logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

Steven Chu อดีตรัฐมนตรีรางวัลโนเบล

โดย :
ดร.สุทัศน์ ยกส้าน
เมื่อ :
วันอังคาร, 02 สิงหาคม 2565
Hits
988

            รัฐมนตรีคนแรกของโลกที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ระดับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์คือ Steven Chu แห่งมหาวิทยาลัย Stanford สหรัฐอเมริกาซึ่งได้รับรางวัลประจำปี ค.ศ. 1997 ร่วมกับ Claude Cohen-Tannoudji แห่ง College de France และ Ecole Normale Superieure และ William D., Phillips แห่ง National Institute of Standards and Technology ของสหรัฐอเมริกา ด้วยผลงานการคิดสร้างวิธีกักอะตอมให้อยู่นิ่ง ๆ โดยใช้เลเซอร์และสนามแม่เหล็ก

ทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัมที่นักฟิสิกส์ใช้อธิบายพฤติกรรมของอะตอมและนุภาคมูลฐานสามารถใช้ได้ดีที่สุดกับอะตอมและอนุภาคที่อยู่โดดเดี่ยวในสภาพนิ่งสนิท แต่ในความเป็นจริง ะตอมจะเคลื่อนที่ตลอดเวลา แม้ที่อุณหภูมิห้อง ความเร็วของอะตอมก็อาจสูงถึง 1,000 เมตรวินากี การมีความเร็วมากเช่นนี้ทำให้สมบัติชิงกายภาพต่าง ๆ ของอะตอมเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ผลการวัดที่ได้จะไม่ตรงกับผลคำนวณอย่างแม่นตรง

            ด้วยเหตุนี้ความพยายามที่จะทำอะตอมให้มีความเร็วน้อย ๆ จึงเป็นสิ่งที่พึงประสงค์เพื่อให้นักฟิสิกส์สามารถตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม และความฝันนี้ก็ได้เป็นจริงด้วยความสามารถของ Chu, Cohen-Tannoudji และ Phillips เพราะในปี ค.ศ. 1985 Chu ซึ่งทำวิจัยอยู่ที่ห้องปฏิบัติการ Bell Laboratory ที่เมือง Holmdel รัฐ New Jersey สามารถนำอะตอมโซเดียมจำนวนหนึ่งใส่ในกล่องทดลองที่ภายในถูกทำให้เป็นสุญญากาศแล้วยิงแสงเลเซอร์ 6 ลำให้พุ่งชนอะตอมตามแกน +x, -x, +y, -y, +z และ -z โดยการปรับความถี่ของแสงให้เหมาะสมอะตอมโซเดียมจะดูดกลืนอนุภาค โฟตอนของเลเซอร์ และเคลื่อนที่ช้าลง ๆ จนกระทั่งมีความเร็วโดยเฉลี่ยเท่ากับ 30 เซนติเมตร/วินาที ซึ่งเป็นความเร็วของอะตอมที่มีอุณหภูมิ 240 ไมโครเคลวิน (0.00024 องศาสัมบูรณ์) เพราะเหตุว่า Chu ใช้อะตอมเป็นจำนวนมากดังนั้นอะตอมที่จับกลุ่มกันจะมีลักษณะเป็นวุ้น หรือที่ Chu เรี่ยกว่า optical molass

Chu 01

รูปที่ 1 Steven Chu
ที่มา http://www.dailytech.comus+department+of+energy/

            แต่อะตอมเหล่านี้ไม่สามารถกาะกันเป็นกลุ่มได้นาน เพราะอะตอมแต่ละอะตอมใช่ว่าจะมีความเร็วเดียวกัน ดังนั้นอะตอมที่มีความเร็วน้อยกว่าค่าเฉลี่ยจะถูกแรงโน้มถ่วงของโลกดึงหลุดจากกลุ่ม ภายในเวลาเพียงเสี้ยวของ 1 วินาที จนในที่สุดวุ้นอะตอมก็สลายตัว

            เพื่อแก้ปัญหานี้ ในปี ค.ศ. 1988 Wiliam D. Phillips จึงใช้สนามแม่เหล็กความเข้มน้อยที่ไม่สม่ำเสมอ กระทำวุ้นแสง ณ ตำแหน่งที่เหนือกว่าและต่ำกว่าตำแหน่งวุ้นอะตอมเล็กน้อย Phillips ได้พบว่า อะตอมจะถูกกักให้อยู่นิ่ง ๆได้เป็นเวลานานขึ้นและวุ้นอะตอมมีอุณหภูมิต่ำลงถึง 40 ไมโครเคลวิน (หรือ 0.00004 องศาสัมบูรณ์)

            ด้าน Cohen-Tannoudji ซึ่งทดลองโดยใช้กลุ่มอะตอมฮีเลียมก็ได้พบว่า สามารถทำให้อุณหภูมิลดต่ำถึง 0.18 ไมโครเคลวิน (หรือ 0.00000018 องศาสัมบูรณ์) ที่อุณหภูมิที่ต่ำมากเช่นนี้ อะตอมฮีเลียมจะอยู่ในสถานะมืด (dark state) คือ เกือบนิ่งและไม่ทำปฏิกิริยาใด ๆ กับแสงอีกต่อไป

            เทคนิคการทำอุณหภูมิของสสารให้ต่ำมากของนักฟิสิกส์ทั้ง 3 ท่านนี้ ได้ถูกนำไปใช้ในการสร้างชูเปอร์ไฮเทคโนโลยีใหม่มากมาย เช่น ทำนาฬิกาปรมาณูที่เดินผิดพลาดไม่เกิน 1 วินาทีใน 300 ล้านปี เพราะแสงที่ถูกปล่อยออกมาจากกลุ่มอะตอมที่มีความเร็วต่ำจะมีความยาวคลื่นที่นักทดลองสามารถวัดได้อย่างละเอียดแม่นยำ และแทบไม่ผิดเลย เทคนิคนี้ยังถูกนำไปสร้างสสารชนิดใหม่แบบ Bose-Einstein Condensate (BEC) และสร้างอุปกรณ์แทรกสอดที่ใช้อะตอมและโมเลกุลแสดงปรากฏการณ์แทรกสอด และเลี้ยวเบนได้ด้วย

            Steven Chu เกิดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1948 ที่เมือง St. Louis รัฐ Missouri สหรัฐอเมริก ในครอบครัวนักวิชาการบิดาเป็นอาจารย์สอนวิศวกรรมเคมีที่มหาวิทยาลัย Washingtonแห่ง St. Louis ส่วนมารดาจบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ตาของ Chu ได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย Cornell สำหรับลุงเรียนฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัย Sorbonneในฝรั่งเศส พี่ชายของ Chu ชื่อ Gilbert เป็นศาสตราจารย์ชีวเคมีที่มหาวิทยาลัย Stanford ด้านน้องชาย ชื่อ Morgan สำเร็จปริญญาเอกด้านกฎหมาย Steven Chu กล่าวว่า นอกจากพี่ชายและน้องชายแล้ว ลูกพี่ลูกน้องของ Chu เป็นแพทย์ และจบการศึกษาระดับปริญญาเอกทุกคน

Chu 02

รูปที่ 2 Steven Chu
ที่มา http://www.greengarageblog.org/tag/dr-steven-chu/

            ด้วยเหตุที่ญาติ ๆ ของ Chu ทุกคนเรียนเก่ง บิดาจึงขอร้องไม่ให้ Chu มีครอบครัวจนกระทั่งเรียนจบการศึกษาระดับปริญญาเอกในสมัยที่ยังเป็นเด็ก Chu เรียนหนังสือได้ไม่ดีเด่น คือ แค่ A จึงดูมีความสามารถด้อยกว่าสมาชิกคนอื่น ๆ ของตระกูลดังนั้นจึงไม่คิดจะเรียนระดับปริญญาที่มหาวิทยาลัย Ivy League แต่ขอไปเรียนที่มหาวิทยาลัย Rochester แทน และสำเร็จปริญญาตรี เมื่ออายุ 22 ปี จากนั้นได้ไปเรียนระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัย California วิทยาเขต Berkeley ด้วยทุนของ National Science Foundation จนสำเร็จในปี ค.ศ. 1976 แล้วได้ไปฝึกงานหลังปริญญาเอกต่ออีก 2 ปี ก่อนย้ายไปทำงานที่ Bell Labs เพื่อทำวิจัยเรื่องการทำสสารให้มีอุณหภูมิต่ำสุดด้วยการใช้แสงเลเซอร์ (laser cooling)

            ในอดีตเมื่อ 40 ปีก่อน Otto Frisch เคยใช้เทคนิคกระเจิงแสงในการทำให้สสารมีอุณหภูมิเย็นจัด โดยการยิงอะตอมโชเดียมด้วยแสงโซเดียม และพบว่า แสงสามารถทำให้อะตอมโซเดียมเบี่ยงเบนทิศได้ เพราะเมื่ออนุภาคโฟตอนของแสงปะทะอะตอม โมเมนตัมของอะตอมจะเปลี่ยน คือมีความเร็วส่วนหนึ่งในทิศของแสง และอุณหภูมิของอะตอมจะลดลง ดังนั้นเมื่อโฟตอน หลายอนุภาคพุ่งชนอะตอมช้ำ ๆ แม้โมเมนตัมของโฟตอน จะมีค่าน้อย แต่ถ้าจำนวนครั้งของการชนมีมากผลกระทบจะมีค่ามากในทำนองเดียวกับ การระดมยิงลูกบาสเก็ตบอลที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยกระสุนที่ทำด้วยลูกปิงปองจำนวนมาก ก็สามารถชะลอความเร็วของลูกบาสเก็ตบอลได้เช่นกัน Frisch ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าใช้แสงเลเชอร์ในการทดลอง นักทดลองจะต้องปรับความถี่ของแสงตลอดเวลาเพื่อให้โฟตอน ของแสงมีพลังงานพอดีสำหรับการถูกอะตอมดูดกลืน ซึ่งความถี่นี้ขึ้นกับชนิด ทิศและความเร็วของอะตอมนั้น เพราะถ้าไม่ปรับความถี่ของแสงให้พอเหมาะ แสงเลเซอร์ก็จะเคลื่อนที่ผ่านอะตอมไปโดยไม่ทำให้อะตอมมีความเร็วลดลง

            เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมา คือ เมื่ออะตอมดูดกลืนโฟตอนเข้าไปแล้ว มันจะปลดปล่อยโฟตอนออกมาในทิศต่าง ๆ อย่างสะเปะสะปะ ทำให้อะตอมที่เคลื่อนที่ในทิศของแสงพุ่งเข้าหาแสงด้วยความเร็วที่น้อยลง แต่ในขณะเดียวกันอะตอมเองก็มีการเคลื่อนที่แบบ Brownian ด้วย คือสะเปะสะปะอันเป็นผลที่เกิดจากการที่อะตอมชนกันเอง ซึ่งทำให้อะตอมมีอุณหภูมิสูงขึ้น การหักล้างระหว่างปัจจัยทั้งสองนี้คือข้อเสียที่ทำให้นักฟิสิกส์ไม่สามารถทำให้อะตอมมีอุณหภูมิลดต่ำมากได้

            ดังนั้น เพื่อให้กลุ่มอะตอมมีอุณหภูมิซูเปอร์ต่ำ นักฟิสิกส์จำต้องอาศัยเทคนิคอื่นเสริม นั่นคือ อาศัยกระบวนการระเหย(evaporative cooling) ซึ่งเป็นวิธีที่เราใช้เวลาต้องการจะทำให้กาแฟเย็นลง คือ เป่าลมไปเหนือผิวน้ำกาแฟ การทำเช่นนี้จะช่วยให้โมเลกุลน้ำที่มีอุณหภูมิสูงถูกกำจัดออกจากกาแฟออกมาเป็นไอน้ำ ซึ่งมีผลทำให้โมเลกุลน้ำที่เหลือมีพลังงานน้อยลง คือเย็นลงดังนั้น เมื่อใดที่มีกลุ่มอะตอมอุณหภูมิสูง กระบวนการระเหยจะทำให้กลุ่มอะตอมที่เหลือมีอุณหภูมิลดลง ๆ

            คณะบุคคลผู้บุกเบิกเทคนิคเช่นนี้คือ Chu, Cohen-Tan-noudji และ Phillips ซึ่งสามารถทำให้อะตอมเย็นจัดจนใกล้ถึงอุณหภูมิศูนย์องศาสัมบูรณ์ได้เป็นเวลานานหลายวินาทีและอะตอมที่ถูกกักนี้จะเคลื่อนที่ไป-มาเสมือนตกอยู่ในวุ้นเหนียว เมื่ออะตอมมีความเร็วต่ำ นักฟิสิกส์ก็สามารถศึกษาและวัดสมบัติของอะตอมได้อย่างแม่นยำ จนสามารถนำไปสร้างนาฬิกาปรมาณูที่เดินได้เที่ยงที่สุดในโลก และใช้ในกระบวนการ atomic lithography เพื่อทำคอมพิวเตอร์ชิพให้มีขนาดเล็กยิ่งกว่าเทคนิคธรรมดาหลายพันเท่า

            หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการทำวิจัยระดับรางวัลโนเบลแล้ว Chuได้ย้ายไปเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย Stanfordในปี ค.ศ. 1987 และเริ่มโครงการ Bi-X ซึ่งเป็นโครงการวิจัยที่เชื่อมโยงชีวิวิทยากับแพทยศาสตร์ โดย Chu เป็นตัวตั้งตัวตีในการหาแหล่งทุนวิจัยจากภายนอกมหาวิทยาลัย

            ถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ.2004 Chu ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการของห้องปฏิบัติการ Lawrence Berkeley National Laboratory (LBNL) ซึ่งมีจุดประสงค์จะวิจัยและพัฒนาด้านพลังงาน เช่น พลังนิวเคลียร์ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานชีวมวล เพราะได้พบว่าในการต่อสู้กับภัยโลกร้อนอเมริกาจำต้องลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหินและน้ำมัน Chu ได้เคยเสนอให้หลังคาบ้าน และถนนทุกสายในโลกทาสีขาว หรือสีอ่อนเพื่อให้สามารถสะท้อนแสงอาทิตย์กลับออกไปสู่อวกาศ ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิของโลกลดลงได้ และผลที่เกิดขึ้นนี้ Chu คิดว่า จะมีค่าเท่ากับการที่โลกไม่ใช้รถยนต์เลยเป็นเวลานาน 11 ปี

 

Chu 03

รูปที่ 3 Steven Chu
ที่มา http://www.ideastream.org/news/npr/170878703

 

           Chu ยังเป็นนักเคลื่อนไหวคนสำคัญในการเตือนสังคมให้ตระหนักภัยโลกร้อนด้วย เมื่อได้รับเลือกเป็นกรรมการคนหนึ่งของกรรมาธิการ Copenhagen Climate Council ซึ่งเป็นองค์กรที่มีนักวิทยาศาสตร์ และนักธุรกิจทำงานร่วมกัน

            ด้วยผลงานการพยายามสร้างพลังงานสะอาดในปี ค.ศ.2008ประธานาธิบดี Barack Obama แห่งสหรัฐจึงเลือก Steven Chu นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลให้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานเพราะ Obama ต้องการส่งสัญญาณให้ประชาชนอเมริกันรู้ว่าสหรัฐฯ ต้องการแก้ปัญหาโลกร้อนโดยให้นักวิทยาศาสตร์ค้นหาเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ที่เป็นพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Chu จึงเป็นนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลคนแรกที่เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลของ Obama และนั่นหมายความว่าในการประชุม คณะรัฐมนตรีทุกครั้งจะมีนักฟิสิกส์รางวัลโนเบลเข้าร่วมประชุมด้วย

            ดังนั้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการที่ LBNL ซึ่งได้รับงบประมาณปีละ 600 ล้านดอลลาร์ และมีบุคลากรใต้บังคับบัญชา 4,000 คน มาดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีทำให้ Chu ต้องบริหารเงินงบประมาณ 24,000 ล้านดอลลาร์/ปี และควบคุมการทำงานของห้องปฏิบัติการระดับชาติ 17 แห่งเพื่อหาพลังงานทดแทนพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ เสือกวิธีกำจัดกากกัมมันตรังสี วิจัยฟิสิกส์ของอนุภาคมูลฐาน พัฒนาจุลินทรีย์ที่สามารถแปลง Cellulose เป็นเชื้อเพลิง และสร้างเทคโนโลยีที่ทำให้เชื้อเพลิงชีวภาพมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

            ตามปกติ คนที่จะมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีพลังงานมักเป็นนักการเมืองหรือนักธุรกิจที่ไม่มีภูมิหลังด้านวิทยาศาสตร์ ดังนั้นเมื่อ Obama ตัดสินใจเลือก Chu มาทำงานบริหารและการเมือง หลายคนจึงกังวลว่า ความเก่งในห้องปฏิบัติการของ Chu อาจไม่เพียงพอที่จะทำให้งานการเมืองลุล่วงเพราะรัฐมนตรีต้องทำหน้าที่ทุกเรื่องอย่างประนีประนอม และชักจูงให้ฝ่ายอื่น ๆ เห็นคล้อยตาม ต้องพยายามอธิบายข้อจำกัดของวิทยาศาสตร์ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าใจ ต้องพบปะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งต้องใช้เหตุผลหักล้างความเห็นของคนที่ไม่เห็นด้วย ซึ่ง Chu ก็เชื่อว่ารางวัลโนเบลของเขาคงมีน้ำหนักทำให้ผู้คนเชื่อคำอธิบาย และคำชี้แนะบ้าง เพราะการสนทนากันจะทำให้นักการเมืองคิดอะไร ๆ ในเชิงวิทยาศาสตร์มากขึ้น แทนที่จะยึดติดอุดมการณ์ส่วนตัวโดยไม่ฟังเหตุผลในมุมมองของวิทยาศาสตร์เลย

 

Chu 04

รูปที่ 4 Steven Chu
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=JKYNnmVBcY4

 

            หลังจากที่เวลาผ่านไป 4 ปี Chu ก็ได้ประกาศอำลาตำแหน่งรัฐมนตรี โดยไม่เข้าร่วมกับคณะรัฐบาลของ Obamaในวาระที่สอง และได้ลาออกเมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 2013 เพื่อกลับไปทำงานที่มหาวิทยาลัย Stanford ในด้านชีวิตส่วนตัว เมื่ออายุ 49 ปี Chu ได้แต่งงานใหม่กับ Jean Fetter นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน และมีบุตรชาย 2 คนซึ่งเกิดจากภรรยาคนแรก Lisa Chu-Thielbar

            นอกจากวิทยาศาสตร์แล้ว Chu ยังสนใจเบสบอล ว่ายน้ำ เทนนิส กระโดดน้ำ และจักรยาน แต่ Chu พูดภาษาจีนไม่ได้เลยเพราะพ่อแม่ไม่เคยสนทนากับ Chu และพี่น้องเป็นภาษาจีน

            บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/

 

บรรณานุกรม

Chu, Steven. (1992). Laser Trapping of Neutral Particles.  Scientific American. February.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
Steven Chu, รางวัลโนเบล, อะตอม, เลเชอร์, สนามแม่เหล็ก
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ดร.สุทัศน์ ยกส้าน
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
ประถมศึกษาตอนต้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 12598 Steven Chu อดีตรัฐมนตรีรางวัลโนเบล /article-science/item/12598-2022-07-25-08-20-30-2
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    สนามแม่เหล็ก เลเชอร์ Steven Chu อะตอม รางวัลโนเบล
คุณอาจจะสนใจ
ที่มาของรางวัลโนเบล
ที่มาของรางวัลโนเบล
Hits ฮิต (18620)
ให้คะแนน
หากเอ่ยถึงรางวัลหนึ่งในระดับสากล และค่อนข้างจะเป็นที่รู้จักกันดีในวงการวิทยาศาสตร์ทั่วโลกรวมถึงประเ ...
เทคโนโลยีและวิทยาการสร้างธาตุใหม่
เทคโนโลยีและวิทยาการสร้างธาตุใหม่
Hits ฮิต (2817)
ให้คะแนน
เอ็มพิโดคลีส (Empedocles) นักปราชญ์กรีกเมื่อ 2,450 ปีก่อน เคยแถลงว่า สรรพสิ่งในโลกประกอบด้วยธาตุ 4 ...
สีพลุปีใหม่
สีพลุปีใหม่
Hits ฮิต (1131)
ให้คะแนน
เทศกาลปีใหม่ถือเป็นงานเฉลิมฉลองวันแห่งความสุขสุดยิ่งใหญ่ นอกจากกิจกรรมการแสดงและร้านค้าขายของต่าง ๆ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)