logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ความลับของใยแมงมุม

โดย :
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
เมื่อ :
วันจันทร์, 20 พฤษภาคม 2562
Hits
30616

           Spider Man คงต้องเป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่ทุกคนเคยชมหรือถ้าหากยังไม่เคยผู้เขียนก็ขอแนะนำ ซึ่งในภาพยนต์นั้นเราจะเห็นพลังพิเศษของตัวเอกที่ได้รับมาจากลักษณะพิเศษของแมงมุม เช่น การยกของที่หนักมากกว่าตัวเองได้หลายเท่าตัว การปีนป่ายไปตามกำแพงหรือตึกสูงได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย และการพ่นใยที่ทั้งมีความยืดหยุ่นสูงและทนต่อแรงดึงได้สูงมาก (ถึงขั้นยกรถได้) ซึ่งถ้าหากเราจะมาลองพิจารณาดูว่าแล้วถ้าเป็นในชีวิตจริงถ้าหากมีใยแมงมุมที่มีขนาดเท่ากับในภาพยนต์ ใยแมงมุมนั้นจะมีประสิทธิภาพเหมือนในหนังหรือไม่

9817 1

ภาพที่ 1 Spider Web
ที่มา https://pixabay.com/, mrsp21

          ใยแมงมุม หรือ Spider Web ถูกผลิตขึ้นจากอวัยวะหนึ่งของแมงมุมที่ชื่อว่า “ต่อมผลิตเส้นใย” โดยการนำโปรตีนมาเปลี่ยนให้กลายเป็นเส้นใย คล้ายกับการนำของเหลวมาเปลี่ยนให้กลายเป็นของแข็งแต่ไม่เพียงเปลี่ยนสถานะเท่านั้น ใยแมงมุมยังมีการจัดเรียงถักทอเส้นใยในแบบที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นทำได้ ซึ่งด้วยการถักทอที่แสนพิเศษนี้เอง ที่ทำให้ใยแมงมุมมีคุณสมบัติพิเศษมากมาย เช่น หากเปรียบเทียบในเรื่องของความแข็งแรง ใยแมงมุมจะมีความแข็งแรงมากกว่าเส้นใยไนลอนที่เป็นเส้นใยสังเคราะห์ และหากเปรียบเทียบในเรื่องของร้อยละความยืดหยุ่นเส้นใยแมงมุมนั้นจะมีร้อยละความยืดหยุ่นมากกว่าทั้ง เส้นใยไหม เส้นไยไนลอน เส้นใยคาร์บอน และเส้นใยเหล็ก (เปรียบเทียบในปริมาณที่เท่ากัน)

          แล้วอะไรทำให้เส้นใยแมงมุมมีคุณสมบัติในการยืดหยุ่นได้ดีขนาดนี้ คำตอบของคำถามนี้คงต้องมองลึกไปถึงโครงสร้างของเส้นใย หากเรานำเส้นใยแมงมุมมาวางและตัดขวาง เราจะเห็นว่าแกนกลางของเส้นใยนั้นเป็นส่วนของโปรตีนที่มีชื่อว่า Spidroin (สไปโดอิน) และจะถูกล้อมรอบด้วยไกลโคโปรตีนเป็นชั้นกลาง ตามด้วยไขมันเป็นชั้นสุดท้าย นอกจากนี้โครงสร้างทางโมเลกุลของเส้นใยยังมีทั้งส่วนที่เป็นระเบียบ (เป็นลักษณะผลึก) และส่วนที่ไม่ได้จัดเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบอยู่ด้วยกัน ทำให้มีโครงสร้างทางโมเลกุลแบบผสม ซึ่งส่งผลต่อคุณสมบัติทางกายภาพที่ดีของใยแมงมุม จนมีการนำไปใช้งานในด้านต่าง ๆ เช่น การนำไปใช้ในการผลิตเสื้อเกราะกันกระสุน การผลิตเข็มขัดนิรภัย ไหมเย็บแผล และเส้นเอ็นเทียม

นักวิจัยจากสหรัฐอเมริกาเตรียมศึกษาเพื่อนำใยแมงมุมไปผลิตเป็นกล้ามเนื้อของหุ่นยนต์

          สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ได้ค้นพบคุณสมบัติใหม่ของใยแมงมุมที่อาจถูกนำไปสร้างเป็นกล้ามเนื้อของหุ่นยนต์ได้ คุณสมบัติดังกล่าวคือการยืดหดได้ของเส้นใยตามการเปลี่ยนแปลงของความชื้น นักวิจัยเรียกการควบคุมนี้ว่า “Supercontraction” และยังไม่มีการค้นพบคุณสมบัตินี้กับเส้นใยอื่น ๆ อีกด้วย โดยนักวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อมได้ให้ความเห็นว่า คุณสมบัตินี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นเซนเซอร์หรืออุปกรณ์ควบคุมบางชนิดได้ ถ้าหากเราสามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงทางความชื้นได้

แหล่งที่มา

Flagflog. (2562, 6  มีนาคม).  MIT เล็งใช้ “ใยแมงมุม” เพื่อนำไปสร้างเป็น “กล้ามเนื้อของหุ่นยนต์” ในอนาคต.  สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2562, จาก https://www.flagfrog.com/mit-spider-web-muscle-for-robot/

วิโรจน์ แก้วเรือง. (ไม่ระบุ).  แมงมุมจะเป็นแค่หยากไย่หรือเส้นใยแห่งอนาคต.  สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2562, จาก https://www.gotoknow.org/posts/552678

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ใย,แมงมุม
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันเสาร์, 19 มกราคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 9817 ความลับของใยแมงมุม /article-physics/item/9817-2019-02-21-08-04-33
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
สิ่งที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับพันธุศาสตร์
สิ่งที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับพันธุศาสตร์
Hits ฮิต (1808)
ให้คะแนน
พันธุศาสตร์อาจจะเป็นยาขมสำหรับนักเรียนหลายคน เวลาเรียนชีววิทยา เพราะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรามองไม่เห ...
มหัศจรรย์ของเอนไซม์ : ช่วยบำบัดโรคในร่างกาย
มหัศจรรย์ของเอนไซม์ : ช่วยบำบัดโรคในร่าง...
Hits ฮิต (26911)
ให้คะแนน
มหัศจรรย์ของเอนไซม์ : ช่วยบำบัดโรคในร่างกาย ดร. วนิดา นประโยชน์ศักดิ์ เมื่อเอ่ยถึงเอนไซม์ ... หลายท ...
รู้หรือไม่? อาการคันสัมพันธ์กับจิตใจ
รู้หรือไม่? อาการคันสัมพันธ์กับจิตใจ
Hits ฮิต (10562)
ให้คะแนน
เมื่อใดก็ตามที่เกิดอาการคัน สัญชาตญาณแรกที่คนเราจะทำคือ การเกา แม้ว่าการเกาจะทำให้รู้สึกดีขึ้น แต่ก ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

SciMath ใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้
ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตกลง
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)