logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • เส้นทางสู่ครูไอทีมืออาชีพ สสวท. แนะเทคนิคสอนเด็กทำโครงงานคอมพิวเตอร์

เส้นทางสู่ครูไอทีมืออาชีพ สสวท. แนะเทคนิคสอนเด็กทำโครงงานคอมพิวเตอร์

โดย :
สสวท.
เมื่อ :
วันจันทร์, 01 พฤศจิกายน 2553
Hits
16856

เส้นทางสู่ครูไอทีมืออาชีพ   สสวท. แนะเทคนิคสอนเด็กทำโครงงานคอมพิวเตอร์

(สินีนาฎ  ทาบึงกาฬ/รายงาน)

“สอนเด็กทำโครงงานน่ะเหรอ.. แค่โยนงานให้  เด็กก็ไปทำมาเอง รอตรวจอย่างเดียว...สบาย”


คิดอย่างนั้นคงไม่ใช่ครูมืออาชีพ แต่จำใจต้องทำอาชีพครูมากกว่ามั้งเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)จัดประชุมปฏิบัติการพิจารณาร่างคู่มือครูสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมวิชาโครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับมัธยมศึกษา ระหว่างวันที่ 23-27 เมษายน 2550 ณ โรงแรมรอแยล เบญจา เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ครูในการจัดการเรียนการสอนวิชาโครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้สอนรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ  จากประสบการณ์ทำงานจริงของครูมืออาชีพ

อาจารย์นิพนธ์  ศุภศรี ผู้ชำนาญสาขาคอมพิวเตอร์ สสวท. ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า คู่มือครูดังกล่าว พัฒนาขึ้นมาให้ครูสอนโครงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เป็นไปตามกระบวนการการสอนโครงงานคอมพิวเตอร์  ครูบางท่านยังทำแค่มอบงานให้เด็กไปทำโดยไม่สนใจกระบวนการคิดของเด็ก คิดว่าเป็นวิชาที่สอนสบาย  แต่การสอนโครงงานนั้นเป็นวิธีพัฒนาความฉลาดของเด็ก เพราะมีกระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ วางแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และได้ทำด้วยตนเอง ข้อสำคัญคือนักเรียนทำตามความสนใจ ตามความรู้ ความถนัดของเขา เด็ก ๆ จึงมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ รู้สึกอยากทำ ไม่ใช่ถูกครู ยัดเยียดให้ทำ  การที่จะเป็นครูสอนโครงงานจึงต้องมีเทคนิคการจูงใจและควบคุมให้นักเรียนบริหารด้วยตัวเอง

สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท.  ให้ความสำคัญกับการสอนโครงงานนักเรียนมาโดยตลอด  มีการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ชุดกล่องสมองกล มาตั้งแต่ ปี พ.ศ 2546 และส่งเสริมให้โรงเรียนนำกล่องสมองกลไปจัดการเรียนการสอนเพื่อฝึกการคิดการแก้ปัญหาและนำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์   และยังจัดประกวดแข่งขันด้านซอฟท์แวร์และโครงงานระดับประเทศด้วย

ในส่วนของคู่มือครูวิชาคอมพิวเตอร์  สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม วิชาโครงงานคอมพิวเตอร์นี้ จะทำขึ้นมาให้ทันใช้ก่อนเปิดเทอมเดือนพฤษภาคม ปีหน้า (พ.ศ. 2551) สำหรับแสดงเนื้อหาความรู้ แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้ผู้สอนหรือสถานศึกษา นำไปใช้เป็นแนวทาง ตัวอย่าง หรือเป็นทางเลือกในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

“จุดเด่นของคู่มือครูชุดนี้ก็คือเราได้รวบรวมความรู้จากหลักการและประสบการณ์จากครูผู้สอน วิชาโครงงานคอมพิวเตอร์แล้วประสบความสำเร็จ เพื่อให้ครูผู้สอนอ่านแล้วนำไปใช้ได้เลย และเข้าใจกระบวนการสอนโครงงานได้อย่างถูกต้อง  ภายในเล่มจะมีสื่อการสอน  ตัวอย่างโครงงานต่าง ๆ  มีเทคนิค การส่งเสริมผู้เรียนและให้คำปรึกษาโครงงาน และข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่น ๆ” อาจารย์นิพนธ์  ศุภศรี กล่าว

นักเรียนโรงเรียนพรหมานุสรณ์  เรียนโครงงานคอมพิวเตอร์หน้าเสาธง

อาจารย์ปรีชา  จันทร์เปล่ง โรงเรียนพรหมานุสรณ์  จังหวัดเพชรบุรี คุณครูคนเก่ง ซึ่งเป็น วิทยากรแกนนำวิชาคอมพิวเตอร์ของ สสวท. มาแล้ว 12 ปี  หนึ่งในทีมงานจัดทำคู่มือครูดังกล่าว กล่าวว่า

การสอนโครงงานมีประโยชน์ต่อครูตรงที่ทำให้ครูเกิดความคิดกว้างขึ้น เพราะเมื่อนักเรียนคิดงานหลากหลาย ครูก็จะได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอเพื่อที่จะตามนักเรียนให้ทันและให้คำปรึกษาได้ 

“สิ่งที่ภูมิใจก็คือเมื่อเราสอนแล้วนักเรียนคิดเป็น ทำงานออกมาได้สำเร็จ จากที่เราได้ติดตามนักเรียนที่เราสอนไป ปรากฏว่าบางส่วนเกิดความประทับใจจนเป็นแรงบันดาลใจให้เรียนต่อมหาวิทยาลัยด้านคอมพิวเตอร์ และก็ทำโครงงานต่อยอดขึ้นไปเรื่อย ๆ เมื่อเรียนสูงขึ้น”

อ. ปรีชา ได้เล่าถึงประสบการณ์การสอนโครงงานว่า ก่อนหน้านี้ได้นำมาจัดกิจกรรมในรูปแบบของชุมนุมคอมพิวเตอร์มาเรื่อย ๆ  ช่วงหลังสอนในวิชาเลือกเพิ่มเติม เพราะโรงเรียนไม่มีชั่วโมงให้ แต่ตนเองเห็นความสำคัญ จึงรับอาสาสอนเองโดยไม่ต้องจัดชั่วโมงสอน  พยายามหาคาบว่างของนักเรียนชั้น ม. 6 จำนวน 4 ห้อง 160 คน แล้วไปสอนหน้าเสาธง ให้นักเรียนจับกลุ่ม ๆ ละ 3 คน ก็วางแผนว่าตรงไหนที่นักเรียนน่าจะเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ก็ทำใบความรู้แล้วไปชี้แจงหน้าเสาธง  บางทีก็ใช้เวลาหลังจากเลิกแถวเคารพธงชาติ

“การที่เด็กจะคิดหัวข้อโครงงาน ไม่จำเป็นต้องคิดในห้องเรียน คิดที่ไหนก็ได้ เมื่อกลุ่มใดส่งชื่อเรื่องมาแล้วก็จะสัมภาษณ์พูดคุยกัน เพื่อให้เกิดความั่นใจว่าเขาเขียนเค้าโครง หรือโครงการได้ เมื่อนักเรียนส่งโครงการมาจนแน่ใจว่าทำได้ ก็ให้พวกเขาทำแล้วติดตามความก้าวหน้าเป็นระยะ  ทำเหมือนเขามาพบหมอ  ครูมีใบนัดให้เข้ามาตรวจเป็นระยะ  และมีแฟ้มประวัติงานประจำกลุ่มเอาไว้บันทึกความก้าวหน้า ส่วนการติดตามงานก็ทำที่หน้าเสาธง ผลที่ออกมาได้ตามเป้า 70% เพราะมีบางส่วนที่ไม่สนใจ ต้องติดตามเป็นพิเศษ”

โครงงานคอมพิวเตอร์ที่นักเรียนทำ จะเห่อตามกันไปเป็นรุ่น ๆ บางคนทำ MV ภาพยนตร์  คาราโอเกะ ส่วนโครงงานด้านการเขียนโปรแกรมมีน้อยมาก ต้องเป็นเด็กที่สนใจด้านการเขียนโปรแกรมจริง ๆ โครงงานอีกอย่างที่นักเรียนทำ คือ การใช้ SCI-BOX หรือกล่องสมองกลมาทำสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ของตัวเอง

สำหรับโครงงานล่าสุดที่ อ.ปรีชา ประทับใจนั้น ชื่อ “หวยใต้ดินออนไลน์” ของนักเรียน ม. 6 รุ่นที่แล้ว ซึ่งคว้ารางวัลที่ 3 จาก NECTEC มาได้  เป็นซอฟท์แวร์จัดการระบบซึ่งสามารถวางแผนจัดการได้ดี เช่น ใช้ระบบบัตรโทรศัพท์เติมเงิน ถ้าได้รางวัลเงินก็จะไปเข้าบัญชีเองอัตโนมัติ

“ผมอยากให้ครูหันมาสอนโครงงานเด็กมากขึ้น เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ แต่ครูต้องใจเย็น ๆ อย่าบังคับความคิดเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กคิดออกให้ได้ เพราะหลักการสำคัญ          คือโครงงานต้องมาจากความสนใจของนักเรียนอย่างแท้จริง ครูจึงต้องกระตุ้นเรื่องนี้ให้ได้ก่อน”

พี่ช่วยน้อง  ในแคมป์โครงงานทุกวันศุกร์  เทคนิคของครูราชสีมาวิทยาลัย

โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จังหวัดนครราชสีมา เป็นโรงเรียนต่างจังหวัดที่ต้องจับตามอง เพราะขึ้นชื่อเรื่องโครงงานคอมพิวเตอร์  ไม่ว่าจะไปสู่สนามประลองที่ไหนในประเทศไทย ก็ได้รางวัลทุกครั้ง   ผู้ที่ช่วยจุดประกาย             และใจรักในการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ของนักเรียนในสถานศึกษาแห่งนี้ คือ อาจารย์นิพนธ์  สมัครค้า หนึ่งในทีมวิทยากรแกนนำวิชาคอมพิวเตอร์ของ สสวท.

อ. นิพนธ์ เล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้เริ่มต้นจากการเป็นชุมนุมคอมพิวเตอร์ก่อนตั้งแต่ 4-5 ปีที่แล้ว ส่วนตอนนี้ ลักษณะการสอนโครงงานของ อ. นิพนธ์ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบแรก สอนนักเรียนในชั้น โดยมุ่งให้เด็กได้เกิดกระบวนการคิด แต่ไม่ได้มุ่งเน้นให้ทำเข้าประกวดอะไร เพือ่ค้นหาและพัฒนาความสามารถของเด็ก  ส่วนแบบที่สอง คือ คัดเลือกนักเรียนที่มีความสนใจตั้งเป็นชุมนุมคอมพิวเตอร์ โดยจัดค่ายทุกวันศุกร์แล้วให้นักเรียนกินนอนที่โรงเรียนหนึ่งคืน แล้วกลับบ้านเช้าวันเสาร์ เพราะที่ ร.ร. จะให้วันศุกร์ช่วงบ่ายว่าง เป็นกิจกรรมชุมนุมต่าง ๆ ตามความสนใจเด็ก  เด็กจึงมีความพร้อมมาก เรียกว่า ส่งไปแข่งที่ไหนก็ไม่กลับมามือเปล่า

“พอมีการเข้าค่ายทุกอาทิตย์ ครูก็จะมีภาระเพิ่มขึ้น เทคนิคก็คือ ให้รุ่นพี่ที่เรียนต่อมหาวิทยาลัยไปแล้วมาช่วยสอน  ใช้โปรแกรมที่สามารถพูดคุยและสอนทางไกลได้ โดยพี่ ๆ ไม่ต้องเดินทางมาเอง ก็มีการออนไลน์กันตอนกลางคืนระหว่างพี่จากมหาวิทยาลัยกับน้อ ง วันนี้พี่จากจุฬา ฯ นะ ส่วนอาทิตย์หน้าเป็นพี่จาก

ม. เกษตรศาสตร์ น้อง ๆ ก็ได้เทคนิคการทำโครงงานและสิ่งประดิษฐ์จากพี่ ๆ ที่แข่งขันแล้วได้รางวัลมาแล้วอย่างไม่หวงวิชา ซึ่งรุ่นพี่เขารู้ลึกกว่าครูซะอีก เพราเขาทำเองมากับมือแล้ว พอน้องได้รางวัลก็แบ่งให้พี่บ้างในฐานะที่มาช่วยสอน ทำให้เกิดความผูกพันกัน”

โครงงานของนักเรียนในปีนี้ที่ อ. นิพนธ์ชอบ ก็คือ “กล่องใส่ยาพูดได้” ซึ่งได้รางวัลที่ 2 จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์ที่จัดโดย นสพ. เดลินิวส์ และ SCG ที่ประทับใจโครงงานนี้ก็เพราะนักเรียนทำโครงงานในช่วงที่ครูต้องไปผ่าตัด เลยลาพัก 1 เดือน ระหว่างที่ป่วยด้วยความเป็นห่วงก็โทรศัพท์พูดคุยให้คำปรึกษา โดยตลอด  นักเรียนก็คิดเองทำเองได้จนสำเร็จ

อ. นิพนธ์บอกว่า ถ้าสอนนักเรียนทั่วไปที่ไม่ใช่เด็กเก่งจะต้องใจเย็น ๆ ไม่ต้องคาดหวังสูงว่านักเรียนต้องทำโครงงานในระดับที่เอาไปใช้แข่งขันได้ เพราะจุดหลักก้คือ ให้เด็กเกิดความคิดเป็นระบบ จะได้ไปทำงานที่ใหญ่ขึ้นได้ เพื่อให้มีโอกาสคัดเลือกชักชวนเด็กที่แววไปทำโครงานที่ใหญ่ขึ้นในอากสต่อไป  พร้อมกับฝากคำแนะนำไปถึงเพื่อนครูว่า “การสอนโครงงาน ขั้นแรกต้องศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมการสอนโครงงานให้ถูกต้องตามขั้นตอน ต้องใจเย็น ๆ เพราะวิชานี้ในสายตาเด็กมองว่าค่อนข้างยาก กลัวว่าต้องลงทุนเยอะ เสียเวลาเยอะ ต้องพยายามทำความเข้าใจให้ดี และอย่าลืมเป้าหมายสำคัญคือวิธีสร้างความคิดพเอแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ  เอกสารที่ สสวท. กำลังทำขึ้นก็จะเป็นแนวทางในการสอนให้ครูได้อย่างสมบูรณ์และตรงกับสถานการณ์”

โครงงานเครื่องให้อาหารไก่ไข่อัตโนมัติ ฝีมือของนักเรียนโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย  ได้รางวัลที่ 2  จากการประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ ม. ปลาย ระดับประเทศ  ประเภทประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  จาก สสวท. โดยนายสันติภาพ  ชัยชนะ เจ้าของผลงานกล่าวว่า “ภูมิใจที่ได้ทำโครงงานนี้ เพราะได้ใช้ความคิดอิสระ  ประทับใจในการทำงานเป็นทีม  โครงงานนี้สามารถควบคุมโรคจากไก่สู่คนและป้องกันไม่ให้คนเป็นพาหะแพร่เชื้อได้จริง อีกทั้งควบคุมอายุของไก่ให้สัมพันธ์กับปริมาณอาหาร ไก่จะได้อาหารสม่ำเสมอ ผลผลิตก็จะมีคุณภาพ ถ้าเกษตรกรนำแนวคิดนี้ไปใช้จริงก็จะสะดวกต่อการขยายโรงเลี้ยงด้วย เพราะถ้าเพิ่มจำนวนไก่ที่เลี้ยงก็แค่เพิ่มรางเท่านั้น  และ ต่อไปจะมีการพัฒนาโปรแกรมดังกล่าวให้ทันสมัยและสะดวกใช้กว่านี้แน่นอน”

 

ล่าสุด สสวท.  ได้จัดการประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็นประเภทประยุกต์ใช้งาน ประเภทซอฟต์แวร์เพื่อการเรียนรู้ และซอฟต์แวร์เกม ในระดับ ม. ปลาย โรงเรียนเดียวกัน สามารถส่งได้หลายโครงงาน และหลายประเภทของโครงงาน โดยรายชื่อนักเรียนต้องไม่ซ้ำกัน  ผู้สนใจส่งใบสมัคร พร้อมรายงานฉบับสมบูรณ์มาที่ สสวท. ภายในวันที่ 4 มิ.ย. 2550

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่เว็บไซต์สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท. www.ipst.ac.th

 

***********************************************

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ครูไอที,มืออาชีพ ,สสวท. ,เทคนิค,โครงงาน,คอมพิวเตอร์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 01 พฤศจิกายน 2553
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สสวท.
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 1320 เส้นทางสู่ครูไอทีมืออาชีพ สสวท. แนะเทคนิคสอนเด็กทำโครงงานคอมพิวเตอร์ /article-science/item/1320-teacher-professional-it
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ว่าด้วยเรื่องของ “ไฝ”
ว่าด้วยเรื่องของ “ไฝ”
Hits ฮิต (23335)
ให้คะแนน
ว่าด้วยเรื่องของ 'ไฝ' การมีไฝนั้นเป็นความเชื่อมาตั้งแต่โบราณว่าคนที่มีปานหรือไฝตามจุดต่าง ๆ ของร่าง ...
มารู้จักผึ้งในเมืองไทย
มารู้จักผึ้งในเมืองไทย
Hits ฮิต (119688)
ให้คะแนน
....มารู้จัก ผึ้งในเมืองไทย... สุนทร ตรีนันทวัน สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ที่จัดเป็นสัตว์สังคมการเป็นอยู ...
สารพิษ ในหัวกลอย กินแล้วอาจตายได้
สารพิษ ในหัวกลอย กินแล้วอาจตายได้
Hits ฮิต (42322)
ให้คะแนน
สารพิษ ในหัวกลอย กินแล้วอาจตายได้ สุนทร ตรีนันทวัน เมื่อเร็วๆนี้มีข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์เรื่องหนึ่ ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)