logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ฟิสิกส์ของกีฬาเคิร์ลลิ่ง (Curling)

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันอังคาร, 04 กันยายน 2561
Hits
26812

        เคิร์ลลิง (Curling) เป็นหนึ่งในกีฬาที่ถูกบรรจุเป็นกีฬาฤดูหนาวประเภททีมในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว โดยในการเล่นนั้นผู้เล่นในแต่ละทีมจะต้องผลักก้อนหินแกรนิตรูปกลมให้ไถลไปบนลานน้ำแข็ง และผู้เล่นอีก 2 ท่านจะต้องใช้อุปกรณ์ถูพื้นเพื่อบังคับและปรับเส้นทางให้ก้อนหินเคลื่อนที่เข้าใกล้เป้าหมาย และเช่นเดียวกับกีฬาอื่นๆ กีฬาประเภทนี้มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับกลศาสตร์พื้นฐานอยู่เบื้องหลัง

8397 1

ภาพที่ 1 กีฬาเคิร์ลลิง
ที่มา https://www.flickr.com/ ,Erin Moffat

ประวัติของกีฬาเคิร์ลลิง

       หากถามถึงประวัติความเป็นมาที่ยาวนานของกีฬาเคิร์ลลิง (Curling) คงต้องย้อนกลับไปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในประเทศสกอตแลนด์ ที่มีการเล่นกีฬาชนิดนี้ในบ่อน้ำหรือทะเลสาบที่กลายเป็นลานน้ำแข็งจากอุณหภูมิที่ต่ำลงในฤดูหนาว ซึ่งพบหลักฐานเป็นอุปกรณ์การเล่นอย่างก้อนหินแกรนิตในพื้นที่ของเมืองเพิร์ธและสเตอร์ลิงที่มีการสลักตัวเลขระบุปี ค.ศ. 1511 ทั้งนี้ยังมีการอ้างอิงถึงการแข่งขันครั้งแรกจากบันทึกของทนายความชาวสก็อตเมื่อประมาณปีค.ศ. 1541 ที่ได้บันทึกเกมการแข่งขันการเล่นเคอร์ลิงระหว่างบาทหลวงที่โบสถ์ Paisley Abbey และญาติของบาทหลวง

8397 2

ภาพที่ 2 ภาพวาดการเล่นเคิร์ลลิงที่ปราสาทแฮริงตัน ประเทศสกอตแลนด์ในปีค.ศ. 1860
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Curling

         กีฬาเคอร์ลิงแพร่กระจายไปยังประเทศต่าง ๆ ผ่านการค้าและวัฒนธรรม โดยมีการกำหนดกฎกติกาการเล่นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1838 และปรากฏเป็นกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกในปี ค.ศ.1924 ที่เมืองชาโมนิกซ์ ประเทศฝรั่งเศส สำหรับวิธีการเล่นนั้น ผู้เล่นจะต้องผลักก้อนหินแกรนิตรูปกลมหรือที่เรียกว่า “Stone” ให้ลื่นไถลไปบนลานน้ำแข็ง ในขณะที่ผู้เล่นอีก 2 คนจะใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายไม้ถูพื้นถูบริเวณด้านหน้าของก้อนหินนั้น การเคลื่อนไหวในลักษณะของการถูจะทำให้ผิวน้ำแข็งร้อน ส่งผลให้พื้นน้ำแข็งเรียบเนียนและช่วยให้ก้อนหินสามารถเคลื่อนที่ไปได้ไกลจนถึงเป้าหมายที่เรียกว่า “House”

8397 3

ภาพที่ 3 ลู่การแข่งขันกีฬาเคอร์ลิง
ที่มา พรรณพร กะตะจิตต์

Curling Stone

       สโตนหรือ Curling Stone เป็นก้อนหินแกรนิตหนารูปกลมขัดเงา มีด้ามจับ มีเส้นรอบวงสูงสุดอยู่ที่ 36 นิ้ว (910 มิลลิเมตร) และมีความสูงต่ำสุดของสโตนจะอยู่ที่ 4.5 นิ้ว (110 มิลลิเมตร) ในขณะที่มีน้ำหนักประมาณ 17-20 กิโลกรัม (น้ำหนักสูงสุดจะไม่เกิน 20 กิโลกรัม)

8397 4

ภาพที่ 4 Curling Stone
ที่มา https://pixabay.com/ ,caitgreer

       ส่วนของฐานของสโตนจะมีลักษณะเว้าและเป็นวงแหวนบางๆ  ถูกเรียกว่า Running band ซึ่งรองรับน้ำหนักของหิน และเป็นส่วนที่สัมผัสกับพื้นผิวของน้ำแข็ง โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 12 เซนติเมตร และมีความกว้างของแถบประมาณ 5 มิลลิเมตร ทั้งนี้หากมีการใช้งานแล้ว ในส่วนความกว้างของแถบอาจเพิ่มขึ้นได้ถึง 8 มิลลิเมตร ทั้งนี้พื้นผิวและความคมชัดของวงแหวนมีอิทธิพลต่อแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างพื้นผิวของก้อนหินและพื้นน้ำแข็งที่ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของสโตนบนลานน้ำแข็ง

8397 5

ภาพที่ 5 Running band
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=RrVgfaDPI4w ,Discovery UK/CURLING STONES | How It's Made/ 

        ผู้เล่นจะผลักก้อนหินออกจากจุดเริ่มต้นในลักษณะของการหมุนอย่างช้า ๆ  ด้วยความเร็วไม่กี่เมตรต่อวินาที การหมุนนั้นจะช่วยให้ก้อนหินเคลื่อนที่ไปบนลานน้ำแข็งได้ในทิศทางที่ต้องการ นอกจากนี้เส้นทางของก้อนหินยังสามารถควบคุมได้จากอุปกรณ์คล้ายไม้ถูพื้นที่ผู้เล่นอีก 2 ท่าน ใช้บังคับทิศทางของก้อนหินด้วยการถูพื้นผิวของน้ำแข็งบริเวณด้านหน้าของก้อนหินในขณะที่มีการเคลื่อนที่เข้าสู้เป้าหมายด้วย

เกมกีฬากับแรงเสียดทาน

       กีฬาเคิร์ลลิงเป็นกีฬาที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เพียงแค่ความรู้ทางฟิสิกส์จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเล่น แต่ผู้เล่นจะต้องตระหนักถึงหลักการทางฟิสิกส์ในทุกครั้งที่อยู่ในการแข่งขัน  อย่างไรก็ดีสิ่งแรกที่น่าสนใจสำหรับกีฬาประเภทนี้คือ ฟิสิกส์ที่ช่วยอธิบายลักษณะการหมุนของก้อนหินบนพื้นน้ำแข็ง

8397 6

ภาพที่ 6 การเคลื่อนที่ของสโตน
ที่มา https://pixabay.com/ ,PhotoMIX-Company

         สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนที่ของก้อนหินคือ แรงเสียดทาน (Friction) โดยแรงเสียดทานเป็นแรงที่เกิดขึ้นระหว่างสองพื้นผิวสัมผัสที่มีการเคลื่อนที่ผ่านกันในทิศทางตรงกันข้าม (พื้นผิวสัมผัสของก้อนหินและน้ำแข็งบนลานน้ำแข็ง) ซึ่งเป็นแรงที่พยายามต่อต้านเคลื่อนที่ของวัตถุที่เคลื่อนที่อยู่เสมอ (ก้อนหิน) ทั้งนี้ปัจจัยในเรื่องของลักษณะของพื้นผิวและแรงกดของวัตถุที่กระทำต่อพื้นผิวมีความสำคัญอย่างมากต่อการเกิดแรงเสียดทาน

8397 7

ภาพที่ 7 ผู้เล่นผลักก้อนหินหรือสโตนออกจากจุดเริ่มต้น
ที่มา https://www.flickr.com/ ,2014AWG

        การผลักก้อนหินหรือสโตนบนพื้นผิวน้ำแข็งที่เรียบเนียนและลื่น วัตถุนั้นจะเคลื่อนที่ไปได้ง่าย ในทางกลับกันหากผลักก้อนหินบนพื้นผิวน้ำแข็งที่ขรุขระ เราจะรู้สึกได้ว่าวัตถุนั้นเคลื่อนที่ออกไปได้ยากกว่า นั่นแสดงให้เห็นว่า ผิวสัมผัสระหว่างพื้นน้ำแข็งกับผิวของวัตถุหรือก้อนหินมีผลต่อการเคลื่อนที่ ขณะเดียวกันน้ำหนักของวัตถุที่กดทับลงบนพื้นก็มีผลต่อการเคลื่อนที่เช่นกัน โดยแรงกดจากวัตถุที่มีน้ำหนักมาก จะทำให้ผิวสัมผัสระหว่างพื้นผิวของวัตถุสัมผัสกันมากขึ้น ส่งผลให้วัตถุเคลื่อนที่ได้ยากมากขึ้นหรืออาจกล่าวได้ว่า ในขณะที่ออกแรงผลักก้อนหินให้เคลื่อนที่จะมีแรงต้านหรือแรงเสียดทานเกิดขึ้นในทิศทางตรงข้ามกับแรงที่พยายามจะทำให้วัตถุเกิดการเคลื่อนที่เสมอ  ซึ่งขนาดของแรงเสียดทานจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะของผิวสัมผัส หากผิวสัมผัสเรียบลื่น แรงเสียดทานก็จะมีค่าน้อย ในทางตรงกันข้ามหากพื้นผิวสัมผัสขรุขระหรือไม่เรียบเนียน แรงเสียดทานก็จะมีค่ามาก รวมทั้งแรงที่กดลงบนพื้นผิวสัมผัส หากมีแรงกดมาก แรงเสียดทานก็จะยิ่งมีค่ามาก 

8397 8

ภาพที่ 8 ทิศทางการหมุนของ curling stone เมื่อถูกผลักออกจากตำแหน่งเริ่มต้นในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
ที่มา พรรณพร กะตะจิตต์

      แม้ว่าพื้นผิวของน้ำแข็งจะลื่น แต่ก็ยังคงมีแรงเสียดทานที่ช่วยชะลอการเคลื่อนที่ของก้อนหินให้ช้าลง ซึ่งส่งผลให้ทิศทางเคลื่อนที่ของก้อนหินเบี่ยงเบนจากการเคลื่อนที่ในแนวตรงเป็นการเคลื่อนที่แบบการหมุน โดยก้อนหินหรือสโตนที่หมุนทวนเข็มนาฬิกา ในส่วนครึ่งด้านหน้าของสโตน ทิศทางการเคลื่อนที่จะหมุนไปทางด้านซ้าย และมีแรงเสียดทานมากระทำต่อวัตถุในทิศทางตรงข้าม ในขณะที่ส่วนครึ่งด้านหลังของสโตน ทิศทางการเคลื่อนที่จะหมุนไปทางด้านขวา  ดังนั้นแรงเสียดทานที่กระทำต่อวัตถุหรือก้อนหินจึงอยู่ทางด้านซ้าย สิ่งสำคัญอยู่ที่ขนาดของแรงเสียดทานที่กระทำต่อวัตถุทั้งในส่วนของครึ่งหน้าและครึ่งหลังนั้นจะมีขนาดไม่เท่ากัน นั่นเกิดจากส่วนของครึ่งแรกของก้อนหินที่ถูกผลักจากผู้เล่นและออกตัวก่อน จะมีแรงเสียดทานกระทำมากกว่าส่วนของครึ่งหลังของก้อนหิน และข้อมูลที่น่าสนใจนี้ทำให้ผู้เล่นสามารถควบคุมการหมุนของก้อนหิน เพื่อให้เกิดแรงเสียดทานที่พาก้อนหินออกจากจุดเริ่มต้นไปยังเป้าหมายได้ อย่างไรก็ดีนอกจากการควบคุมการหมุนของก้อนหินแล้ว ผู้เล่นยังต้องควบคุมขนาดของแรงเสียดทานบนพื้นผิวน้ำแข็งด้วย

8397 9

ภาพที่ 9 ตำแหน่งของก้อนหินในแนวตั้งฉาก
ที่มา พรรณพร กะตะจิตต์

       ในความเป็นจริงแล้ว กีฬาเคิร์ลลิงไม่ได้เล่นบนพื้นน้ำแข็งที่เรียบเนียนเช่นการเล่นบอบสเลด (Bobsleding) หรือสเก็ตน้ำแข็ง(Skating) แต่จะเล่นบนพื้นน้ำแข็งที่ถูกปกคลุมไปด้วยก้อนน้ำแข็งขนาดเล็กที่มีความสูงประมาณ 1-2 มิลลิเมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-10 มิลลิเมตรหรือที่เรียกว่า Pebble ice ซึ่งก่อตัวโดยการสเปรย์ละอองน้ำขนาดเล็กลงบนผิวน้ำแข็งที่เรียบเนียนในช่วงเตรียมพื้นที่ก่อนเริ่มเกมการแข่งขัน  เนื่องด้วยพื้นผิวของลานน้ำแข็งที่เรียบเนียนมากเกินไปจะทำให้พื้นผิวของแถบวงแหวนด้านล่างของก้อนหิน (Running band) สัมผัสกับผิวน้ำแข็งมากขึ้นเป็นผลให้น้ำหนักของหินกดลงบนพื้นน้ำแข็งได้มาก ดังนั้นการมีหยดน้ำที่แข็งตัวบนพื้นลานน้ำแข็ง จะเป็นการลดแรงกดระหว่างพื้นผิวสัมผัสซึ่งเป็นการลดแรงเสียดทานที่ช่วยให้ผู้เล่นสามารถควบคุมการเคลื่อนที่และทิศทางของก้อนหินได้

8397 10

ภาพที่ 10 แสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของก้อนหินในลักษณะของการหมุนทวนเข็มนาฬิกาบนลานน้ำแข็ง
ที่มา พรรณพร กะตะจิตต์

        นอกจากนี้ในเกมการแข่งขัน การถูพื้นน้ำแข็งในระหว่างเกมการเล่นก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการสำคัญที่ผู้เล่นใช้เพื่อควบคุมแรงเสียดทานของพื้นน้ำแข็ง เนื่องจากการถูพื้นน้ำแข็งบริเวณด้านหน้าของก้อนหินจะเป็นการทำความสะอาดและขจัดสิ่งสกปรกหรือเศษซากที่ติดบนพื้นน้ำแข็งที่อาจเกิดขึ้นระหว่างเกมและเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนที่ของก้อนหิน และที่สำคัญการถูพื้นน้ำแข็งเป็นการเพิ่มอุณหภูมิของพื้นผิวของน้ำแข็งและช่วยลดแรงเสียดทานระหว่างก้อนหินและผิวน้ำแข็ง ทำให้ก้อนหินหมุนตัวน้อยลงและเลื่อนไปได้ตรงเป้าหมายมากขึ้น  ทั้งนี้ผู้เล่นที่ทำหน้าที่ในการถูพื้นน้ำแข็งต้องมีความแข็งแรงและมีกล้ามเนื้อแขน หลัง และลำตัวที่ดีจึงจะสามารถกดอุปกรณ์ลงบนพื้นและถูพื้นน้ำแข็งเพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางของก้อนหินได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดีเห็นได้ชัดว่า ฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับกีฬาเคอร์ลิงอาจกลายเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อนเมื่อพยายามอธิบายถึงปัจจัยหลายประการที่มีผลต่อการเล่น

แหล่งที่มา

Curling.
      Retrieved March 21, 2018, 
      from https://en.wikipedia.org/wiki/Curling

History of Curling.
      Retrieved March 21, 2018, 
      from http://www.worldcurling.org/history-of-curling

DINA SPECTOR.  (2014, February 15). Why curlers sweep the ice.
     Retrieved March 21, 2018, 
     from https://www.businessinsider.com.au/why-curlers-sweep-the-ice-2014-2?r=UK&IR=T

The Physics Of Curling.
     Retrieved March 21, 2018, 
     from https://www.real-world-physics-problems.com/physics-of-curling.html

Carlos Casanueva. (2014, March 28). Curling the path of a curling stone.
     Retrieved March 21, 2018, 
     from https://mappingignorance.org/2014/03/28/curling-path-curling-stone/

MICHAEL BROWN. (2017, December 5). Ice scientist puts new spin on why curling rocks curl.
     Retrieved March 22, 2018, 
     from https://www.folio.ca/ice-scientist-puts-new-spin-on-why-curling-rocks-curl/

Norikazu Maeno. Dynamics and curl ratio of a curling stone. Sports Eng. 2014.17; 33–41

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
เคิร์ลลิง, Curling, กีฬา, การแข่งขัน, วิทยาศาสตร์, ฟิสิกส์, กลศาสตร์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 12 มิถุนายน 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8397 ฟิสิกส์ของกีฬาเคิร์ลลิ่ง (Curling) /article-physics/item/8397-curling
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
เมล็ดมะกล่ำตาหนู...พิษร้ายสุดๆ
เมล็ดมะกล่ำตาหนู...พิษร้ายสุดๆ
Hits ฮิต (47804)
ให้คะแนน
เมล็ดมะกล่ำตาหนู พิษร้ายสุดๆ สุนทร ตรีนันทวัน เนื่องจากมีผู้ที่กินเมล็ดมะกล่ำตาหนูเข้าไป และถึงแก่ค ...
สารพิษ ในหัวกลอย กินแล้วอาจตายได้
สารพิษ ในหัวกลอย กินแล้วอาจตายได้
Hits ฮิต (51211)
ให้คะแนน
สารพิษ ในหัวกลอย กินแล้วอาจตายได้ สุนทร ตรีนันทวัน เมื่อเร็วๆนี้มีข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์เรื่องหนึ่ ...
ใบไม้สีเขียว.....โรงงานอุตสาหกรรม
ใบไม้สีเขียว.....โรงงานอุตสาหกรรม
Hits ฮิต (22638)
ให้คะแนน
ใบไม้สีเขียว.....โรงงานอุตสาหกรรม สุนทร ตรีนันทวัน ผู้ฟังโดยเฉพาะนั กเรียนที่เรียน คงจะเคยได้ยินคำพ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

SciMath ใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้
ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตกลง
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)