logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • ความหวานจากน้ำตาลธรรมชาติ

ความหวานจากน้ำตาลธรรมชาติ

โดย :
นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 230
เมื่อ :
วันอังคาร, 26 กรกฎาคม 2554
Hits
20127
ความหวานจากน้ำตาลธรรมชาติ



น้ำตาลถือว่าเป็นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเช่น เดียวกับที่มีอยู่ในข้าว เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง เผือก มัน เป็นต้น มีหน้าที่สำคัญในการให้พลังงานแก่ร่างกาย ช่วยกระตุ้นการหลั่งของสารเคมีบางชนิดในสมอง ทำให้รู้สึกสดชื่น อารมณ์ดี และช่วยให้วงจรต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ เราสามารถแบ่งประเภทของน้ำตาลตามคุณสมบัติทางโครงสร้างได้ดังนี้
  • น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว คือน้ำตาลที่มีโมเลกุลของคาร์โบไฮเดรตที่เล็กสุด เมื่อรับประทานเข้าไปกระเพาะและลำไส้เล็กสามารถดูดซึมได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อย มีรสหวาน สามารถละลายน้ำได้ ได้แก่
* กลูโคส คือน้ำตาลที่เป็นผลสุดท้ายของการย่อยคาร์โบไฮเดรตก่อนถูกดูดซึมเข้าสู่ร่าง กาย ในภาวะปกติร่างกายจะมีกลูโคสอยู่ประมาณ 60-120 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร พบในผักและผลไม้ทั่วไป
* ฟรุกโตส พบในผักผลไม้ที่มีรสหวานทั่วๆ ไป และในน้ำผึ้ง

* กาแลกโตส คือน้ำตาลที่ได้จากการสลายตัวของแลกโทสในน้ำนม (เป็นส่วนผสมระหว่างกลูโคสกับแลกโตส) พบในน้ำนม
  • น้ำตาลโมเลกุลคู่ เป็นคาร์โบไฮเดรตที่เกิดจากการรวมตัวกันของน้ำตาลเชิงเดี่ยวสองโมเลกุล มีรสหวาน ละลายน้ำได้ เมื่อรับประทานเข้าไป น้ำตาลประเภทนี้ไม่สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ทันที จะต้องผ่านกระบวนการย่อยให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวก่อน จึงจะสามารถนำไปใช้งานได้ คือ
* ซูโครส ได้จากน้ำตาลทราย น้ำตาลอ้อย น้ำตาลโตนด น้ำตาลมะพร้าว และน้ำตาลจากหัวผักกาดหวาน และในผลไม้สุกเกือบทุกประเภท น้ำตาลซูโครสประกอบด้วย กลูโคสและฟรุกโทส อย่างละ1 โมเลกุล เมื่อผ่านการย่อยจะได้กลูโคสและฟรุกโตส

* มอลโตส เป็นน้ำตาลที่มีอยู่ในเมล็ดพืชที่กำลังงอก เช่น น้ำตาลมอลต์ที่ได้จากข้าวมอลต์ หรือข้าวบาร์เลย์ที่กำลังงอก เกิดจากการรวมตัวกันของกลูโคสกับกลูโคส เมื่อผ่านการย่อยสลายของร่างกายจะได้น้ำตาลกลูโคส 2 โมเลกุล

* แลกโตส เกิดจากการรวมตัวกันของกลูโคสกับกาแลกโตส อย่างละ 1 โมเลกุล พบในน้ำนม มีรสหวานน้อย เมื่อผ่านการย่อยเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวจะได้กลูโคสและกาแลกโตส อย่างละ 1 โมเลกุล



เมื่อเรากินน้ำตาลเข้าไปร่างกายจะนำไปย่อยโดยผ่านกระบวนการเมตาบอลิซึม เพื่อให้โมเลกุลของน้ำตาลแตกตัวจนเหลือเป็นหน่วยเล็กที่สุดคือ "กลูโคส" จากนั้นจะดูดซึมเข้าสู่ผนังกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนกลาง ก่อนจะส่งไปยังกระแสเลือด เพื่อนำไปใช้เป็นต่อไป

หน้าที่หลักของน้ำตาลกลูโคส (คาร์โบไฮเดรต) คือเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย ช่วยให้กล้ามเนื้อมีการยืดและหดตัว ควบคุมการเต้นของหัวใจ ช่วยในการไหลเวียนของระบบเลือด ระบบประสาท และช่วยให้ระบบเนื้อเยื่อทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้การส่งข้อมูลต่างๆ ของระบบประสาทต่างๆ ไปยังสมองมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้นอีกด้วย

ทั้งนี้ ยังพบว่ากลูโคสเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของสมองอีกด้วย กล่าวคือ เมื่อเราได้รับน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่พอดี ตับอ่อนจะปล่อยอินซูลินเข้า สู่กระแสเลือดในทันที ซึ่งส่งผลให้สมองสร้างสารซีโรโตนิน (Serotonin) (ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแสดงออกทางความรู้สึกและควบคุมการนอนหลับ) ออกมา ซึ่งทำให้เราลดความวิตกกังวลและความเครียดต่างๆ ได้ เราจึงพบว่าหลังรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต (ข้าว ขนมปัง น้ำตาล ฯลฯ) ไปแล้วอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง มักจะรู้สึกผ่อนคลายและสงบ





  • น้ำตาลโตนด เกิดจากการนำน้ำหวานที่ไหลซึมออกมาจากช่อดอก (ปลายงวง) ของต้นตาลมาเคี่ยวจนงวด ก่อนจะกวนและตีเพื่อให้น้ำตาลขึ้นตัว จากนั้นจึงหยอดลงเบ้าหรือพิมพ์ ซึ่งเรามักจะเห็นกันในรูปของครึ่งวงกลมคล้ายถ้วย ชาวบ้านจะเรียกน้ำตาลรูปแบบนี้ว่า น้ำตาลปึก แต่หากใส่ในภาชนะต่างๆ ก็จะเรียกตามภาชนะที่ใส่ เช่น น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลหม้อ เป็นต้น
  • น้ำตาลมะพร้าว น้ำหวานที่ได้จากจั่นมะพร้าว จะมีลักษณะคล้ายกับน้ำหวานจากตาลโตนด จะต่างตรงที่กลิ่นของน้ำตาลมะพร้าวจะไม่หอมเท่า และมีรสชาติที่หวานแหลมกว่า ทั้งนี้ วิธีการทำน้ำตาลมะพร้าวจะเหมือนกับน้ำตาลโตนด จึงเรียกว่าน้ำตาลปึก น้ำตาลปี๊บเหมือนกัน และสามารถนำมาประกอบอาหารได้เหมือนกัน
  • น้ำตาลอ้อย การทำน้ำตาลอ้อยเริ่มจากเอาลำอ้อยมาหีบเอาน้ำอ้อย แล้วนำมาเคี่ยวในกระทะใบบัวรอจนกว่าน้ำอ้อยจะเหนียวได้ที่ และมีสีน้ำตาลเข้มจัด จึงหยอดลงพิมพ์ที่เตรียมไว้ ซึ่งมีหลายรูปแบบ ทั้งแผ่นกลม ทรงกระบอกคล้ายอ้อยควั่น นอกจากใช้ทำขนมแล้ว ยังมีอาหารอีกหลายอย่างที่ต้องใช้รสหวานและกลิ่นหอมจากน้ำตาลอ้อยเท่านั้น เช่น ปลาตะเพียนต้มเค็ม น้ำปลาหวานสะเดา ต้มฟักหวาน เป็นต้น ทั้งนี้ กลิ่นหอมของน้ำตาลอ้อยที่หอมเหมือนน้ำตาลไหม้จะช่วยดับกลิ่นเครื่องเทศใน อาหารให้หอมอร่อยยิ่งขึ้น


  • น้ำตาลทรายแดง จัดเป็นน้ำตาลเพื่อสุขภาพอีกชนิดหนึ่งที่ได้จากการนำน้ำอ้อยมาเคี่ยว โดยหมั่นตักเอาสิ่งสกปรกออกจนน้ำเชื่อมใส ใส่ปูนขาวลงไปเล็กน้อย เพื่อให้น้ำตาลตกเป็นเม็ด จากนั้นเคี่ยวต่อไปเรื่อยๆ จนแห้ง ออกมาเป็นเม็ดทรายบ้าง จับตัวเป็นก้อนเล็กบ้างใหญ่บ้าง สีออกน้ำตาลแดง จึงเรียกว่าน้ำตาลทรายแดง
  • น้ำตาลทรายดิบ หรือน้ำตาลสีรำ ทำมาจากอ้อย เพียงแต่ไม่ผ่านกระบวนการฟอกขาวให้ได้น้ำตาลที่มีผลึกขาวใสเหมือนน้ำตาลขัด ขาว เหตุที่เรียกน้ำตาลทรายสีรำ เพราะผลึกของน้ำตาลจะมีสีเหลืองออกเข้มคล้ายสีของรำข้าว น้ำตาลชนิดนี้ดีต่อสุขภาพในแง่ที่ทำให้เราสามารถหลีกเลี่ยงสารฟอกขาวที่อยู่ ในน้ำตาลทรายขาวได้ ให้ความหวานพอๆ กับน้ำตาลทรายขัดขาว
  • น้ำผึ้ง ความหวานนี้ได้จากของเหลวในเกสรดอกไม้ที่มีแมลงตัวเล็กๆ อย่างผึ้งงานเป็นผู้นำมารวบรวมไว้ด้วยกัน น้ำผึ้งอาจมีสีต่างกันบ้าง เช่น สีเหลืองอ่อน เหลืองเข้มออกเขียว สีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลไหม้ ขึ้นอยู่กับชนิดของเกสรดอกไม้ในบริเวรที่ผึ้งอาศัยอยู่ ว่ากันว่าน้ำผึ้งที่ดีของไทยต้องเป็นน้ำผึ้งเดือนห้า จึงจะถือว่ามีความบริสุทธิ์ และเข้มข้นมาก เพราะช่วงที่ผึ้งเก็บเกี่ยวน้ำหวานไว้จนเต็มที่นั้นตรงกับช่วงหน้าแล้ง น้ำหวานจากเกสรดอกไม้จะไม่ค่อยมีน้ำเจือปนอยู่มาก
  • น้ำตาลจากผลไม้ ได้แก่ น้ำตาลกลูโคส ฟรุกโตส และซูโครส มีอยู่ในผลไม้ที่มีรสหวานต่างๆ ซึ่งเมื่อเทียบกับน้ำตาลชนิดอื่นในปริมาณที่เท่ากันแล้วจะพบว่า น้ำตาลฟรุกโตสซึ่งมีอยู่มากในผักผลไม้ และในน้ำผึ้งจะมีความหวานมากที่สุด รองลงมาคือน้ำตาลกลูโคส ตามมาด้วยน้ำตาลมอลโตส และสุดท้ายที่มีความหวานน้อยที่สุดคือน้ำตาลแลกโตส
ที่มาข้อมูล : นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 230
หัวเรื่อง และคำสำคัญ
หวาน,น้ำตาล,ธรรมชาติ
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 26 กรกฎาคม 2554
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 230
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 2114 ความหวานจากน้ำตาลธรรมชาติ /article-science/item/2114-the-sweetness-of-natural-sugar
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
กระดาษหนังสือพิมพ์เป็นสีเหลือง
กระดาษหนังสือพิมพ์เป็นสีเหลือง
Hits ฮิต (15711)
ให้คะแนน
ทุกคนต่างทราบดีว่า กระดาษจะเปลี่ยนสีไปตามกาลเวลา และเริ่มจางลงเมื่อสัมผัสกับแสงยูวี หรือ รังสีอัลตร ...
การเล่นแร่แปรธาตุ (alchemy)
การเล่นแร่แปรธาตุ (alchemy)
Hits ฮิต (34743)
ให้คะแนน
สวัสดีท่านผู้อ่านทั้งหลาย ฉบับนี้ก็เป็นฉบับแรกจริงๆ แรกสุดในชีวิตของผู้เขียนเลยก็ว่าได้ อยากจะขอฝาก ...
ต้นกำเนิดธาตุกัมมันตรังสี
ต้นกำเนิดธาตุกัมมันตรังสี
Hits ฮิต (9023)
ให้คะแนน
จากที่ทุกคนเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการรั่วไหลของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะของประเทศญี่ปุ่น ที่เกิดเหต ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)