logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ข้อดี-ข้อเสียของนักวิจัยจากการทำงานเป็นกลุ่ม

โดย :
วรางรัตน์ เสนาสิงห์
เมื่อ :
วันศุกร์, 12 เมษายน 2562
Hits
75515

     เป็นเรื่องปกติในการทำงาน ซึ่งเราอาจจะต้องร่วมงานหรือทำงานกันเป็นกลุ่ม และนี่คือข้อดีและข้อเสียที่อยากนำเสนอให้ได้อ่านกัน

     ในกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม หรือทีมนั้นมีข้อดีมากกว่าการทำงานเพียงคนเดียวอย่างสิ้นเชิงเนื่องจากประเด็นข้อจำกัดของมนุษย์แต่ละบุคคลได้แก่

  1. มนุษย์มีขอบเขตจำกัดของความรู้ ที่สรุปรวมยอดเนื้อหาใจความได้ว่าเนื้อที่ความรู้ในคลังสมองของมนุษย์เรานั้นสามารถบรรจุความรู้ได้แค่ 1 กิกะไบต์ เท่านั้น ดังนั้นเป็นไปไม่ได้เลยที่ทุกคนจะรอบรู้ในทุกด้านสาขาอย่างแตกฉานมันต้องมีบางเรื่องที่เราเก่ง และบางเรื่องที่คนอื่นเก่งกว่า นั้นก็คือประโยชน์ของการทำงานเป็นทีมที่จะระดมความคิด และวิธีการที่ตัวเองถนัดเอามาผสมผสานใช้กันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  2. สมองมนุษย์มักลืมอะไรได้ง่าย ๆ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการทำงานเป็นทีมถึงส่งผลดีกว่าการทำงานคนเดียว ดังตัวอย่างงานวิจัยที่ให้ผู้คนมาลองวาดสิ่งที่เราพบเห็นบ่อย ๆ เช่นจักรยาน เป็นเรื่องไม่น่าเชื่อว่าคนส่วนใหญ่กลับจำรายละเอียดเกี่ยวกับจักรยานไม่ได้ว่ามีชิ้นส่วนใดบ้าง ซึ่งภาพวาดที่ออกมาก็เป็นการเดาว่านี่คือจักรยานในความคิดแต่ไม่มีรายละเอียด นั้นคือขีดจำกัดของสมองคนเราที่ไม่สามารถจดจำในทุกเรื่องได้อย่างดีนักการทำงานเป็นทีม เช่น ทีมแพทย์จึงต้องทำงานหลายคนเพื่อเสริมศักยภาพในการใช้สมองมาทดแทนกัน

  3. มนุษย์เรามีความสามารถที่แตกต่างกันไปแต่ละบุคคล นั้นเพราะว่าต่อให้เราเป็นคนที่เรียนเก่งที่สุดในชั้นหรือว่าได้รับรางวัลพนักงานดีเด่นประจำปีแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะเก่งในทุกด้าน ซึ่งในบางเรื่องเราอาจจะแค่รู้ผิวเผินแต่ไม่สามารถเจาะลึกลงในรายละเอียดได้ เช่น เราเป็นนักคิดที่ดีแต่เราไม่สามารถใช้โปรแกรมออกแบบได้อย่างถูกต้อง หรือหมอผ่าตัดที่ต้องรู้ว่าจะเริ่มผ่าตัดอย่างไรแต่ก็ไม่รู้ว่าจะต้องใช้ยาสลบปริมาณขนาดไหนให้เพียงพอต่อการผ่าตัดในแต่ละครั้ง เหล่านี้คือเหตุผลที่ชัดเจนมากว่าการทำงานเป็นทีมนั้นดีกว่าทำงานคนเดียวในบางโอกาส หรือบางงาน

  4. ทีมงานสามารถสร้างเป้าหมายร่วมกันได้มีประสิทธิภาพมากกว่าไม่ใช่เรื่องแปลกที่ในระบบการทำงานไม่มีองค์กรใดที่จะโดดเด่นขึ้นมาได้เพียงเพราะการทำงานของคนคนเดียว เนื่องจากการทำงานเป็นทีมนั้นสามารถตั้งเป้าหมายที่ซับซ้อน และทำให้เกิดผลลัพธ์ร่วมกันได้ดีกว่า เป็นคุณสมบัติพื้นฐานของมนุษย์ตามทฤษฏีวิวัฒนาการ (Evolutionary Theory) ที่เชื่อว่าเรามีสมองที่ได้รับการพัฒนามาเพื่อรับมือกับความซับซ้อน และขนาดของสังคมที่ใหญ่ที่ขึ้น ซึ่งเมื่อกลุ่มทางสังคมเราใหญ่ขึ้นสมองเราก็จะยิ่งได้รับการพัฒนากลไกในการแบ่งปันความรู้เพื่อให้เข้าร่วมสภาพสังคมได้ดีขึ้น จัดว่าเป็นทักษะสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ คือความสามารถในการสร้างเป้าหมาย สร้างสิ่งที่ตั้งใจทำร่วมกัน และแชร์ความรู้กันเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายนั้น

  5. การทำงานเป็นทีมคือการพัฒนาตัวเองที่ดีที่สุด เป็นผลพลอยได้ของการทำงานเป็นทีมที่ทำให้เรามีโอกาสซึมซับเอาความรู้ความสามารถของคนอื่นที่เราอาจไม่เคยคิดว่าจะทำได้ หรือคิดว่าเราเก่งที่สุด เราดีที่สุด ด้วยการศึกษาแนวคิดที่หลากหลายรูปแบบ และได้เห็นรูปแบบการทำงานที่แตกต่างไปจากที่เคยจะยิ่งเพิ่มทักษะของตัวเองให้ดียิ่งขึ้น และมีโอกาสก้าวหน้าได้มากขึ้น ยิ่งทำงานเป็นทีมมากเท่าไหร่โอกาสที่จะได้ร่วมทีมกับคนที่เก่งยิ่งกว่าก็จะมีมากขึ้น นั้นหมายถึงคุณภาพในตัวบุคคลที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อเรียนรู้ข้อดีของการทำงานเป็นทีมไปแล้วก็ใช่ว่าต่อแต่นี้จะมุ่งหน้าสร้างสรรค์ทีมงานเพียงอย่างเดียว การใช้ทีมงานที่มีประสิทธิภาพคือการเลือกบุคคลเข้ามาเป็นทีมงานที่ต้องคัดเอาเฉพาะคนที่มีความสามารถ และตรงกับวัตถุประสงค์ในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งใจได้อย่างแท้จริง

10111 1

ภาพการระดมความคิดเห็นของนักวิจัยแบบกลุ่ม
ที่มา https://pixabay.com ,rawpixel

          นอกจากนี้ การทำงานเป็นทีมอาจพบข้อเสียบางประการ หรือข้อบกพร่องต่าง ๆ กันไปเพราะข้อจำกัดที่อาจเกิดขึ้นจากเนื้องานแต่ละชิ้นงานอาจอ้างได้ว่าเป็นข้อเสีย หรือข้อบกพร่องของการทำงานเป็นทีม ตัวอย่างเช่น

  1. คนในทีมยังไม่มีศักยภาพ

  2. ช่องว่างระหว่างคนในทีมยังมีมากมาย

  3. มากคนมากความ คนเยอะจัดการยาก

  4. ปัญหาของการวางแผน

  5. ความแตกต่างของบุคคล

  6. ใช้เวลานาน กว่าทำงานคนเดียว

  7. มีอิทธิพลของคนในกลุ่มเกิดขึ้น

        อย่างไรก็ตามหากพบว่าการทำงานเป็นทีมมีข้อเสีย หรือข้อบกพร่องนั้นเป็นเพียงสิ่งที่ต้องปรับปรุง หรือ "โอกาส" ในการพัฒนา หรือแก้ไขอุปสรรคในทีมเพราะว่าปัญหาทุกอย่างล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่พัฒนาได้ แก้ไขได้ และส่งผลให้ชิ้นงานนั้นมีคุณภาพที่เกิดจากศักยภาพของการทำงานเป็นทีม หรือกลุ่มงาน

แหล่งที่มา

ไทยเอสเอ็มอีเอสเซ็นเตอร์. (2560, 06 กันยายน).  5 ข้อชี้ชัด ประโยชน์ของการทำงานเป็นทีม! ดีกว่าตัวคนเดียว.  สืบค้นเมื่อ 01 พฤษภาคม 2562, จาก  http://www.thaismescenter.com/5-ข้อชี้ชัด-ประโยชน์ของการทำงานเป็นทีม-ดีกว่าตัวคนเดียว/

นิติ ยอดดำเนิน. (2553, 09 สิงหาคม).  ข้อเสียของการทำงานเป็นทีม (คุณว่ามีไหม).  สืบค้นเมื่อ 01 พฤษภาคม 2562, จาก  https://nitispeaker.blogspot.com/2010/08/blog-post.html

 POKMONTRI. (2561, 21 มกราคม).  ประโยชน์ของการทำงานเป็นกลุ่ม.  สืบค้นเมื่อ 01 พฤษภาคม 2562, จาก  http://www.archeeptech.com/?p=640

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ข้อดี, ข้อเสีย, นักวิจัย, ทำงาน, แบบกลุ่ม, ทีมเวิร์ค
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 03 พฤษภาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
วรางรัตน์ เสนาสิงห์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
อื่น ๆ
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10111 ข้อดี-ข้อเสียของนักวิจัยจากการทำงานเป็นกลุ่ม /article-science/item/10111-2019-04-19-03-40-32
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)