logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

กลไกการรับกลิ่น

โดย :
สสวท.
เมื่อ :
วันศุกร์, 08 กรกฎาคม 2554
Hits
93650
กลไกการรับกลิ่น



การรับกลิ่น เป็นการทำงานที่ซับซ้อนระหว่างจมูกและสมองส่วนหน้าบริเวณที่เรียกว่า ออลแฟกทอรี่บัลบ์ (Olfactory bulb) เพื่อส่งต่อสัญญาณไปยังสมองส่วนซีรีบรัมให้ แปลข้อมูลว่าเป็นกลิ่นอะไร หอมหรือเหม็น การรับรู้กลิ่นช่วยในการอยู่รอดของมนุษย์ทำให้รับรู้คุณภาพของอาหาร เป็นสัญญาณเตือนภัยให้มนุษย์และสัตว์อื่นๆ รู้ล่วงหน้าว่าภัยใกล้จะถึงตัว


กายวิภาคของจมูก

การที่เราสามารถรับรู้กลิ่นต่างๆ รอบตัวได้นั้น ก็เพราะเรามีอวัยวะรับกลิ่นคือจมูก ซึ่งจมูกนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ

1. เวสติบูลลาร์ (Vestibular region) ประกอบด้วย รูจมูกส่วนนอก มีทั้งขนจมูก และต่อมน้ำมัน

2. ส่วนหายใจ (Respiratory region) ประกอบด้วย ต่อมมีเมือก และเส้นเลือดฝอยมากมาย

3. ส่วนดมกลิ่น (Olfactory region) ประกอบด้วย Olfactory epithelium, Olfactory bulb และ Olfactory tract หรือ ประสาทสมองคู่ที่ 1 ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น


แสดงกลไกการรับกลิ่น

การรับกลิ่นเกิดขึ้นเมื่อโมเลกุลของ สารผ่านจมูกในส่วนที่ 1 และ ส่วนที่ 2 จนถึงส่วนที่ 3 และสัมผัสกับเซลล์ Olfactory cilia ซึ่งมีลักษณะเป็นขนอยู่ด้านนอกสุด จากนั้นจึงไปกระตุ้นให้ Olfactory receptor cell ซึ่งเป็นเซลล์รับกลิ่น ซึ่งเซลล์นี้จะส่งกระแสประสาท ไปยัง Olfactory bulb (จุดรวมของ Olfactory nerve ทั้งหมด) แล้วจึงผ่าน Olfactory tract ซึ่งเป็นเส้นประสาทสมองคู่ที่ 1 เข้าสู่สมอง โดยจะแยกเป็น 2 ทาง คือ ไปสู่ medial olfactory area และไปสู่ lateral olfactory area medial olfactory area ของสมองมีความสำคัญในสัตว์มากเพราะส่วนนี้ควบคุม primitive respons ของการรับกลิ่น เช่น การเลียริมฝีปาก น้ำลายไหล และการกินอาหาร ฯลฯ ตลอดจนแรงผลักดันทางอารมณ์ (emotional drive) เมื่อได้รับกลิ่น

สำหรับ lateral olfactory area เกี่ยวข้องกับความจำและประสบการณ์เกี่ยวกับกลิ่น ทำให้เกิดความชอบและไม่ชอบอาหาร นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้องกับการรับกลิ่นและการวิเคราะห์กลิ่น โดยบริเวณนี้ของมนุษย์จะมีขนาดเล็กประมาณ 2-5 ตารางเซนติเมตร ซึ่งแตกต่างกับในสัตว์ เช่น สุนัข จะมีพื้นที่ในบริเวณนี้ขนาดใหญ่ประมาณ 25 ตารางเซนติเมตร และกลิ่นที่จะกระตุ้นเซลล์รับกลิ่นได้ดีนั้น ควรมีคุณสมบัติดังนี้คือ

1. ระเหยได้ในอากาศ เพื่อสูดผ่านเข้าจมูกได้

2. ละลายน้ำได้ดี เพื่อผ่านเยื่อบุจมูกไปสู่เซลล์รับกลิ่นได้

3. ละลายได้ดีในไขมัน เนื่องจากเซลล์รับกลิ่นมีสารไขมันเป็นองค์ประกอบ


การที่คนเราสามารถแยกความแตกต่างระหว่างกลิ่นต่างๆ ซึ่งมีอยู่มากมายประมาณ 10,000 กลิ่นได้นั้น เนื่องจากเซลล์รับกลิ่นมียีนที่เฉพาะเจาะจงเพียง 1 ยีนเท่านั้น ฉะนั้นเซลล์รับกลิ่นจึงมีอยู่เป็นจำนวนมากและมีหลายชนิด โดยผู้ที่ค้นพบการอธิบายปรากฏการณ์นี้ซึ่งถือว่าเป็นการค้นพบองค์ความรู้ ใหม่และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาและแพทยศาสตร์ ในปี พ.ศ.2547 (คศ.2004) คือ ดร.ริชารด์ เอเซล (Richard Axel) แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย รัฐนิวยอร์ก และ ดร.ลินดา บัค (Linda Buck) ซึ่งทำงานที่ศูนย์วิจัยโรคมะเร็งเฟร็ด ของสถาบันวิจัยทางการแพทย์ เฮาเวริค ฮิวส์ นครซีแอ็ตเติล ประเทศสหรัฐอเมริกา (Howard Hughes Medical Institute, Fred Hutchinson Cancer Research Center, University of Washington, Seattle, USA.)
หัวเรื่อง และคำสำคัญ
กลไก,กลิ่น
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 08 กรกฎาคม 2554
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สสวท.
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 2097 กลไกการรับกลิ่น /article-science/item/2097-mechanism-of-smell
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)