logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ฟิสิกส์
  • เหตุใดจึงต้องมีก้อนหินอยู่ใกล้รางรถไฟ

เหตุใดจึงต้องมีก้อนหินอยู่ใกล้รางรถไฟ

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันพุธ, 29 สิงหาคม 2561
Hits
23580

          แม้ว่าหลายคนจะกล่าวว่า การเดินทางโดยรถไฟค่อนข้างอันตราย ถึงอย่างนั้นการโดยสารทางรถไฟก็ยังเป็นหนึ่งในประสบการณ์การเดินทางที่น่าตื่นเต้น เพราะไม่เพียงแค่ได้เห็นภาพวิวทิวทัศน์ที่สวยงามของธรรมชาติสองข้างทาง  แต่ยังได้สัมผัสกับบรรยากาศของชุมชนที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมพื้นเมือง ความงดงามทางศิลปะของวัดวาอารามและสถานที่สำคัญ ตลอดจนรอยยิ้มของผู้คน อย่างไรก็ดีอีกสิ่งหนึ่งที่เกือบจะมองเห็นได้ตลอดเส้นทางรถไฟก็คือ ก้อนหินขนาดเล็กที่อัดแน่นและรองรางรถไฟไว้ เคยสงสัยหรือไม่ว่าเหตุใดจึงมีก้อนหินเหล่านั้นวางอยู่แทบจะตลอดเส้นทาง?

8393 1

ภาพที่ 1 รางรถไฟ
ที่มา https://pixabay.com/th/,annca

          ก้อนหินก้อนเล็ก ๆ ที่เรามองเห็นว่าถูกวางไว้บริเวณรางรถไฟนั้นไม่ได้มีไว้เพื่อประดับตกแต่งให้สวยงาม แต่เป็นหินโรยทาง (Track ballast) ที่ถูกวางไว้ในบริเวณด้านข้างของรางรถไฟ (Railway Tracks) และในระหว่างหมอนรองรางรถไฟ (Railway Sleepers) ทั้งนี้หมอนรองรางรถไฟเป็นวัสดุที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง เหล็กกล้า หรือคอนกรีตอัดแรงที่มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมมุมฉากซึ่งติดเข้ากับรางรถไฟในลักษณะของการวางตั้งฉากกับรางรถไฟที่ทอดตัวยาวขนานกันตามเส้นทาง โดยมีบทบาทช่วยยึดจับรางรถไฟทั้งสองเส้นให้อยู่กับที่และมีระยะที่เท่ากัน อย่างไรก็ตามจุดประสงค์ของการวางหินไว้ตลอดแนวทางรถไฟนั้นเพื่อยึดโครงสร้างของรางรถไฟไว้ให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง

8393 2

ภาพที่ 2 การขนส่งระบบราง
ที่มา https://pixabay.com/th/ ,hpgruesen

          หากลองจินตนาการถึงความท้าทายด้านวิศวกรรมที่ต้องคำนวณการสร้างรางรถไฟแคบ ๆ เพื่อรองรับการวิ่งของยานพาหนะขนาดใหญ่ที่ต้องบรรทุกทั้งผู้โดยสารและหัวรถจักรที่มีน้ำหนักกว่าหลายร้อยตันในระยะทางหลายกิโลเมตรพร้อมกับปัจจัยในเรื่องของการหดและขยายตัวจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ การสั่นสะเทือนของพื้นดิน การชะล้างจากน้ำฝนหรือหิมะ รวมทั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชใต้พื้นดิน  ด้วยปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้การขนส่งระบบรางเป็นเรื่องที่น่าสนใจ

8393 3

ภาพที่ 3 โครงสร้างของรางรถไฟ
ที่มา http://www.khurramhashmi.org/crbasic_info/rts_1.html

การสร้างทางรถไฟเริ่มต้นจากพื้นดินเดิม (Subsoil) ที่ถูกยกพื้นให้สูงขึ้นด้วยวัสดุที่รองรับโครงสร้างของระบบการปูผิวหน้า โดยจะยกให้สูงขึ้นในระดับที่จะไม่เกิดน้ำท่วม ด้านบนของพื้นที่ถูกยกสูงขึ้นนั้นจะถูกปูด้วยหินโรยทางรถไฟก่อนที่จะมีการติดตั้งรางรถไฟและหมอนรองรางรถไฟเข้าด้วยกัน จากนั้นจึงจะเทกลบด้วยหินโรยทางอีกครั้ง หินที่มีลักษณะขอบไม่เรียบจะช่วยยึดรางรถไฟไว้ในตำแหน่งที่มีการคำนวณอย่างแม่นยำแล้วทางวิศวกรรมระบบราง

8393 4

ภาพที่ 4 หินโรยทาง
ที่มา https://pixabay.com/th/ ,maxdziku

         ในความเป็นจริงแล้ว นอกจากหินโรยทางจะทำหน้าที่ยึดรางรถไฟกับหมอนรองรางรถไฟไม่ให้เคลื่อนไปตามพื้นผิวในขณะที่รถไฟที่มีน้ำหนักมหาศาลเคลื่อนผ่านแล้ว ยังช่วยป้องกันผลกระทบที่เกิดจากการหดและขยายตัวของรางรถไฟจากความร้อน การสั่นสะเทือนของพื้นดิน และช่วยถ่วงน้ำหนักไม่ให้รางรถไฟลื่นไถลไปตามกระแสน้ำหรือหิมะในวันที่สภาพอากาศเลวร้าย รวมทั้งป้องกันความเสียหายของหน้าดินในชั้นดินเดิมโดยช่วยในการระบายน้ำรอบตัวรางและใต้รางรถไฟ นอกจากนี้ยังช่วยไม่ให้พื้นดินต่ำลงจากวัชพืชที่เติบโตขึ้นบริเวณรางรถไฟจากข้อมูลข้างต้นหลายท่านคงทราบถึงความสำคัญของหินที่อยู่ในบริเวณรางรถไฟแล้ว ดังนั้นการหยิบก้อนหินโรยทางขึ้นมาขว้างเล่นจึงไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมสำหรับการระบายความเครียด

แหล่งที่มา

Track ballast.
       Retrieved March 15, 2018,
       from https://en.wikipedia.org/wiki/Track_ballast

David S. Rose. (2013, September 27). Why You Always See Crushed Stones Alongside Railroad Tracks.
       Retrieved March 15, 2018,
       from https://gizmodo.com/why-you-always-see-crushed-stones-alongside-railroad-tr-1404579779

Ashish. (2015, September 30). Why Are There Stones Alongside Railway Tracks?
       Retrieved March 15, 2018,
       from https://www.scienceabc.com/pure-sciences/why-are-there-stones-train-ballast-alongside-railway-tracks.html

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
หิน, หินโรยทาง, รางรถไฟ, รถไฟ
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 12 มิถุนายน 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8393 เหตุใดจึงต้องมีก้อนหินอยู่ใกล้รางรถไฟ /article-physics/item/8393-2018-06-01-02-42-58
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
แสงสีน้ำเงินมีโทษหรือประโยชน์กันแน่
แสงสีน้ำเงินมีโทษหรือประโยชน์กันแน่
Hits ฮิต (19329)
ให้คะแนน
เราคงรู้จักแสงสีน้ำเงิน หรือบ้างก็ว่าแสงสีฟ้ากันดีอยู่แล้วจากหลาย ๆ บทความที่มีมากมายอยู่บนโลกอินเท ...
เรื่องสว่าง ๆ ที่หลายคนอาจยังไม่กระจ่างดี ตอนที่ 2
เรื่องสว่าง ๆ ที่หลายคนอาจยังไม่กระจ่างด...
Hits ฮิต (868)
ให้คะแนน
จากในตอนที่แล้ว (บทความเรื่องสว่างๆที่หลายคนอาจยังไม่กระจ่างดี ตอนที่ 1) เราได้ทำความรู้จักกับหลอดไ ...
ปรากฏการณ์อาทิตย์ 3 ดวง
ปรากฏการณ์อาทิตย์ 3 ดวง
Hits ฮิต (36223)
ให้คะแนน
เมื่อปลายปีที่ผ่านมา (ธันวาคม 2560) พบภาพข่าวการเกิดปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ 3 ดวง ในสวีเดน ทำให้อยากจะ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)