logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนที่ 19 Marie Curie

โดย :
เมขลิน อมรรัตน์
เมื่อ :
วันพุธ, 09 กันยายน 2563
Hits
22623

           รู้หรือไม่ว่าศาสตร์ของเคมีมีความสำคัญอย่างไรกับการดำรงชีพในปัจจุบัน มาร่วมค้นพบคำตอบได้ในบทความซีรีส์ชุดรู้จักกับนักวิทย์-คณิตจากทุกมุมโลก ในคราวนี้เราเดินทางมาถึงบทความตอนที่ 19 กันแล้ว ในบทความนี้จะกล่าวถึงบุคคลที่กล่าวได้ว่าเป็นมารดาแห่งศาสตร์ของเคมี บุคคลท่านนี้เป็นผู้ยกระดับความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดีขึ้นนับตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน บุคคลท่านนั้นคือ มารี กูรี หรือที่นิยมเรียกกันว่า มารี เป็นบุคคลที่มีแนวความคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับการให้ความสำคัญของศาสตร์เกี่ยวกับวิชาทางด้านเคมี และยังสร้างความสำเร็จทางด้านเคมีที่มีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวันในปัจจุบัน เรามาติดตามอ่านเรื่องราวของมารีผู้นี้จากบทความนี้กันได้เลย

           การพัฒนาศาสตร์ของด้านวิชาเคมีนั้นเกิดขึ้นมาหลายร้อยปี มีนักฟิสิกส์และนักเคมีมากมายหลายท่านได้ทำการศึกษาและค้นพบข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์และเคมีที่แตกต่างกันออกไป มารี คือนักเคมีหญิงท่านหนึ่งที่ได้ทำการศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับธาตุเรเดียม จนสามารถนำรังสีเรเดียมนั้นมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งถือเป็นการใช้ศาสตร์ด้านเคมีที่ได้รับการยกย่องระดับชีวิตของมนุษย์ที่สำคัญ


11461 1

ภาพที่ 1 ภาพถ่าย มารี กูรี (Marie Curie) ในปี ค.ศ.1900
ที่มา https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Marie_Curie_1900_-_DIG17379.jpg

ประวัติทางด้านครอบครัว

         มาเรีย สคลอดอฟสกา Marja Sklodowska หรือมารี กูรี (Marie Curie) เป็นชาวโปแลนด์ มารีเกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1867 ที่เมืองวอร์ซอ เขตวิสทูลา จักวรรดิรัสเซีย ซึ่งในปัจจุบันคือประเทศโปแลนด์ มารีเป็นบุตรสาวของบรอนีสวาวา (Bronislawa) กับววาดีสวอฟ (Wladyslaw) มีพี่น้องจำนวน 5 คน บิดาของมารีเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์และมักพามารีมาที่ห้องปฏิบัติการอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มารีมีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ยังเด็ก แตกต่างจากจากค่านิยมของสังคมส่วนใหญ่ของผู้หญิงในสมัยนั้น ที่จะเน้นการเรียนและการเตรียมตัวเป็นแม่บ้าน เมื่อจบการศึกษาในระดับต้นแล้ว มารีกับพี่สาวของมารีได้ทำงานด้วยการเป็นครูสอนอนุบาลให้กับเด็ก ๆ ในละแวกนั้น โดยทั้งสองมุ่งหวังที่จะไปเรียนที่ต่อที่ฝรั่งเศส แต่ด้วยปัญหาทางการเงินของทางบ้านทำให้มารีตัดสินใจหยุดเรียนและไปรับสอนหนังสือที่บ้านของผู้มีฐานะ โดยมารีเป็นผู้เสียสละส่งเสียพี่สาวชื่อ โบรเนีย (Bronia) จนเรียนจบด้านแพทยศาสตร์ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสก่อน และเมื่อพี่สาวเรียนจบจึงกลับมาส่งเสียมารีให้เรียนต่อทางด้านวิทยาศาสตร์ต่อไป ความตั้งใจของมารีก็ไม่สูญเปล่า เมื่อพี่สาวของมารีเรียนจบก็ได้มาส่งเสียมารีให้ได้เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยปารีส ในสาขาทางด้านวิชาฟิสิกส์ เคมี และคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตาม มารีก็ยังต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างประหยัดด้วยข้อจำกัดทางการเงิน และทำงานพิเศษเป็นติวเตอร์เพื่อหารายได้เพิ่มเติมจนสามารถเรียนจบปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์ได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1893 และได้เริ่มทำงานในห้องปฏิบัติการทางอุตสาหกรรมของศาสตราจารย์ Abriel Lippmann และเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยปารีสจนจบปริญญาโทในปี ค.ศ. 1894 จนสำเร็จ

          มารีได้เริ่มทำงานในฐานะนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับงานด้านการตรวจหาคุณสมบัติทางแม่เหล็กของเหล็กกล้าหลายชนิด และในปีเดียวกันนั้นเองมารีก็ได้พบรักกับปิแอร์ กูรี (Pierre Curie) เป็นนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ความชอบและความสนใจในด้านวิทยาศาสตร์ได้ทำให้ทั้งคู่ทำความรู้จักกันจนเริ่มสนิทสนมกันมากขึ้น ทั้งคู่ก็ได้ตัดสินใจแต่งงานกันเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1895 โดยจัดพิธีแบบเรียบง่ายที่ไม่ใช้แหวนหมั้น และทั้งคู่ได้เดินทางไปฮันนีมูลกันด้วยการปั่นจักรยานเที่ยวในฝรั่งเศส และเป็นที่รู้จักในนาม มาดามมารี กูรี (Marie Curie)

11461 2

ภาพที่ 2 มารี กูรี (Marie Curie) ในห้องปฏิบัติการ
ที่มา https://www.flickr.com/photos/nationaalarchief/3334194920/Nationaal Archief

ผลงานสำคัญที่สร้างชื่อเสียงให้กับมารี กูรี

          วิลเฮล์ม เรินต์เกน (Wilhelm Rontgen) ผู้ค้นพบรังสีเอกซ์ซึ่งเป็นรังสีที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและมีอำนาจสูงโดยผ่านเนื้อเยื่อคนไปยังกระดูกได้ ทำให้สามารถมองเห็นกระดูกของคนได้โดยที่ไม่ต้องใช้วิธีการผ่าตัด และ อองตอน เบกแครล (Antoine Becquerel) ผู้เสนอรายงานว่าสารประกอบยูเรเนียมแม้อยู่ในที่มืดก็สามารถแผ่รังสีออกมาจนทำให้แผ่นฟิล์มนั้นมัวหมองได้

          มารีศึกษาต่อในระดับดุษฎีบัณฑิตด้านฟิสิกส์ และจากข้อมูลของวิลเฮล์ม เรินต์เกนและอองตอน เบกแครล ทำให้มารีสนใจที่จะทำการศึกษาต่อว่ารังสีที่สารประกอบยูเรเนียมนั้นปล่อยออกมาคือรังสีอะไร สารประกอบอื่น ๆ มีความสามารถเช่นเดียวกันหรือไม่ และสาเหตุที่ทำให้ธาตุนั้นเปล่งรังสีออกมานั้นคืออะไรและมีความรุนแรงเท่าใด

           นอกจากนี้ ปิแอร์ผู้เป็นสามีของมารี และน้องชายของเขาได้ออกแบบอุปกรณ์วัดกระแสไฟฟ้ามีความไวสูงเพื่อให้มารีได้ทดลองใช้ ในการศึกษารังสีที่สารประกอบยูเรเนียมปล่อยออกมา มารีคิดว่ารังสีนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอะตอมยูเรเนียม แต่มารีก็ไม่มีหลักฐานที่ประกอบความคิดนี้ได้อย่างชัดเจน จนในที่สุดในปี ค.ศ. 1898 มารีได้นำ Pitchblende ซึ่งเป็นรังสีสีดำแข็งมาเริ่มทำการวิเคราะห์จบทำให้มารีได้พบธาตุใหม่ 2 ธาตุประกอบด้วย พอโลเนียม (มารีตั้งชื่อตามบ้านเกิดของมารี) และเรเดียมซึ่งมีสีเงินสามารถเรืองแสงได้ และมารียังได้พบว่าธาตุเรเดียมนั้นปล่อยรังสีออกมาได้รุนแรงมากกว่ายูเรเนียมถึง 900 เท่า ต่อมาในปี ค.ศ. 1902 มารีก็ได้สกัดแร่เรเดียมบริสุทธิ์ออกมาได้สำเร็จและพบว่าแร่มีกัมมันตภาพรังสีรุนแรงมากจนผิวของปิแอร์ถูกเผาไหม้

สตรีที่ได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้ง

          ในปี ค.ศ. 1903 มารีได้ศึกษาจบปริญญาเอก โดยที่มารีมีเบ็กเคอเรลเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของมารี อีกทั้งมารียังเป็นผู้หญิงคนแรกในประเทศฝรั่งเศสที่ได้รับปริญญาเอก และไม่เพียงเท่านั้นในช่วงของปลายปียังมีการประกาศผลรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ คือ การค้นพบปรากฏการณ์กัมมันตภาพรังสี โดยรางวัลนี้ได้รับร่วมกัน 3 ท่านคือ แบ็กเกอร์แรลที่เป็นผู้ค้นพบเป็นคนแรก ปิแอร์และมารีที่ทำการทดลองค้นคว้าหาคำอธิบายสำหรับปรากฏการณ์นี้ การรับรางวัลโนเบลในครั้งนี้ทำให้มารีเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลอีกด้วย

           ต่อมาในปี ค.ศ. 1911 มารีได้รับรางวัลโนเบลอีกครั้ง ซึ่งในครั้งนี้มารีได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีจากการค้นพบธาตุพอโลเนียมและเรเดียม จากการได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้งของมารีทำให้มารีกลายเป็นบุคคลแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล 2 สาขาเพียงคนเดียวในโลก

ช่วงสุดท้ายของชีวิตมารี กูรี

           ในปี ค.ศ. 1933 มารีได้ทำการจัดตั้งมูลนิธิ Curie Foundation เพื่อให้ทำหน้าที่ในการสนับสนุนการวิจัยด้านงานวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์และสนับสนุนทางการแพทย์ และในปี ค.ศ. 1953 สถาบันแห่งนี้ได้กลายเป็นต้นแบบของสถาบันวิจัยมะเร็งในหลายประเทศ และเริ่มใช้งานด้านวิทยาศาสตร์เข้ามามีส่วนร่วมส่งเสริมคุณภาพชีวิตของสังคมมากขึ้น

          เมื่อมารีอายุ 58 ปี สุขภาพของมารีก็เริ่มทรุดโทรมหนักมากขึ้น มารีเริ่มมีอาการหูหนวก ตาบอด และมีรอยไหม้ที่ตามมือของมารี ผลมาจากการที่มารีใช้เวลาทำการทดลองรังสีต่าง ๆ ทำให้ถูกรังสีจากสารกัมมันตภาพรังสีแผดเผามารี ในเวลาต่อมามารีจึงป่วยหนักด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและเข้ารักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลโอตซาวัว (Haute Savoie) และเสียชีวิตในวัย 67 ปี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1934

แหล่งที่มา

มารี คูรี และผู้วิจัยรักษามะเร็งยุคแรก สัมผัสรังสีบ่อยเกินจนเป็นมะเร็งที่ส่งผลภายหลัง.สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2563. จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_47494

สุทัศน์ ยกส้าน,ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิตยสถาน.  Marie Curie นักเคมีสตรีแห่งปีเคมีสากล ๒๐๑๑. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2563. จาก https://www.sarakadee.com/2011/03/10/marie-curie/

มุกเคอร์จี, สิทธัตถะ. จักรพรรดิแห่งโรคร้าย ชีวประวัติโรคมะเร็ง. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556.

มารี กูรี. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2563. จาก https://scoop.mthai.com/google_news/3306.html

มารี กูรี (Marie Curie) ผู้ศึกษาปรากฏการณ์กัมมันตภาพรังสี. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2563. จาก http://www0.tint.or.th/nkc/nkc54/content-01/nstkc54-034.html

“มารีคูรี” สตรีผู้ยกระดบชีวิตมนุษยชาติด้วยศาสตรแห่งเคมี. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2563. จาก http://nstda.or.th/rural/public/100%20articles-stkc/10.pdf         

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ประวัติของมารี กูรี, มารี กูรี,รังสีเรเดียม, ปรากฏการกัมมันตภาพรังสี, รางวัลโนเบลสาขาเคมี
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 14 เมษายน 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
เมขลิน อมรรัตน์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11461 รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนที่ 19 Marie Curie /article-science/item/11461-19-marie-curie
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    รางวัลโนเบลสาขาเคมี ปรากฏการกัมมันตภาพรังสี รังสีเรเดียม มารี กูรี ประวัติของมารี กูรี
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)