเนื้อน่องมาแล้ว แม้จะเป็นนักเดินป่ามานานหลายปี แต่ประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตที่โดนตะคริวเล่นงาน ก็เล่นเอาเกือบแย่เหมือนกันเรามารู้จักตะคริวกันซักนิด เผื่ออนาคตท่านนักอ่านได้ประสบกับปัญหานี้ จะได้หาทางแก้ไขได้

ตะคริว
คือ ภาวะที่กล้ามเนื้อหดเกร็งเองโดยที่เราไม่ได้สั่งให้เกร็งหรือหดตัว แต่กล้ามเนื้อนั้นหดเกร็งเองเป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยที่เราไม่สามารถควบคุมให้กล้ามเนื้อมัดนั้นๆ คลายตัวหรือหย่อนลงได้ ถ้าหากไม่ได้รับปฏิบัติที่ถูกต้อง กล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว หรือหดเกร็งจะค่อยๆ คลายตัวทีละน้อยไปเอง แต่กว่าจะหาย คนที่เป็นตะคริวก็จะมีความเจ็บปวดค่อนข้างมาก

สาเหตุ

1. การขาดน้ำ จากการศึกษาพบว่าการขาดน้ำจะทำให้เกิดตะคริวและเป็นรุนแรง

2. ภาวะเกลือแร่ไม่สมดุล โดยเฉพาะ Sodium และ Potassium ภาวะที่ทำให้เกลือแร่เสียสมดุลได้แก่ ท้องร่วง อาเจียน เสียเหงื่อ หรือรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล

3. กล้ามเนื้ออ่อนล้า จากการใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือได้รับบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อจากการกระแทก ทำให้เกิดการฟกช้ำที่กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อที่พบว่าเป็นตะคริวได้บ่อย คือ กล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อต้นขาทั้งด้านหน้า และด้านหลัง และกล้ามเนื้อหลังแต่ที่คนส่วนใหญ่เป็นกันคือกล้ามเนื้อน่อง

4. กล้ามเนื้อขาดการยืดหยุ่น
กล้ามเนื้อที่ตึงจะเกิดตะคริวได้บ่อย

5. กล้ามเนื้อที่อ่อนแรง หากต้องทำงานหนักจะเกิดตะคริวได้บ่อย

6. กล้ามเนื้อขาดเลือด หากออกกำลังกายอย่างหนักโดยที่ไม่ได้ Warm up จะทำให้
เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่พอจะเกิดตะคริว

อาการ เมื่อเริ่มมีอาการจะรู้สึกว่ากล้ามเนื้อส่วนหนึ่งส่วนใด (เช่น น่อง หรือต้นขา) มีการแข็งตัวและปวดมาก เอามือคลำดูจะรู้สึกแข็งเป็นก้อน บางครั้งอาจมีขนาดเท่าผลส้มได้ ถ้าพยายามขยัเขยื้อน กล้ามเนื้อส่วนนั้น จะทำให้ยิ่งแข็งตัว และปวดมากขึ้น ถ้าเป็นขณะนอนหลับ จะรู้สึกปวดจนสะดุ้งตื่น โดยทั่วไป จะเป็นอยู่เพียงไม่กี่นาทีก็หายได้เอง และไม่มีความผิดปกติอื่นๆ เกิดร่วมด้วย เมื่อหายแล้ว จะรู้สึกเป็นปกติทุกอย่าง

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
มีหลักการง่ายๆ ดังนี้ คือจะต้องค่อยๆ ยืดกล้ามเนื้อออกให้อยู่ในความยาวที่ปกติของกล้ามเนื้อนั้นๆ และให้ยืดกล้ามเนื้ออยู่จนกระทั่งหายปวด อาจใช้เวลาประมาณ 1-2 นาที แล้วลองปล่อยมือดูอาการว่ากล้ามเนื้อนั้นๆ ยังเกร็งอยู่หรือไม่ ถ้ายังมีอยู่ ให้ทำซ้ำอีกจนกระทั่งปล่อยมือแล้วไม่มีการเกร็งตัว ถือว่าเพียงพอแล้วเช่น ถ้าเกิดเป็นตะคริวที่น่อง ให้รีบเหยียดเข่าให้ตรง และรีบกระดกปลายเท้าขึ้น อาจทำเองหรือให้คนที่อยู่ใกล้ๆ ช่วยก็ได้ ถ้าทำเองอาจก้มไป เอามือดึงปลายเท้าเข้าหาตัว ค้างไว้ประมาณ 1-2 นาที จะสามารถแก้ปัญหาเรื่องปวดได้เป็นอย่างดี การบีบนวดขณะกล้ามเนื้อเกร็งตัวไม่ควรทำ แต่ถ้าหากกล้ามเนื้อคลายตัวแล้วอาจบีบนวด โดยใช้มือบีบนวดไล่จากเอ็นร้อยหวายขึ้นไปจนถึงข้อเข่าใช้ทิศทางเดียว เพื่อช่วยให้การไหลเวียนของเลือดกลับไปสู่หัวใจได้ดีขึ้น

การป้องกันตะคริว


1. ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ อาจจะดื่มน้ำธรรมดาหรือน้ำแร่ก็ได้

2. ปรับกล้ามเนื้อโดยการบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรง และให้มีความยืดหยุ่นสูง

3. รับประทานอาหารที่มี Potassiumสูง เช่น กล้วย, ส้มฯ

4. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้กล้ามเนื้อและร่างกายแข็งแรง

5. ก่อนออกกำลังกายให้ Warm up ทุกครั้ง

6. ขณะเกิดอาการตะคริวให้ทำการยืดกล้ามเนื้อจะลดอาการปวด

7. หลังเกิดตะคริวให้นวดกล้ามเนื้อ ซึ่งจะลดอาการปวด การนวดอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดอาการตะคริว

ที่มาข้อมูล : http://www.google.co.th

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ตะคริว
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 04 สิงหาคม 2554
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
myfirstbrain
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 2127 ตะคริว เกิดขึ้นได้อย่างไร ? /article-science/item/2127-cramp
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
หักล้างความคิด ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับร่างกายมนุษย์
หักล้างความคิด ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับร่...
Hits ฮิต (19749)
ให้คะแนน
ผู้คนมักมีแนวโน้มที่จะแชร์เรื่องราวต่าง ๆ อย่างรวดเร็วผ่านสื่อสังคมออนไลน์โดยที่ไม่ได้ตรวจสอบข้อมูล ...
สารพิษ ในหัวกลอย กินแล้วอาจตายได้
สารพิษ ในหัวกลอย กินแล้วอาจตายได้
Hits ฮิต (43537)
ให้คะแนน
สารพิษ ในหัวกลอย กินแล้วอาจตายได้ สุนทร ตรีนันทวัน เมื่อเร็วๆนี้มีข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์เรื่องหนึ่ ...
ทำไมบางคนจึงกลัวภาพบางภาพ?
ทำไมบางคนจึงกลัวภาพบางภาพ?
Hits ฮิต (19534)
ให้คะแนน
คำเตือน ภาพที่จะได้เห็นดังต่อไปนี้อาจทำให้คุณผู้อ่านบางท่านรับประทานอาหารเช้าไม่ลง หรือไม่ก็นอนฝันร ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)