logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ไฟฟ้าสถิตเกิดขึ้นกับร่างกายครั้งสุดท้ายเมื่อไร?

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันศุกร์, 09 พฤศจิกายน 2561
Hits
117585

          ไม่เพียงแค่อากาศแห้งในช่วงฤดูหนาวที่มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดไฟฟ้าสถิต แต่การใช้ชีวิตในแต่ละวันก็มีโอกาสถูกช๊อตเบาๆ ได้จากการจับต้องกับสิ่งของต่าง ๆ หรือสัมผัสกับแขนของคนที่เลือกซื้อเสื้อผ้าในกองผ้าลดราคาโดยบังเอิญ หากคุณสงสัยว่า คุณกลายเป็นมนุษย์ไฟฟ้าได้อย่างไร นี่คือคำอธิบาย

8494 1

ภาพที่ 1 ร่างกายของคุณเกิดไฟฟ้าสถิตครั้งสุดท้ายเมื่อไร?
ที่มา https://www.flickr.com ,Shannon Merritt

          ไฟฟ้าสถิต (Static electricity)

          ไฟฟ้าสถิต (Static electricity) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากความไม่สมดุลของปริมาณประจุไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบภายในวัสดุหรือบนพื้นผิวของวัสดุ ซึ่งประจุไฟฟ้าเหล่านั้นจะยังคงอยู่จนกระทั่งเกิดการเคลื่อนที่หรือมีการถ่ายเทประจุ (Electrostatic Discharge)

          โดยปกติแล้ววัสดุทุกชนิดมีความเป็นกลางทางไฟฟ้า กล่าวคือจะมีปริมาณของประจุบวกและประจุลบอย่างละเท่า ๆ กัน ทั้งนี้ประจุไฟฟ้าเหล่านี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากการขัดถู สัมผัส หรือเสียดสีกันระหว่างวัสดุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัสดุประเภทที่ไม่นำไฟฟ้าหรือที่เรียกว่า ฉนวน ซึ่งจากสถานการณ์ที่มีการนำลูกโป่งมาถูกับเส้นผม หรือการสัมผัสกันระหว่างรองเท้าหนังและพรมเช็ดเท้า สถานการณ์เหล่านั้นทำให้เกิดการถ่ายเทประจุไฟฟ้า เป็นผลให้เกิดความไม่สมดุลของจำนวนประจุบวกและประจุลบในวัสดุแต่ละชิ้น ด้วยเหตุนี้วัสดุที่ต่างก็มีความไม่สมดุลของประจุไฟฟ้าจึงมีความพยายามถ่ายเทประจุไฟฟ้ากับวัสดุอื่นๆ เพื่อสร้างความสมดุลให้กับตัวเอง และการแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้านี้เองที่เป็นสาเหตุของความรู้สึกที่คล้ายกับการถูกไฟฟ้าช็อตหรือที่เรียกว่า ไฟฟ้าสถิต

8494 2

ภาพที่ 2 ประจุลบบนเส้นผมถูกถ่ายเทไปยังลูกโป่งเมื่อวัสดุทั้งสองสัมผัสกัน
ที่มา https://www.flickr.com ,Mike Renlund

          ความรู้สึกถูกช็อตเบา ๆ เกิดขึ้นเนื่องจากความไม่สมดุลของประจุไฟฟ้าในร่างกายของมนุษย์เช่นเดียวกับวัสดุอื่น ๆ โดยสามารถอธิบายด้วยการยกตัวอย่างได้ว่า เมื่อเรานำลูกโป่งมาถูเข้ากับเส้นผม ประจุลบที่อยู่บนเส้นผมจะถูกถ่ายเทไปยังลูกโป่ง นั่นทำให้ร่างกายของเรามีประจุบวกมากกว่าประจุลบ และเมื่อเราไปสัมผัสกับมือจับบานเลื่อนประตูซึ่งเป็นโลหะ ประจุลบจากมือจับประตูจะถ่ายเทมายังร่างกายของเราอย่างรวดเร็ว เป็นผลให้เราสะดุ้งและรู้สึกเหมือนถูกไฟฟ้าช็อตเบา ๆ อย่างไรก็ดีปริมาณกระแสไฟฟ้าจากการถูกไฟฟ้าสถิตช็อตนั้นไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต เพียงแต่อาจทำให้เราสะดุ้งหรือเจ็บเล็กน้อย

          อากาศแห้งในช่วงฤดูหนาวกับไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง

          อากาศในช่วงฤดูหนาวก่อให้เกิดการสะสมของประจุไฟฟ้าได้ง่ายและถ่ายเทประจุไฟฟ้าได้มากกว่าอากาศในช่วงฤดูร้อน นั่นเป็นเพราะปัจจัยในเรื่องของความชื้นในอากาศ (Air humidity)

8494 3

ภาพที่ 3 ความชื้นในอากาศน้อยทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตได้บ่อยครั้ง
ที่มา https://www.flickr.com ,ogu tetsu

          ในช่วงฤดูหนาว ความไม่สมดุลของประจุไฟฟ้ามีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้ง่าย เนื่องด้วยมีความชื้นในอากาศน้อยกว่าอากาศที่มีอุณหภูมิสูงกว่า ความชื้นต่ำจะทำให้ประจุไฟฟ้าเกิดการสะสมบนผิวหนัง ซึ่งเมื่อมีการสัมผัสกับวัสดุประเภทตัวนำ จะทำให้เกิดการถ่ายเทประจุไฟฟ้าไปยังตัวนำอย่างรวดเร็วเป็นผลเกิดการช็อตเบาๆ ได้   ดังนั้นการรักษาความชื้นในอากาศจึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันปัญหาการเกิดไฟฟ้าสถิตได้ ทั้งนี้ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมสำหรับอากาศในห้องควรอยู่ระหว่างร้อยละ 40-50 ซึ่งสามารถวัดค่าความชื้นได้ด้วยเครื่องวัดความชื้นสัมพัทธ์ที่หาซื้อได้ตามร้านอุปกรณ์ทั่วไป

          นอกจากการรักษาระดับความชื้นในอากาศแล้ว      การดื่มน้ำหรือทาครีมบำรุงผิวเพื่อช่วยให้ผิวชุ่มชื้น การสวมรองเท้าพื้นยาง หรือการหลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าขนสัตว์ซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้าก็เป็นวิธีที่ช่วยลดการเกิดไฟฟ้าสถิตและความรู้สึกถูกช็อตที่กวนใจได้

แหล่งที่มา

Tom Hale. (2018, February 27). Why Have You Been Getting More Static Electric Shocks Recently?.Retrieved May 25, 2018, From http://www.iflscience.com/physics/the-reason-you-get-more-static-electric-shocks-in-cold-weather/

Static electricity. Retrieved May 25, 2018, From https://en.wikipedia.org/wiki/Static_electricity

Static shocks, and how to avoid them. Retrieved May 25, 2018, From http://www.electrostatics.net/articles/static_shocks.htm

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ไฟฟ้าสถิต, Static electricity, ช็อต, การถ่ายเทประจุ, Electrostatic Discharge, ประจุไฟฟ้า
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอาทิตย์, 22 กรกฎาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8494 ไฟฟ้าสถิตเกิดขึ้นกับร่างกายครั้งสุดท้ายเมื่อไร? /article-physics/item/8494-2018-07-18-04-39-17
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)