logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • เรียนรู้อะไรจากลมฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลง

เรียนรู้อะไรจากลมฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลง

โดย :
สสวท.
เมื่อ :
วันศุกร์, 15 ตุลาคม 2553
Hits
22292

...เรียนรู้อะไรจากลมฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลง...

โดย ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว


 

 

นับตั้งแต่คำว่า “ภาวะโลกร้อน” กลายเป็นคำฮิตติดปากคนไทย สังคมได้เริ่มให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพลมฟ้าอากาศ และภัยธรรมชาติที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ฝนไม่ตกต้องตามฤดู ภัยแล้ง น้ำท่วม หรือพายุหมุน (Cyclone) ซึ่งนับวันดูเหมือนจะทวีความรุนแรงมากขึ้น และ “ภาวะโลกร้อน” ได้ตกเป็นจำเลยของสังคม ที่คนทั่วไปมักจะกล่าวอ้างว่าเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพลมฟ้าอากาศและการเกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรง เช่น ภาวะโลกร้อนทำให้เกิดภัยแล้ง ภาวะโลกร้อนทำให้พายุหมุนเกิดบ่อยขึ้นและทวีความรุนแรงมากขึ้น หรือภาวะโลกร้อนทำให้น้ำท่วม โดยบางครั้งผู้กล่าวอ้างไม่ได้เข้าใจอย่างแท้จริงถึงความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของปรากฏการณ์เพื่อที่จะอธิบายว่าภาวะโลกร้อนก่อให้เกิดผลกระทบเช่นนั้นได้อย่างไร และขาดหลักฐานเชิงวิทยาศาสตร์ที่รองรับข้ออ้างเหล่านั้น การกระตุ้นให้สังคมมีส่วนร่วมในการหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพลมฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลงจึงไม่มีน้ำหนักเพียงพอ เป็นเรื่องเลื่อนลอยและไกลตัว รวมทั้งไม่สามารถนำไปสู่การวางแผนและการหาแนวทางป้องกันแก้ไขได้อย่างตรงจุด

 

 

การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงควรเข้ามามีบทบาทในการกระตุ้นและส่งเสริมความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้เรียน คำถามที่ว่าจะสอนอะไรเกี่ยวกับสภาพลมฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลงและสอนอย่างไร คงเป็นคำถามสำคัญของครูวิทยาศาสตร์หลายๆ ท่าน ในมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546) ได้ระบุ สาระ มาตรฐานการเรียนรู้ ตลอดจนผลการเรียนรู้ที่คาดหวังสำหรับการจัดการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง ลมฟ้าอากาศ (Weather) ภูมิอากาศ (Climate) และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) ไว้ดังนี้

สาระที่ 6: กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก

มาตรฐาน ว 6.1: เข้าใจกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่างๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ป.4-ป.6

ข้อ 5: สำรวจตรวจสอบอุณหภูมิ ความชื้นและความดันของบรรยากาศ และอธิบายองค์ประกอบเหล่านี้ รวมทั้งสภาพภูมิประเทศที่ทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีผลต่อวัฏจักรน้ำ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ป.5

ข้อ 26: วัดอุณหภูมิของอากาศในท้องถิ่น สืบค้นข้อมูลและอธิบายความชื้น ความดันบรรยากาศและผลของการเปลี่ยนแปลง

ข้อ 27: อธิบายปัจจัยที่ทำให้อากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีผลต่อวัฏจักรน้ำ

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ม.1-ม.3

ข้อ 1: สืบค้นข้อมูล อภิปรายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ แปลความหมายจากการพยากรณ์อากาศ อธิบายผลของลมฟ้าอากาศต่อการดำรงชีวิต และสิ่งแวดล้อม

ข้อ 2: สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิปราย และอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของโลก และกิจกรรมที่เกิดจากมนุษย์ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก ซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ม.1

ข้อ 45: วัดและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ ความชื้นและความกดอากาศในท้องถิ่น

ข้อ 46: สังเกตสืบค้นข้อมูล อธิบายและเขียนสรุปการเกิดเมฆ ชนิดของเมฆ การเกิดฝน

ข้อ 47: สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ำฝนในท้องถิ่น วัดปริมาณน้ำฝนและอธิบายผลของปริมาณน้ำฝนต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

ข้อ 48: สืบค้นข้อมูล เขียนรายงาน และอธิบายการเกิดลม และผลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

ข้อ 49: อธิบายและเสนอแนะวิธีป้องกันภัยที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ

ข้อ 50: สืบค้นข้อมูล แปลความหมายของสัญลักษณ์และข้อความในพยากรณ์อากาศและอธิบายความสำคัญของการพยากรณ์อากาศ

ข้อ 51: วิเคราะห์ข้อมูลและอธิบายสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก

ข้อ 52: สืบค้นข้อมูลอธิบายและยกตัวอย่างปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อม

จากมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังข้างต้น ผู้เรียนควรได้เรียนรู้ในหัวข้อสำคัญอย่างน้อย 8 หัวข้อ ดังต่อไปนี้

1)      อุณหภูมิของอากาศ ความชื้นของอากาศและความดันของบรรยากาศ

2)      ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และผลต่อวัฏจักรน้ำ

3)      การเกิดเมฆ และชนิดของเมฆ

4)      การเกิดฝน การวัดปริมาณน้ำฝน และผลของปริมาณน้ำฝนต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

5)      การเกิดลม และผลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

6)      วิธีป้องกันภัยที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ

7)      ความหมายและความสำคัญของการพยากรณ์อากาศ

8)      สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก และผลต่อการดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อม

หากสังเกตให้ดีจะพบว่าหัวข้อ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลกและผลกระทบ ซึ่งเป็นหัวข้อที่เกี่ยวกับข้องกับภาวะโลกร้อน ถูกจัดให้สอนในลำดับท้ายสุด เนื่องจากผู้เรียนจำเป็นต้องอาศัยความรู้พื้นฐานจากแนวคิดเกี่ยวกับลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ ซึ่งการปูพื้นฐานความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นในเรื่องนี้จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถตอบโจทย์ปัญหาภาวะโลกร้อนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและสังคมที่ตนอยู่ได้ด้วยความเข้าใจ

แม้ว่าการจัดการเรียนรู้ในหัวข้อเหล่านี้จะไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับครูวิทยาศาสตร์ แต่ก็มีความท้าทายในแง่การติดตามข้อมูลข่าวสารและความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ที่มีความก้าวหน้าเพิ่มพูนขึ้นตลอดเวลาและในแง่การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องและส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในแนวคิดหลักที่สำคัญ

ปัจจุบันมีแหล่งเรียนรู้ สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้จำนวนมากที่ผู้สอนสามารถนำมาใช้ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง ลมฟ้าอากาศ (Weather) ภูมิอากาศ (Climate) และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของหนังสือ โปสเตอร์ สิ่งพิมพ์ วิดีทัศน์ สารคดี โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลบนเว็บไซต์เพื่อการศึกษาต่างๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศ

ตัวอย่างเว็บไซต์เพื่อการศึกษาที่เกี่ยวข้อง (ถ้าเป็นไปได้อย่างลงรูปหน้าเว็บเพจ)

  • โครงการวิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อมและสิ่งแวดล้อมศึกษา นานาชาติ (The Global Learning and Observations to Benefit the Environment Program/ The GLOBE Program) URL: http://globethailand.ipst.ac.th/default.asp โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเว็บไซด์ที่เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและระดมความคิดในเรื่องสิ่งแวดล้อมระหว่างนักเรียนของโรงเรียนที่เป็นสมาชิกโดยผ่านทาง internet

  • ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (Learning module on Earth Science and Astronomy) URL: http://www.lesa.in.th/ ของ ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (The LESA Project) ร่วมกับคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)  ในเว็บไซต์ประกอบไปด้วยเนื้อหาความรู้และแนวทางการจัดกิจกรรมการทดลองที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้สอนสามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนได้
  • ความรู้อุตุนิยมวิทยา URL: http://www.tmd.go.th/info/info.php ของกรมอุตุนิยมวิทยา ประเทศไทย (Thai Meteorological Department) ได้รวบรวมเนื้อหาทางวิชาการที่เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับประชาชนทั่วไป ซึ่งผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองได้
  • โครงการโรงเรียนพิทักษ์ภูมิอากาศ (Schools for Better Climate) URL: http://www.thai-sbc.org/study.html โดยฝ่ายกิจกรรมภาคสนาม สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย  ในเว็บไซต์ได้เสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อการพิทักษ์ภูมิอากาศ สำหรับการจัดการเรียนรู้ในระดับมัธยมศึกษาช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3)

นอกจากตัวอย่างเว็บไซต์เพื่อการเรียนรู้ของไทยแล้ว ยังมีเว็บไซต์ของต่างประเทศอีกจำนวนมากที่ครูวิทยาศาสตร์สามารถค้นหาแนวทางการจัดกิจกรรมและข้อมูลความรู้ที่ทันสมัย โดยอาจใช้ Search Engine เช่น Google ในการค้นหาด้วยการพิมพ์คำว่า “Climate Change Lesson Plans”

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความรู้ในเรื่องลมฟ้าอากาศ (Weather) ภูมิอากาศ (Climate) และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) จะมีเพิ่มพูนมากขึ้นและแหล่งเรียนรู้ สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้จะมีพัฒนาการที่ทันสมัยและน่าสนใจยิ่งขึ้น ในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ยังควรคำนึงถึงพื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน และจัดลำดับกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความต่อเนื่องโดยเริ่มจากความรู้พื้นฐานที่สำคัญขึ้นไปเป็นลำดับ ตลอดจนควรมีการสอนการเชื่อมโยงองค์ความรู้ให้มองโลกแบบเป็นองค์รวมทั้งระบบ เพื่อผู้เรียนจะสามารถเชื่อมโยงและสร้างองค์ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ!

 

เอกสารอ้างอิง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2546. การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.  กรุงเทพ.

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
เรียนรู้,ลม,ฟ้า,อากาศ
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 15 ตุลาคม 2553
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สสวท.
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 1292 เรียนรู้อะไรจากลมฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลง /article-science/item/1292-weather-changed
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ (Bangkok Planetarium)
ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ (Bangkok Planetarium...
Hits ฮิต (20475)
ให้คะแนน
ท้องฟ้าจําลองกรุงเทพ (Bangkok Planetarium) เชื่อว่า หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินคำพูดติดปากว่า ท้องฟ้าจำลอง ...
มาตรฐานแถบสีธงชาติไทย
มาตรฐานแถบสีธงชาติไทย
Hits ฮิต (20400)
ให้คะแนน
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่หน่วยงานหรือองค์กรใด ๆ มักให้ความสำคัญเป็นอย่างมากก็คือการใช้สีของสัญลักษณ์หร ...
รักวัวให้ผูก รักลูกให้อยู่กับธรรมชาติ
รักวัวให้ผูก รักลูกให้อยู่กับธรรมชาติ
Hits ฮิต (17287)
ให้คะแนน
ธรรมชาติของคนเป็นพ่อเป็นแม่ ก็คงอดไม่ได้ใช่ไหม ที่จะเห็นลูกรักในวัยเตาะแตะเปรอะเปื้อนมอมแมม อย่าเคร ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)