logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ยิ่งสูงทำไมอากาศยิ่งหนาวทั้ง ๆ ที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น

โดย :
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
เมื่อ :
วันจันทร์, 04 มีนาคม 2562
Hits
38924

 

9115 1

ภาพที่ 1 Everest Mountain
ที่มา https://pixabay.com/th/ ,lutz6078

          ก่อนอื่น ถ้าใครที่เคยถามคำถามนี้ไม่ว่าจะถามตัวเองในใจ หรือถามผู้อื่น คุณเป็นคนที่มีความช่างสังเกตเป็นอย่างยิ่ง รู้จักการสังเกตสิ่งผิดปกติรอบตัวเพื่อมาตั้งเป็นคำถาม ที่ความสูงขึ้นไปมาก ๆ มันก็จะใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น การแผ่รังสีความร้อนของดวงอาทิตย์ก็น่าจะมาถึงเราได้ดีขึ้น เราก็น่าจะรู้สึกอุ่นขึ้น แต่ทำไมในความเป็นจริงแล้วกลับตรงกันข้าม “ยิ่งสูง มันยิ่งหนาว”

          การที่เราบอกว่าเราเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นแล้วน่าจะอุ่นขึ้นนั้น ผู้เขียนขอให้ลองนึกภาพระยะทาง 93 ล้านไมล์ ซึ่งเป็นระยะทางของความห่างระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับระยะทางที่เราสามารถเดินทางขึ้นไปได้สูงสุดเช่น นั่งเครื่องบินที่ความสูง 30,000 – 40,000 ฟุต (ประมาณ 6.63 ไมล์) ระยะทางที่เราขึ้นไปได้นั้นแทบจะเรียกได้ว่าเป็นเศษเสี้ยวของระยะทางทั้งหมดเลยด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นสมมติฐานข้อนี้จึงตกไป (เราน่าจะต้องเดินทางกันในหลักล้านไมล์เพื่อให้สมมติฐานข้อนี้มีผลจริง ๆ)

แล้วอะไรกันล่ะที่ทำให้อุณหภูมิลดลง?

          สำหรับในเรื่องนี้เราสามารถอธิบายได้ด้วยหลักการของ ความกดอากาศ ผู้เขียนขอให้ผู้อ่านทุกท่านตีกรอบรอบ ๆ ตัวขึ้นมา แล้วให้กรอบนั้นมีความสูงไปจนถึง 50,000 – 60,000 ฟุต ในกรอบนั้นจะมีสิ่งหนึ่งอยู่อย่างแน่นอน นั่นคือ “อากาศ” และจุดที่ตัวเรายืนอยู่นั้นเป็นจุดที่ถูกคอลัมน์ของอากาศกดทับมากที่สุด และแรงกดทับจะลดไปเรื่อย ๆ ตามความสูงที่เพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราไปยืนที่ระดับน้ำทะเลความดันอากาศรอบ ๆ ตัวเราจะมีค่าประมาณ 14.7 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว แต่ถ้าเราเดินทางขึ้นไปสูง 5,000 ฟุต ความดันบรรยากาศรอบ ๆ ตัวเราจะเหลือ 12.2 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว

          สำหรับแก๊สนั้น ความดันและอุณหภูมิเป็นสิ่งที่แปรผกผันกัน ถ้าอันนึงเพิ่มอีกอันจะลด ดังนั้นเมื่อเราเดินทางขึ้นไปที่สูง ๆ ซึ่งความกดอากาศลดลงอุณหภูมิก็จะลดลงนั่นเอง ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า โมเลกุลของแก๊สที่ความดันสูงจะมีระดับของพลังงานที่มากกว่าโมเลกุลของแก๊สที่ความดันต่ำกว่า และที่ความสูงต่ำ ๆ ก็จะมีโมเลกุลของแก๊สที่มาก (ทั้งสาเหตุจากแรงโน้มถ่วงของโลกที่ดึงโมเลกุลอากาศลงมาและเรื่องของคอลัมน์อากาศที่กดทับลงมา) ดังนั้น เมื่อโมเลกุลอากาศมารวมกันมากเข้าก็จะเกิดการชนกัน ซึ่งจะเกิดเป็นพลังงาน และเกิดเป็นความร้อนในที่สุด ในทางตรงกันข้ามที่ระดับความสูงมาก ๆ โมเลกุลของอากาศก็จะน้อย เกิดการชนกันก็น้อยกว่า เกิดพลังงานน้อยกว่า จึงเกิดความร้อนน้อยกว่านั่นเอง

9115 2

ภาพที่ 2 เครื่องบินที่ทำการบินสูงกว่า 8,000 – 10,000 ft ที่จะต้องมีระบบปรับอากาศและปรับความดันแบบพิเศษเพื่อให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
ที่มา https:// https://pixabay.com/th/ , Free-Photos

          ด้วยเหตุผลดังนี้เครื่องบินที่ทำการบินมากกว่า 8,000-10,000 ฟุต ก็จะต้องมีระบบปรับอากาศและปรับความดันแบบพิเศษ เพื่อที่จะให้ผู้โดยสารและลูกเรือสามารถเดินทางได้อย่างปลอดภัยอีกด้วย

แหล่งที่มา

Esther Inglis-Arkell.  (2010, 29 May).   Why is it colder at high altitude?.  Retrieved October 4, 2018, from https:// https://io9.gizmodo.com/5550672/why-is-it-colder-at-high-altitude

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
สูง, อากาศ, หนาว ,ดวงอาทิตย์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 11 ธันวาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 9115 ยิ่งสูงทำไมอากาศยิ่งหนาวทั้ง ๆ ที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น /article-physics/item/9115-2018-10-18-08-58-45
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)