logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ที่มาของรำข้าว

โดย :
วรางรัตน์ เสนาสิงห์
เมื่อ :
วันศุกร์, 18 ตุลาคม 2562
Hits
30953

          “ รำข้าว ” คือส่วนของผิวหรือเยื่อหุ้มเนื้อเมล็ดข้าว เป็นส่วนที่ถูกขัดสีออกจากเมล็ดข้าว ซึ่งประกอบด้วยชั้นเยื่อหุ้มเมล็ด และคัพภะ เป็นส่วนใหญ่ ได้มาจากกระบวนการสีข้าว โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ รำหยาบ ซึ่งได้จากการขัดผิวเมล็ดข้าวกล้อง และรำละเอียด ได้จากการขัดขาวและขัดมัน มีกลิ่นหอม รสหวาน มัน อร่อย กินง่าย ผสมกับเครื่องดื่มได้ทุกชนิด ผสมข้าวต้ม โจ๊ก ข้าวผัด หรือข้าวสวยพร้อมกินกับกับข้าวอื่น ๆ ก็ได้ ด้านสารอาหารมีวิตามินอีหลายตัว ทำหน้าที่ต้านรังสี UV จากแสงแดด ช่วยเก็บน้ำไว้ใต้เซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวยืดหยุ่นเรียบเนียน ลดริ้วรอย และกลุ่มวิตามินอี  (Gamma-Oryzanol) ที่มีเฉพาะในรำข้าว ทำให้ผิวใสลดคอเลสเตอรอล เพิ่มไขมันดีในกระแสเลือด เสริมสร้างการทำงานของระบบเลือด  มีฮอร์โมนเมลาโทนิน ช่วยในการนอนหลับ และผ่อนคลาย อุดมด้วยกรดไขมันดีที่จำเป็นต่อร่างกาย ทั้งกรด Omega-9, Omega-6, Omega-3  

10608 1

ภาพรำข้าวหยาบสำหรับทำปุ๋ยหมัก
ที่มา วรางรัตน์  เสนาสิงห์

        รำข้าวมีกลิ่นหอม มีรสหวาน มีความมันอย่างยิ่ง กินอร่อย กินได้ง่าย ผสมกับเครื่องดื่มได้ทุกชนิด ผสมข้าวต้ม โจ๊ก ข้าวผัด หรือแม้แต่ข้าวสวยพร้อมกินกับกับข้าวอื่น ๆ ก็ได้ ซึ่งรำข้าวมีสองชนิดคือ

        1. รำข้าวสด ดีที่สุด แต่ในทางปฏิบัติหาไม่ได้ เพราะเมื่อรำข้าวถูกสีออกจากเมล็ดข้าวมาแล้ว จะอยู่ได้ปกติเพียง 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นก็จะค่อย ๆ เหม็นหืน

        2. รำข้าวอบ ที่มีขายทั่วไปก็คือรำข้าวที่นำมาอบจนแห้งแล้ว ซึ่งจะเก็บไว้ได้นาน และพร้อมผสมกินกับอาหาร หรือเครื่องดื่มอื่น ๆ

คุณค่าทางด้านอาหารและสุขภาพ ตลอดจนป้องกันและรักษาโรคร้ายแรงทั้งหลายของสารอาหารในรำข้าว ดังนี้

  1. เส้นใยอาหารเป็นเส้นใยชั้นดี ที่นอกจากห่อหุ้มน้ำกากอาหารออกมาจากลำไส้เล็กสู่ลำไส้ใหญ่พร้อมกับขัดสีฉวีวรรณผนังลำไส้ให้สะอาดหมดจดแล้ว ยังเป็นเส้นใยที่ต้านเอนไซม์ที่เข้ามาแปลงแป้งให้เป็นน้ำตาลกลูโคสอีก จึงทำให้น้ำตาลหรือกลูโคสค่อย ๆ เข้าสู่กระแสเลือด ตับอ่อนผู้ทำหน้าที่นี้สร้างอินซูลินฮอร์โมน เพื่อนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ก็ไม่ต้องทำงานหนัก เป็นการต้านโรคเบาหวานไปในตัว

  2. กลุ่มวิตามิน E มีหลายตัวที่อยู่ในรำข้าว ตั้งแต่โทโคฟีรอล (Tocopherol) โทโคไตรอีนอล (Tocoptrienol) เซราไมด์ (Ceramide) สควาลีน (Squalene) ซึ่งทำหน้าที่ต้านแสง UV ในแสงแดด ช่วยเก็บน้ำไว้ใต้เซลล์ผิวหนัง ช่วยทำให้ผิวยืดหยุ่นเรียบเนียน ลดริ้วรอยชราอันเกิดจาการเสื่อมของเซลล์ นอกจากนี้ก็ต้านสารอนุมูลอิสระ

  3. สารแกมมา-ออริซานอล (Gamma-Oryzanol) เป็นกลุ่มวิตามิน E เช่นกัน แต่คุณสมบัติโดดเด่นเหนือกว่าวิตามิน E ใดๆ สารนี้มีอยู่เฉพาะในรำข้าวเท่านั้น กล่าวคือ

               - มีคุณสมบัติต้านสารอนุมูลอิสระซึ่งเป็นตัวหนึ่งที่ทำลายผิว ที่มีประสิทธิภาพสูงถึง 6 เท่าของวิตามิน E อื่น ๆ จึงช่วยทำให้ผิวใส

               - ทำหน้าที่ลดคอเลสเตอรอล LDL และเพิ่ม HDL ในกระแสเลือด และในพลาสมา (plasma) ลดการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล ในตับ

               - เสริมสร้างการทำงานของหลอดเลือด และระบบหมุนเวียนเลือด

               - ช่วยรักษาระบบการทำงานของสมอง และประสาทที่ผิดปกติ

               - ช่วยการเจริญเติบโต และกระตุ้นการทำงานของระบบฮอร์โมนให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเมลาโทนินที่ช่วยในการนอนหลับ และผ่อนคลาย

  1. กรดไขมันจำเป็นเป็นกรดไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นเองไม่ได้ ต้องได้กรดนี้มาจากการกินอาหารเท่านั้น ในรำข้าวมีกรดไขมันจำเป็นหลายตัว เช่น กรดโอเลอิก (Omega-9) กรดไลโนเลอิก (Omega-6) กรดไลโนเลนิก (Omega-3) ตัวนี้ยังเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์สมอง กรดไขมันจำเป็นดังที่กล่าวมานั้น ล้วนทำหน้าที่ลดระดับคอเลสเตอรอล LDL (ตัวร้าย) และเพิ่ม HDL (ตัวดี) ในกระแสเลือด

         

แหล่งที่มา

Krua.com. (2560, 15 กุมภาพันธ์).  รำข้าว.  สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2562, จาก https://krua.co/shop/สินค้าสุขภาพ/1/รำข้าวออร์แกนิก

Dailynews. (2557, 20 มีนาคม).  รำข้าวมีคุณค่าทางอาหารประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน ใยอาหาร เถ้า วิตามิน และเกลือแร่ต่าง ๆ ปัจจุบันมีการนำรำข้าวมาใช้ประโยชน์ เช่น น้ำมันรำข้าว.  สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2562, จาก https://www.dailynews.co.th/agriculture/224081

ครูบ้านนอกดอทคอม. (2560, 21 มีนาคม).  รำข้าว คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง.  สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2562, จาก https://www.kroobannok.com/65633

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
รำข้าว, เมล็ดข้าว, สารอาหารในรำข้าว
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 13 สิงหาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
วรางรัตน์ เสนาสิงห์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10608 ที่มาของรำข้าว /article-science/item/10608-2019-09-02-01-18-10
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)