logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

มันก็โอเคอยู่นะสำหรับรางวัล อิกโนเบล

โดย :
ณัฐดนัย เนียมทอง
เมื่อ :
วันจันทร์, 05 พฤศจิกายน 2561
Hits
15856

          หลายคนคงเคยได้ยินชื่อรางวัล รางวัลหนึ่งที่มีชื่อว่า อิกโนเบล (Ig Nobel) ซึ่งมีที่มาจากคำว่า ignoble Nobel ซึ่งเป็นรางวัลอันแปลกประหลาดที่คนจากทั่วโลกมักจะตะลึงงันกับผลงานที่ได้รับรางวัลนี้ เพราะเป็นรางวัลที่มอบให้แก่ผลงานทางวิทยาศาสตร์หรืองานวิจัยที่ไม่น่าจะมีความเป็นไปได้ และทำให้ผู้คนหัวเราะไปกับผลงานชิ้นนั้นได้ 10 รางวัลในแต่ละสาขาที่แตกต่างกันออกไป

8487 1

ภาพที่ 1  "The Stinker", มาสคอตประจำรางวัลอิกโนเบล
https://www.improbable.com/ig/

          แต่อย่าจริงไปจังอะไรให้มากจนเกินไป เพราะที่แท้จริงแล้วรางวัลนี้เป็นเพียงรางวัลธรรมเนียมเรียกเสียงฮาในเชิงสนุกสนาน ล้อเลียนรางวัลใหญ่อย่างรางวัลโนเบลนั่นเอง รางวัลอิกโนเบลก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1991 โดยมาร์ก อับราฮัมส์ (Marc Abrahams)  บรรณาธิการนิตยสารทางด้านวิทยาศาสตร์

ตัวอย่างผลงานที่แค่ชื่อก็อาจทำให้คุณหัวเราะเข้าแล้ว

8487 2

ภาพที่ 2 ผลงานเสื้อยกทรงที่สามารถดัดแปลงออกมาเป็นหน้ากากอนามัย ปี พ.ศ. 2552
ที่มา http://www.neutron.rmutphysics.com/science-news/index.php?option=com_content&task=..&id=0&Itemid=0&limit=9&limitstart=1602

  • งานวิจัยเกี่ยวกับการทดลองว่าถ้าใช้ขวดเบียร์ตีหัว ขวดแบบไหนจะทำให้เจ็บน้อยกว่ากัน ระหว่างขวดที่ยังไม่ได้เปิดกับขวดเปล่า
  • ผลงานเสื้อยกทรงที่สามารถดัดแปลงออกมาเป็นหน้ากากอนามัยกันฝุ่นและมลพิษได้
  • การทดลองที่สามารถบอกได้ว่าแมวสามารถเป็นได้ทั้งของแข็งและของเหลว

คนไทยเองก็เคยได้รับรางวัลนี้อยู่เหมือนกัน

  • เทคนิคการผ่าตัดต่อคืนองคชาติที่ถูกเฉือนให้ขาด แต่ที่เป็นเรื่องน่าขำขันก็คือ เทคนิคนี้จะใช้ไม่ได้ผลก็ต่อเมื่อองคชาติถูกเป็ดกินไปแล้ว รับรางวัลปี 2013
  • นโยบาย “มอบเงินรางวัลให้ตำรวจที่ไม่รับสินบน” รับรางวัลปี 2015

          ในส่วนของรางวัลที่จะได้นั้นก็ไม่ต้องพูดถึงเลย ให้สมกับเป็นรางวัลที่น่าขำขัน ของรางวัลที่จะได้รับก็จะต้องขำขันเป็นธรรมดา และนี่คือสิ่งที่ผู้ได้รับรางวัลจะได้กลับไป

  • โล่รางวัลที่มีลักษณะคล้ายกรอบรูป มีการออกแบบที่แตกต่างกันไปในแต่ละปี แต่ที่สำคัญที่สุดของสิ่งนั้นต้องทำมาจากวัสดุราคาถูกเสมอ
  • ผู้ได้รับรางวัลจะต้องเสียค่าเดินทางมารับรางวัลด้วยตัวเอง
  • เงินรางวัลที่ได้รับ ถึงแม้ว่าตัวเลขของเงินรางวัลที่ได้รับจะสูงมาก แต่สกุลเงินจะมีค่าเงินต่ำที่สุดในโลกอย่าง ดอลลาร์ซิมบับเว
  • คนที่มอบรางวัลให้แก่ผู้ได้รับรางวัลอิกโนเบลคือผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบล

          ถึงแม้จะเป็นรางวัลที่น่าขำขัน แต่ผลงานทุกชิ้นก็ต่างได้รับการชมเชยและพูดถึงในทั่วโลกนับจากการประกาศรางวัล ก็เพราะในเรื่องที่ชวนขำขันนั้น แต่ก็แฝงไปด้วยสาระและน่าครุ่นคิด  เพราะในความเป็นจริงแล้ว ผลงานวิจัยแต่ละอย่างหรือผลงานแต่ละชิ้นก็ถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงเสียด้วย อีกทั้งผ่านกระบวนการทดลองและวิจัยมาไม่น้อยเลยเช่นเดียวกัน และในบางผลงานก็เป็นไอเดียสำหรับใช้ต่อยอดการวิจัยต่อ ๆ ไปได้อีกไม่น้อยเลยทีเดียว

          ถ้าอยากได้รางวัลนี้ ก็ลองสร้างผลงานการทดลองหรืองานวิจัยขึ้นมาสักหนึ่งชิ้น ไม่แน่ว่าคุณอาจจะเป็นเจ้าของรางวัลคนต่อไปก็เป็นได้ แต่อย่าลืมนะว่าผลงานที่คุณสร้างมันขึ้นมา ต้องทำให้คนขำขันด้วยหละ

แหล่งที่มา

A science award that makes you laugh,then think . Retrieved April 28, 2018, From   https://www.ted.com/talks/marc_abrahams_a_science_award_that_makes_you_laugh_then_think?language=th#t-455115

Winners of the Ig® Nobel Prize. Retrieved April 28, 2018, From https://www.improbable.com/ig/winners/#ig2017

Taey Ch . (2560, 24 มีนาคม). 8 Ig Nobel รางวัลวิทยาศาสตร์ที่บ้าบอสุดขีด ขั้วตรงข้ามของ Nobel . สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2561, จาก https://www.mangozero.com/8-ig-nobel-prize-winners/

SpokeDark.TV . (2560, 15 กุมภาพันธ์). เมื่อโลกนี้มี Nobel ได้ ทำไมจะมี Ig Nobel ไม่ได้.. มารู้จักรางวัลโลกคู่ขนานกัน บอกเลยว่างานวิจัยแต่ละงานที่ได้รางวัลนี่ไม่ได้มาเล่นๆ ดู อย่างฮา. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2561, จาก https://www.spokedark.tv/posts/ig-nobel/

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
รางวัลอิกโนเบล, Ig Nobel, อิกโนเบล, รางวัลโนเบล, รางวัล, ล้อเลียน, อับราฮัมส์, Marc Abrahams, วิทยาศาสตร์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 03 สิงหาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณัฐดนัย เนียมทอง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8487 มันก็โอเคอยู่นะสำหรับรางวัล อิกโนเบล /article-physics/item/8487-2018-07-18-04-26-30
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)