logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

เหตุผลที่ผักกรอบ

โดย :
วรางรัตน์ เสนาสิงห์
เมื่อ :
วันศุกร์, 30 สิงหาคม 2562
Hits
20091

          ผักมีมากมายหลายชนิด ซึ่งล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น แม่บ้านส่วนใหญ่จึงนิยมซื้อผักไปแช่ไว้ในตู้เย็นครั้งละเยอะๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องออกตลาดบ่อย ๆ แต่เมื่อแช่ผักไว้ในตู้เย็นเป็นเวลานาน ๆ ก็มักจะเจอกับปัญหาผักเหี่ยวเฉา เป็นสีคล้ำๆ จนดูไม่น่าทานเอาซะเลย แต่เราสามารถแก้ปัญหานี้ได้ง่ายๆ โดยวิธีการดังนี้

10442 1

ภาพผักสดหลายชนิด
ที่มา https://pixabay.com, Waqutiar

          ก่อนเราจะเก็บผัก ผักเป็นพืชชนิดหนึ่งที่เน่าเสียบอบช้ำได้ง่าย เราไม่ควรเก็บผักไว้รวมกันเพราะจะทำให้เกิดการเน่าเสีย และเสื่อมสภาพเร็วขึ้น การเก็บผักควรเก็บด้วยวิธีแช่น้ำ และไม่ควรแช่ผักลงในน้ำทั้งตันเพราะจะทำให้วิตามินละลายน้ำเสียไป ควรเก็บผักเล็กๆ น้อยๆ ที่ใช้ในครัวและเก็บในตู้เย็นเท่านั้น ที่สำคัญควรล้างผักให้สะอาดก่อน เพราะผักที่ซื้อจากตลาดขายปลีกมักไม่สะอาด หากยังไม่ได้ใช้ทันทีให้ล้างทั้งต้นด้วยน้ำสะอาด แล้วผึ่งให้สะเด็ดน้ำจริงๆ จึงเอาเข้าเก็บ

        เป็นที่ทราบกันดีว่าผักในปัจจุบันมักมีสารเคมีเจือปน ดังนั้นเราควรเรียนรู้วิธีลดสารเคมีในผักก่อนเก็บด้วยวิธีง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ เช่น ใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอุ่น 1 กะละมัง (20 ลิตร) แช่ผักนาน 15 นาที แล้วนำไปล้างน้ำสะอาดหลายๆครั้ง จะสามารถลดสารตกค้างได้ร้อยละ 90-95 ขึ้นอยู่กับชนิดของผัก หรือจะใช้น้ำส้มสายชูที่มีกรดความเข้มข้นร้อยละ 5 ก็ได้เช่นกัน  ผสมในอัตราส่วน 1:10 เช่น น้ำส้มสายชู 1 ถ้วยตวง ต้องใช้น้ำ 10 ถ้วยตวง นำไปแช่ผัก 10-15 นาที แล้วล้างน้ำสะอาด สามารถมารถลดสารเคมีได้ร้อยละ 60-84 ส่วนวิธีที่ง่ายที่สุดก็คือใช้น้ำล้างผักปล่อยให้ไหลผ่านผัก โดยเด็ดผักเป็นใบ ๆ ใส่ตระแกรงโปร่ง แล้วใช้มือช่วยคลี่ใบผักล้างนาน 2 นาที สามารถลดสารเคมีได้ร้อยละ 25-63

          มาดูการเก็บผักให้อยู่ได้นาน ๆ กันบ้าง กลุ่มผักที่เน่าเสียง่าย เหี่ยวและเหลืองเร็วอย่าง เห็ด ผักชี ผักกาดหอม ถั่วงอก ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ชะอม การเก็บในตู้เย็นก็ไม่ได้ช่วยยืดอายุมากนัก วิธีเก็บที่ยืดอายุได้ดีที่สุดคือ  บรรจุผักในถุงพลาสติกที่แห้งและสะอาดแล้วเก็บไว้ในตู้เย็น จะช่วยให้เก็บผักได้นานขึ้น 5-7 วัน

          ส่วนผักที่มีอายุเวลาจํากัด เช่น ผักกาดขาว ผักคะน้า มะเขือเทศ และผักอื่นๆ ผักกลุ่มนี้ควรเก็บไว้ในห้องเย็นหรือตู้เย็นเช่นเดียวกัน  โดยควรแยกใส่ถุงพลาสติก แล้วเก็บในอุณหภูมิ 7-8 องศาเซลเซียส จะช่วยให้คงความสดได้นานขึ้น   ส่วนกลุ่มผักที่เก็บไว้ได้นานซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะเปลือกหนา เช่น ฟัก เผือก มัน ฟักทอง เป็นต้น หากเก็บรักษาระยะสั้น ไม่จำเป็นต้องนำเข้าตู้เย็นหรือห้องเย็น โดยเฉพาะฟักทอง และถ้าเก็บไว้ในที่มีอากาศเย็น แห้ง มีการถ่ายเทที่ดี จะสามารถเก็บได้นาน 2-3 เดือน แต่ถ้าผักถูกใช้ไปบางส่วนแล้วใช้ไม่หมดจำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ในตู้เย็น โดยต้องปล่อยให้ผิวรอยตัดแห้งเสียก่อน และเก็บได้นานเพียง 1  สัปดาห์เท่านั้น และผักหัวประเภทแครอท หัวผักกาด ควรตัดใบออกให้หมดก่อนเก็บ มิเช่นนั้นจะทำให้ความหวานในหัวผักลดลงวิธีการเพียงเท่านี้ก็สามารถทำให้ยืดอายุผักให้สด และมีชีวิตชีวา ไม่เหี่ยว สีสันสดใส น่ารับประทาน

แหล่งที่มา

suparaporn. (2561, 17 กันยายน).  เคล็ด (ไม่) ลับ! ดูแลผักสดกรอบ จนถึงจานคุณสืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2562, จาก https://goodlifeupdate.com/healthy-body/health-education/40794.html

รักบ้านเกิด. (2562, 31 มกราคม).  ผักมีสภาพสดกรอบนานด้วยเทคนิคการน็อคน้ำเย็น.  สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2562, จาก   

กิดานัล กังแฮ. (2560, 18 พฤษภาคม).  อยากเก็บ ‘ผัก’ ให้นานทำไงดี?.  สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2562, จาก  https://www.thaihealth.or.th/Content/36744-อยากเก็บ%20‘ผัก’%20ให้นานทำไงดี.html

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ผัก, สด, กรอบ, เก็บ, รักษา
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 28 มิถุนายน 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
วรางรัตน์ เสนาสิงห์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ปฐมวัย
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10442 เหตุผลที่ผักกรอบ /article-science/item/10442-2019-07-01-01-25-45
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)