logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

เสาสัญญาณโทรศัพท์ก่อให้เกิดมะเร็งจริงหรือ?

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันอังคาร, 06 พฤศจิกายน 2561
Hits
19350

          ความคิดที่ว่า เสาสัญญาณโทรศัพท์ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้รับการสันนิษฐานมานานหลายทศวรรษ ซึ่งการปรากฏตัวขึ้นของเสาสัญญาณในแหล่งชุมชนนั้นมาพร้อมกับการใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อเป็นอุปกรณ์จำเป็นต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันจนกระทั่งเป็นอุปกรณ์ที่แสดงฐานะทางสังคม ถึงเช่นนั้นสถานการณ์ในปัจจุบัน ดูเหมือนว่าจะสร้างความเข้าใจมากยิ่งขึ้น เนื่องด้วยการใช้โทรศัพท์มือถือถือเป็นเรื่องปกติ และแทบทุกครัวเรือนต่างมีอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายต่าง ๆ นั่นจึงเป็นเหตุผลให้เสาสัญญาณโทรศัพท์ถูกสร้างขึ้นมากกว่าการปลูกต้นไม้เสียอีก

8489 1

ภาพที่ 1 เสาสัญญาณโทรศัพท์
ที่มา https://pixabay.com , MichaelGaida

          คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic radiation) เป็นพลังงานชนิดหนึ่งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความเข้มของสนามแม่เหล็ก ทั้งนี้สามารถแบ่งประเภทของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ตามช่วงความถี่และความยาวคลื่นหรือที่เรียกว่า "สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic spectrum)" ได้ทั้งหมด 7 ประเภท โดยประเภทของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าวสามารถจัดกลุ่มตามระดับพลังงานเป็น 2 กลุ่มได้แก่ รังสีก่อประจุ (Ionizing radiation) และรังสีไม่ก่อประจุ (Non-ionizing radiation)

8489 2

ภาพที่ 2 สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Electromagnetic_spectrum#/media/File:EM_Spectrum_Properties_edit.svg

          รังสีก่อประจุ (Ionizing radiation) เป็นรังสีที่มีพลังงานสูงบนสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ครอบคลุมช่วงความถี่ของรังสีอัลตราไวโอเลต (ultraviolet rays) รังสีเอกซ์เรย์ (X-rays) และรังสีแกมมา (gamma-rays) ทั้งนี้การสัมผัสกับพลังงานเหล่านี้เป็นเวลานานอาจเป็นสาเหตุของการกลายพันธุ์ของเซลล์ (Cellular mutation) ได้ เนื่องด้วยรังสีก่อประจุมีพลังงานสูงพอที่จะที่จะปลดหรือเพิ่มอิเล็กตรอนจากอะตอมและก่อให้เกิดไอออนที่มีประจุ โดยการเกิดไอออนเหล่านั้นก่อความเสียหายต่อพันธะเคมีและส่งผลกระทบต่อโครงสร้างสำคัญของเซลล์เช่น โครงสร้างของดีเอ็นเอ ที่นำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งและโรคภูมิต้านทานอื่น ๆ ได้

          ในขณะที่รังสีไม่ก่อประจุ (Non-ionizing radiation) จะเป็นรังสีพลังงานต่ำซึ่งประกอบไปด้วยคลื่นวิทยุ (Radio waves) คลื่นโทรทัศน์และไมโครเวฟ (Microwaves) รังสีอินฟราเรด (Infrared) และแสงที่ตามองเห็นได้ (Visible light) และเนื่องจากเป็นคลื่นที่มีความถี่ต่ำ จึงไม่สามารถก่อให้เกิดไอออนที่มีประจุและทำให้เกิดความเสียหายในโครงสร้างของเซลล์ได้  ดังนั้นคลื่นความถี่ต่ำอย่างคลื่นวิทยุที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารนี้จึงไม่มีพลังงานมากพอที่จะทำลายโครงสร้างของดีเอ็นเอ นั่นหมายความว่า เสาสัญญาณโทรศัพท์อาจไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  ถึงเช่นนั้นก็ยังมีความกังวลที่การสัมผัสกับคลื่่่นวิทยุอย่างต่อเนื่องจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสมองและพัฒนาการของเด็กในวัยเรียน อย่างไรก็ดีไม่เพียงแค่เสาสัญญาณโทรศัพท์ที่ควรกังวล

          โทรศัพท์มือถือหรือเราเตอร์สัญญาณอินเตอร์เน็ตก็มีความคล้ายคลึงกับเสาสัญญาณโทรศัพท์เพียงแต่มีขนาดที่เล็กลง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วอุปกรณ์เหล่านี้อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าเสาสัญญาณโทรศัพท์เสียอีก เช่นเดียวกันอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อำนวยความสะดวกในครัวเรือนอย่างเตาไมโครเวฟก็มีรังสีพลังงานต่ำที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการปรุงอาหารและที่ไม่เป็นอันตรายเช่นกัน ดังนั้นคำตอบอย่างไรจึงจะคลายความกังวลลงได้?

8489 3

ภาพที่ 3  Wifi router
ที่มา https://www.flickr.com ,Paul Jacobson

          "หอสัญญาณโทรศัพท์ดูเหมือนจะไม่เป็นภัยคุกคาม แต่เราไม่แน่ใจ" นั่นเป็นคำตอบที่ยังไม่ได้ข้อสรุปจากองค์การระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยโรคมะเร็ง (IARC) ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อยขององค์การอนามัยโลก (WHO) อย่างไรก็ตามมีหลายสาเหตุที่เสาสัญญาณอาจไม่เป็นอันตรายเช่น การติดตั้งเสาสัญญาณมักจะตั้งอยู่สูงจึงทำให้ระดับพลังงานของรังสีที่ปล่อยออกมาลดน้อยลงขณะที่ส่งสัญญาณลงมาที่ภาคพื้น รวมทั้งความไม่ต่อเนื่องของการส่งสัญญาณ เป็นต้น

          นอกจากนี้เป็นที่ทราบโดยทั่วกันอยู่แล้วว่า ระดับพลังงานสูงสุดจะอยู่ติดกับเสาอากาศ ดังนั้นการได้รับอนุญาตให้เข้าถึงสถานที่ที่มีการสัมผัสโดยตรงเช่นนั้นจึงมีข้อจำกัด แต่ถึงเช่นนั้น การขาดความรู้ความเข้าใจของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกันกับเสาส่งสัญญาณที่เป็นส่วนเกินของอาคารบ้านเรือนและความเป็นไปได้ของการเกิดโรคมะเร็งของพวกเขาก็ยังไม่มีข้อสรุปใด ๆ ที่ชัดเจน

แหล่งที่มา

Akash Peshin. (2018, January 25). Do Phone Towers Cause Cancer?.  Retrieved May 28, 2018, From https://www.scienceabc.com/eyeopeners/phone-towers-cause-cancer.html

Electromagnetic radiation. Retrieved May 28, 2018, From https://en.wikipedia.org/wiki/Electromagnetic_radiation

Ionizing radiation. Retrieved May 28, 2018, From https://en.wikipedia.org/wiki/Ionizing_radiation

รังสีก่อไอออน (Ionizing Radiation)  . สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2561. จาก http://www.nst.or.th/article/article59/files/radiation_ionizing.pdf

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
สัญญาณ, เสาสัญญาณโทรศัพท์, เสาสัญญาณ, โทรศัพท์, โทรศัพท์มือถือ, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, Electromagnetic radiation, รังสี, สเปกตรัม, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, Electromagnetic spectrum, รังสีก่อประจุ, Ionizing radiation, รังสีไม่ก่อประจุ, Non-ionizing radiation, โรคมะเร็ง
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอาทิตย์, 22 กรกฎาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8489 เสาสัญญาณโทรศัพท์ก่อให้เกิดมะเร็งจริงหรือ? /article-physics/item/8489-2018-07-18-04-29-13
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)