logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

รู้จัก รังสีแพทย์

โดย :
ณัฐดนัย เนียมทอง
เมื่อ :
วันพุธ, 22 สิงหาคม 2561
Hits
25846

          ก่อนหน้านี้เราเคยนำเสนอบทความเรื่อง Image Processing กับประโยชน์ทางการแพทย์ ซึ่งบทความดังกล่าว ได้นำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลภาพและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางด้านภาพถ่ายเพื่อการวินิจฉัยทางการแพทย์ไว้อยู่ด้วย ก็เลยทำให้อยากนำเสนอเรื่องราวของกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง และไม่ใช่แค่เกี่ยวกับเรื่องของการประมวลผลภาพเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังเกี่ยวข้องกับศาสตร์เฉพาะทางอย่างด้านรังสีวิทยาอีกด้วย เราเรียกกลุ่มบุคคลกลุ่มนี้ว่า รังสีแพทย์ (radiologist)  

7941 1

ภาพ การวินิจฉัยทางการแพทย์
ที่มา https://pixabay.com, jarmoluk

         รังสีแพทย์ เป็นแพทย์ที่ศึกษาจนจบแพทย์ทั่วไป และผ่านการฝึกฝนจากการเป็นแพทย์อาชีพอย่างน้อย 1 - 3 ปี หลังจากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อเฉพาะทางด้านรังสีวิทยา โดยใช้เวลาศึกษาฉพาะทางนี้เป็นเวลา 3 ปี เพราะฉะนั้นจะมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษเกี่ยวกับเรื่องของรังสีวิทยาและรังสีวินิจฉัย นอกจากนี้ รังสีแพทย์ยังต้องเรียนต่อเพิ่มเติมในอนุสาขาวิชาต่าง ๆ  เพื่อเพิ่มความรู้และความสามารถในการวินิจฉัยและรักษาโรค

        รังสีแพทย์ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีภาพวินิจฉัยต่าง ๆ  อาทิเช่น Computed Tomography (CT) , Magnetic Resonance Imaging (MRI) , Positron Emission Tomography (PET scan) กล่าวคือ สามารถอ่านภาพถ่ายจากการทำตามขั้นตอนที่กล่าวไปข้างต้น โดยสามารถอ่านและวิเคราะห์มองหาโรคในภาพถ่ายแต่ละชนิดได้ เช่นภาพถ่ายจากฟิล์มเอกซเรย์ อัลตราซาวด์เป็นต้น เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยและรักษาของแพทย์หลักที่ทำการรักษาผู้ป่วย

หน้าที่ของรังสีแพทย์

  • เป็นที่ปรึกษาของแพทย์หลัก รังสีแพทย์ช่วยจะเป็นที่ปรึกษาของแพทย์หลักในกรณีการรักษาที่ต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ต้องเกี่ยวข้องกับการประมวลผลภาพทางด้านรังสีวิทยา แพทย์รังสีจะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกการตรวจภาพวินิจฉัยที่เหมาะสม และแปลผลภาพวินิจฉัยเพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำสำหรับการรักษาขั้นต่อไป
  • รักษาโรคโดยใช้เทคนิคภาพวินิจฉัยนำทางโดยไม่ต้องผ่าตัด เรียกสาขานี้ว่า interventional radiology
  • เปรียบเทียบภาพวินิจฉัยกับการตรวจวินิจฉัยด้วยเทคนิคอื่น ๆ
  • แนะนำวิธีการตรวจวินิจฉัย และการรักษาที่อาจเหมาะสม

รังสีแพทย์ แบ่งสาขาได้อีก 4  สาขาดังนี้

  • รังสีแพทย์ หรือที่รู้จักกันดีในนามหมอเอกซเรย์ มีหน้าที่วินิจฉัยโรคจากผลการตรวจโดยการใช้เครื่องมือทางการแพทย์
  • รังสีรักษา รักษาผู้ป่วยมะเร็งโดยอาศัยรังสีชนิดต่าง ๆ ในการทำลายมะเร็ง
  • เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ทำงานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีที่นำมาใช้ในการรักษาโรคและการวินิจฉัยต่าง ๆ
  • รังสีร่วมรักษา ใช้เครื่องมือทางรังสีวินิจฉัยมาเป็นตัวนำทางเพื่อเข้าไปทำการรักษาโรคในอวัยวะต่าง ๆ

       รังสีแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาจนเชี่ยวชาญ จะได้รับการฝึกฝนความรู้และประสบการณ์ในการให้การวินิจฉัย อีกทั้งยังมีหน้าทีรองคือ ทำหน้าที่เป็นผู้วิจัยและแสวงหาแนวทางการรักษาใหม่ ๆ อยู่เสมอ 

       นอกจากนี้ในวิชาชีพด้านรังสีวิทยา กลุ่มบุคคลที่รังสีแพทย์จะต้องทำงานร่วมด้วยนั้นก็มีความสำคัญไม่น้อย โดยเฉพาะนักรังสีเทคนิคหรือพนักงานรังสีเทคนิค ซึ่งมีหน้าที่ร่วมกับรังสีแพทย์ในการตรวจและดูแลผู้ป่วย รวมไปถึงนักฟิสิกส์ผู้ช่วยสำคัญที่คอยให้ความช่วยเหลือในการดูแลความปลอดภัยของการใช้รังสีอีกด้วยและช่วยให้การรักษาโรคโดยเฉพาะการฉายแสงรักษามะเร็ง ทำได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย

แหล่งที่มา

รังสีวิทยา. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561, จาก 
       https://th.wikipedia.org/wiki/รังสีวิทยา

รังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย. รังสีแพทย์คือใคร.สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561, จาก  
       http://www.radiologythailand.org/content/25

รังสีแพทย์คือใคร.  สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561, จาก  
        http://thairadiologist.org/work/

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
แพทย์, รังสีแพทย์, รังสี, เอ๊กซเรย์, อัลตราซาวด์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 04 มิถุนายน 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณัฐดนัย เนียมทอง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7941 รู้จัก รังสีแพทย์ /article-physics/item/7941-2018-03-20-04-35-48
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
เนบิวลาคืออะไร
เนบิวลาคืออะไร
Hits ฮิต (103283)
ให้คะแนน
หลากหลายความสวยงามที่ปรากฏอยู่บนท้องฟ้าที่ไกลสุดลูกหูลูกตาอย่างอวกาศ “เนบิวลา” (Nebula) เป็นอีกหนึ่ ...
แสงเหนือ-แสงใต้(Aurora)
แสงเหนือ-แสงใต้(Aurora)
Hits ฮิต (136833)
ให้คะแนน
แสงเหนือ-แสงใต้(Aurora) เป็น ปรากฏการณ์ที่ปรากฏเป็นแนวแสงสว่างสีต่างๆ บนท้องฟ้ายามค่ำคืน รูปร่างคล้ ...
รู้จักกับเมฆจานบิน
รู้จักกับเมฆจานบิน
Hits ฮิต (22903)
ให้คะแนน
ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ปรากฏอยู่บนท้องฟ้า สร้างความสวยงามและประหลาดใจอยู่เสมอ เราเคยนำเสนอเรื่องราวเก ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

SciMath ใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้
ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตกลง
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)