logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

เรียนรู้วิทย์ที่รัสเซีย ตอน มารู้จักแสงเหนือ

โดย :
วรพรรณ ทิณพงษ์
เมื่อ :
วันอังคาร, 21 กันยายน 2564
Hits
969

          เมื่อสี่ปีก่อนผู้เขียนได้ยินคำว่า แสงเหนือ เป็นครั้งแรกจากรองศาสตราจารย์ ดร.สมพล เล็กสกุล อดีตผู้เชี่ยวชาญสาขาคณิตศาสตร์มัธยมศึกษา สสวท. เล่าให้ฟังว่า ภรรยาของท่านเดินทางไปดูแสงเหนือที่ประเทศนอร์เวย์สองครั้งแต่ไม่เห็นแสงเหนือเลย นั่นคือสิ่งที่จุดประกายให้สนใจ และคิดไว้ว่าจะต้องไปดูแสงเหนือสักครั้งหนึ่งในชีวิต จึงเริ่มคันหาโปรแกรมทัวร์ของบริษัทนำเที่ยวต่าง จนพบว่าการไปดูแสงเหนือที่ประเทศนอร์เวย์มีค่าใช้จ่ายเป็นเงินหลายแสนบาททำให้ต้องลืมโปรแกรมดูแสงเหนือไประยะเวลาหนึ่ง

          ต่อมาได้อ่านข้อเขียนของชาวเน็ตเรื่องการไปดูแสงเหนือที่เมือง Murmansk ในประเทศรัสเซีย ด้วยงบประมาณที่ไม่สูง ทำให้เรื่องแสงเหนือกลับมาอยู่ในความสนใจอีกครั้ง ประกอบกับมีสายการบินหนึ่งที่จะไปประเทศฟินแลนด์ ลดราคาและทราบข้อมูลว่ามีรถไฟเดินทางจาก Helsinki ไป St. Petersbourg ในรัสเซีย จึงคิดว่านอกจากจะได้ไปดูแสงเหนือที่เมือง Murmansk แล้ว ยังได้ท่องเที่ยว Helsinki กับ Moscow และ St. Petersbourg ด้วยการนั่งรถไฟอีกด้วยจึงได้ตัดสินใจเดินทางไปท่องเที่ยวในครั้งนี้

มารู้จักกับแสงเหนือ

          แสงเหนือ (Aurora Borealis)เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ทำให้เกิดความสวยงามตระการตาในท้องฟ้าเวลากลางคืน มองดูคล้าย ๆ แสงจากท้องฟ้าและหมู่ดาวกำลังเต้นระบำอย่างสวยงาม แสงสีที่ปรากฏมีหลายสีทั้งแสงสีเขียว สีฟ้า สีชมพู สีแดง สีเหลือง สีม่วง แสงออโรรามักเกิดขึ้นบริเวณแถบขั้วโลก ถ้าเกิดทางขั้วโลกเหนือก็จะเรียกว่าแสงเหนือ แต่หากเกิดทางขั้วโลกใต้ก็จะเรียกว่า แสงใต้ (Aurora Austrais) แต่ถ้าใช้คำว่า Aurora Polarisจะหมายถึง แสงขั้วโลก ที่ใช้เรียกทั้งแสงเหนือและแสงใต้

แสงเหนือ-แสงใต้เกิดจากอะไร

          ปรากฏการณ์แสงเหนือแสงใต้ เกิดจากการซนกันระหว่างโมเลกุลแก๊สในบรรยากาศโลกกับอนุภาคคอสมิกที่มาจากดวงอาทิตย์ แล้วปล่อยลำแสงสีต่าง ๆ ออกไปขึ้นอยู่ว่าการชนกันนั้นเกิดขึ้นในช่วงชั้นบรรยากาศใดและเกิดจากแก๊สอะไร ในชั้นบรรยากาศที่ความสูง 100กิโลเมตรขึ้นไป ประกอบด้วยโมเลกุลแก๊สไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ในชั้นบรรยากาศที่อยู่ต่ำกว่า 120 กิโลเมตร ซึ่งเป็นช่วงชั้นที่มีโมเลกุลแก๊สไนโตรเจนหนาแน่นกว่าออกซิเจน แสงออโรราจะปรากฏเป็นสีฟ้าและสีม่วง และที่ระดับความสูงตั้งแต่ 120-180 กิโลเมตรขึ้นไปช่วงนี้จะมีโมเลกุลแก๊สออกซิเจนหนาแน่นมาก แสงออโรราจะเป็นสีเขียวอมเหลือง ซึ่งพบได้เสมอทั้งแสงเหนือและแสงใต้ ส่วนแสงสีแดงจะปรากฏในชั้นบรรยากาศที่สูงกว่า 180 กิโลเมตรขึ้นไป

 

ช่วงเวลาที่เกิดแสงเหนือ

          ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการเกิดแสงเหนือจะเป็นช่วงฤดูหนาวในดินแดนขั้วโลกเหนือ ตั้งแต่ กุมภาพันธ์ – เมษายน กันยายน - ตุลาคม ในขณะที่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ไร้เมฆ และมืดมิดสนิท มีสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างปลอดมลภาวะ ถ้าเป็นช่วงเวลาตั้งแต่ 22.00 - 24.00 น. โอกาสในการเห็นแสงเหนือก็จะยิ่งมาก ปรากฏการณ์แสงเหนือ เป็นความมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ขึ้นได้อย่างอลังการ แต่การจะได้ชมปรากฏการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องไปให้ถูกที่และถูกเวลาแม้จะมีการพยากรณ์ว่าจะเกิดแสงเหนือ แต่ถ้าวันนั้นท้องฟ้าปิด ก็จะไม่ได้เห็นเช่นกัน

aurora01

ภาพ 1  เมือง Murmansk เมืองท่าสำคัญและเป็นเมืองที่สามารถเห็นปราณฏการณ์แสงเหนือไต้ในประเทศรัสเซีย

กลุ่มประเทศที่สามารถเห็นแสงเหนือได้

          1. ประเทศไอซ์แลนด์ ตั้งอยู่กลางมหาสมุทรแอตแลนติก ระหว่างเกาะกรีนแลนด์ นอร์เวย์ และสหราชอาณาจักร เป็นประเทศที่นักท่องเที่ยวมักจะไปชมแสงเหนือกัน เพราะมีทิวทัศน์ที่สวยงามน่าประทับใจสุด ๆ โดยจุดที่นักท่องเที่ยวมักจะไปรอดูแสงเหนือจะอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ เพราะเป็นที่ตั้งของสถานที่ท่องเที่ยวสวย ๆ มากมาย หนึ่งในสถานที่นั้นคือ Kirkjufell Mountain ซึ่งเป็นภูเขารูปร่างสวยงาม แปลกตาบริเวณโดยรอบเต็มไปด้วยธรรมชาติที่งดงาม รวมถึงมีน้ำตกที่ไหลลงสู่มหาสมุทรด้วย

          2. ประเทศฟินแลนด์ เป็นเป้าหมายหนึ่งของนักท่องเที่ยวที่มาชมแสงเหนือ โดยเฉพาะในภูมิภาค Lapland ซึ่งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ จะมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปรอชมแสงเหนือกันอย่างคับคั่งทุกปี โรงแรมหลายแห่งจัดสร้างที่พักเป็นแบบ Glass Igloos เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้นอนชมแสงเหนือได้ในยามค่ำคืน

          3. ประเทศแคนาตา สามารถไปขมแสงเหนือไต้ในภูมิภาคทางด้านเหนือของประเทศ และเมืองยอดนิยมของนักท่องเที่ยวคือ เมืองเยลโลว์ไนฟ์ (Yellowknife)

          4. กรีนแลนด์ ประเทศเดนมาร์ค สถานที่ที่นักท่องเที่ยวนิยมไปชมแสงเหนืออยู่ที่เขต Kangerlussuaqซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ตั้งอยู่ทางฝั่งทิศตะวันตกของเกาะกรีนแลนด์ มีวิวที่สวยงามและนักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นแสงเหนือได้อย่างชัดเจน

          5. เมือง Murmansk ประเทศรัสเซีย เป็นเมืองท่าสำคัญ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศใกล้ชายแดนประเทศนอร์เวย์และประเทศฟินแลนด์

          6. ประเทศนอร์เวย์ อยู่ในเขต Arctic Circle ที่สวยงามด้วยวิวของทิวเขา ป่าสน และทะเล สามารถชมแสงเหนือได้ที่เมือง Tromso ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านเหนือของประเทศนอร์เวย์

          7. รัฐอะแลสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา เมืองที่นักท่องเที่ยวไปชมแสงเหนือคือ Fairbanks เป็นเมืองใหญ่อันดับต้น ๆ  ของอะแลสกา และนักท่องเที่ยวสามารถเห็นแสงเหนือได้จากบริเวณตัวเมือง โดยไม่ต้องขับรถไปไกลจากเมืองมาก จึงปลอดภัย และไม่ยุ่งยาก

การถ่ายภาพแสงเหนือ

          อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายภาพแสงเหนือประกอบด้วย กล้อง DSLR ขาตั้งกล้อง และไฟฉาย

วิธีการถ่ายภาพ

          ตั้งกล้องบนขาตั้ง ถ้าต้องการถ่ายเฉพาะภาพแสงเหนือ เปิดหน้ากล้องที่ F.8 หรือ F.11 เพื่อให้ได้ภาพที่ชัดลึก ตั้งระยะที่ infinity กด shutter ค้างไว้ ตั้งแต่ 10 ถึง 15 วินาที ก็จะได้ภาพแสงเหนือที่งดงามและมีสีสันสดใสถ้าจะถ่ายให้ติดภาพนายแบบหรือนางแบบ ก็ใช้ไฟฉายส่องเพื่อช่วยในการหาระยะชัด และที่สำคัญคือ นายแบบหรือนางแบบต้องยืนนิ่งจนกว่าจะปิด shutter มิฉะนั้นภาพก็จะไม่ชัด

          เนื่องจากบริเวณที่สังเกตเห็นแสงเหนือได้ จะต้องมืดสนิท ถ้ามีแสงสีต่าง ๆ และจาง ๆ มาปรากฎให้เห็น นั่นแสดงว่าท่านได้เห็นแสงเหนือแล้ว แสงสีต่าง ๆ นี้จะปรากฎให้เห็นนานประมาณครึ่งชั่วโมงหรือน้อยกว่า จากนั้นท้องฟ้าก็จะมืดสนิทเช่นเดิม อย่าคาดหวังว่าท่านจะได้เห็นสีสันที่เจิดจ้าเหมือนในภาพถ่าย เพราะความสามรถในการรับภาพของตากับเลนส์ของกล้องนั้นต่างกัน วิธีการถ่ายภาพสามารถทำให้ภาพแสงเหนือที่บันทึกได้สดใสกว่าภาพที่เห็นด้วยตาเปล่า

aurora02

ภาพ 2 แสงเหนือที่เมือง Murmansk

aurora03

ภาพ 3 แสงจากไฟฉายจะช่วยให้หาระยะขัดที่ใบหน้าคนได้ง่ายขึ้น

          สำหรับความรู้สึกของผู้เขียนในการไปดูแสงเหนือในครั้งนี้ เป็นประสบการณ์ใหม่ที่ได้ทดสอบร่างกายวัย 65 ปี กับการเดินทางที่ทรหดมากอีกครั้งหนึ่ง เพราะต้องเปลี่ยนเครื่องบินสองครั้ง เครื่องเสียเวลาสองชั่วโมงครึ่ง ต้องนอนรอเครื่องบินที่สนามบิน Moscow เพื่อบินไป Murmansk อีก 6 ชั่วโมง กระเป้าเดินทางมาช้ากว่าพวกเรา2 วันกับ 1 คืน ทำให้ต้องผจญความหนาวที่อุณหภูมิติดลบถึง 20 องศาเซลเซียส ในค่ำคืนที่ได้ไปดูแสงเหนือด้วยความไม่พร้อม และขาดขาตั้งกล้องอันเป็นอุปกรณ์สำคัญในการถ่ายภาพ การสื่อสารกับบุคคลที่เกี่ยวข้องทำได้ยากเพราะคนส่วนใหญ่พูดแต่ภาษารัสเซีย ในการถ่ายภาพจึงใช้วิธีวางกล้องบนหิมะที่แข็งตัวแทนขาตั้ง ก็ได้ภาพดีระดับหนึ่งแต่พวกเราก็ได้รับความสนุกสนานกับการท่องเที่ยวและการแก้ปัญหาในแต่ละวัน ทำให้ผ่านพันอุปสรรคที่ไม่คาดคิดมาได้ และยังมีความสุขและรู้สึกประทับใจในประสบการณ์ครั้งนี้อย่างไม่มีวันลืมเลือน

          บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/

 

บรรณานุกรม

ดูแลงเหนือที่รัสเซีย. สืบคั้นเมื่อ 7 มีนาคม 2561. จาก https://pantip.com/topic/36180610.

แสงเหนือที่รัสเซีย. สืบคั้นเมื่อ 4 มกราคม 2561. จาก https://pantip.com/topic/36180610.

ออโรรา (ดาราศาสตร์). สืบคั้นเมื่อ 7 มีนาคม 2561. จาก https://th.wikipedia.org/Wiki/ออโรรา (ดาราศาสตร์).

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
รัสเซีย, แสงเหนือ, แสงใต้, Aurora
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
วรพรรณ ทิณพงษ์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • 12426 เรียนรู้วิทย์ที่รัสเซีย ตอน มารู้จักแสงเหนือ /article-science/item/12426-2021-08-23-06-08-51
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
มหัศจรรย์ของเอนไซม์ : ช่วยบำบัดโรคในร่างกาย
มหัศจรรย์ของเอนไซม์ : ช่วยบำบัดโรคในร่าง...
Hits ฮิต (25774)
ให้คะแนน
มหัศจรรย์ของเอนไซม์ : ช่วยบำบัดโรคในร่างกาย ดร. วนิดา นประโยชน์ศักดิ์ เมื่อเอ่ยถึงเอนไซม์ ... หลายท ...
แมงมุมตีอก….โชคลางหรือธรรมชาติ
แมงมุมตีอก….โชคลางหรือธรรมชาติ
Hits ฮิต (24708)
ให้คะแนน
แมงมุมตีอก….โชคลางหรือธรรมชาติ แมงมุมที่บางครั้งเกาะหรือเดินอยู่ตามฝาผนังบ้านเรา บางครั้งเกิดอะไรขึ ...
โรเบิร์ต ฮุก (Robert Hooke) ผู้ค้นพบเซลล์สิ่งมีชีวิต
โรเบิร์ต ฮุก (Robert Hooke) ผู้ค้นพบเซลล...
Hits ฮิต (138444)
ให้คะแนน
“ความจริงเท่านั้นที่รู้” คำพูดของนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังชาวอังกฤษ โรเบิร์ต ฮุก (Robert Hooke) ผู้ค้นพ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

SciMath ใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้
ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตกลง
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)