logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเปิดประตูเครื่องบินในระหว่างเที่ยวบิน

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันพุธ, 15 พฤศจิกายน 2560
Hits
21298

 

          เสียงประกาศความปลอดภัยบนเครื่องบิน เป็นสิ่งที่ผู้โดยสารทุกคนจะต้องได้ยินทุกครั้งสำหรับการโดยสารด้วยเครื่องบินในทุกสายการบิน

“ท่านผู้โดยสารคะ ต่อไปนี้พนักงานต้อนรับจะสาธิตวิธีการใช้หน้ากากออกซิเจน ความดันอากาศในเครื่องบินนี้ ได้ถูกปรับไว้อย่างเหมาะสมแล้ว แต่หากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น หน้ากากออกซิเจนจะหล่นลงมาโดยอัตโนมัติ สวมหน้ากากครอบปากและจมูกของท่าน ดึงสายรัดให้แน่น และหายใจตามปกติค่ะ …”

เสียงอันไพเราะและฟังง่ายของแอร์โฮสเตสทำให้เราเข้าใจได้ไม่ยาก เว้นเสียแต่ว่าเราจะไม่ได้ใส่ใจคำแนะนำเหล่านั้น  ซ้ำยังต้องปฏิบัติจริงในสถานการณ์ที่มีความดันอากาศลดลงอย่างรวดเร็วที่ความสูงกว่า 30,000 ฟุต

7567 1

ภาพที่ 1 การโดยสารโดยเครื่องบิน
ที่มา Omar Prestwich/unsplash

          ความดันอากาศที่ลดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่คาดคิดในสภาพแวดล้อมปิดเช่นบนเครื่องบินนั้น สามารถเกิดขึ้นได้หากประตูเครื่องบินถูกเปิดออกในระหว่างเที่ยวบินหรือการที่หน้าต่างเครื่องบินถูกทำลายจนเสียหาย  ซึ่งหลายคนคงนึกถึงเหตุการณ์โจรกรรมเครื่องบินอย่างในภาพยนตร์  แต่อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วความดันอากาศที่ลดลงอย่างไม่สามารถควบคุมได้นี้อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องด้วยความไม่ความสมบูรณ์ของโครงสร้างของเครื่องบินหรือการซ่อมแซมที่ไม่ดีพอ

          หากว่าประตูเครื่องบินถูกเปิดออกในระหว่างเที่ยวบินขึ้นมาจริงๆ  ผู้โดยสารที่อยู่ใกล้บริเวณประตูจะถูกขับออกนอกตัวเครื่องบิน  อุณหภูมิในห้องโดยสารจะลดลงอย่างรวดเร็วจนถึงในระดับที่สามารถกระตุ้นให้เกิดสภาวะฟรอสไบท์ (Frostbite) หรืออาการที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อในร่างกายถูกทำลายจากอุณหภูมิที่เย็นจัดได้ ซึ่งจะเริ่มที่อาการแสบระคายเคืองที่ผิวหนัง จากนั้นผิวสีแดงจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีขาวซีดร่วมกับการมีแผลพอง ผิวหนังจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำ จนในที่สุดเนื้อเยื่อจะตายจากการถูกทำลายเนื้อเยื่อในทุกชั้นผิว

7567 2

ภาพที่ 2 ลักษณะของผลกระทบจากอุณหภูมิที่ลดลงต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อในร่างกาย
ที่มา The Mayo Clinic

          ในระหว่างที่ความดันอากาศลดลง  ส่วนใหญ่แล้วคนเราจะยังพอมีสติอยู่ในระหว่าง 15 – 20 วินาที อาจฟังดูเป็นเวลาที่มากพอจะดึงหน้ากากออกซิเจนมาใช้ และจัดการหน้ากากออกซิเจนนั้นให้กับเด็กที่นั่งอยู่ด้านข้าง แต่ด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น เวลาที่มีอาจไม่เพียงพอที่จะตั้งสติได้

          ช่วงเวลาที่ต้องอยู่ภายในห้องโดยสารที่มีความดันอากาศลดลงอย่างรวดเร็ว จะทำให้ลิ้นถูกกลืนลงไปอยู่ในลำคอภายในเวลาไม่กี่วินาที
มีอาการปวดหูอย่างรุนแรง รวมทั้งมีอาการเสียวฟันที่สุดแสนจะทรมาน ซึ่งหากคุณไม่สามารถออกจากสถานการณ์ตรงนั้นได้  ความเสี่ยงต่อมาที่จะต้องเผชิญก็คือ การขาดออกซิเจน (Hypoxia)  ร่างกายที่ขาดออกซิเจนจะนำไปสู่อาการวิงเวียนศีรษะ หมดสติ มีอัตราการเต้นของหัวใจลดลง และเสียชีวิตในที่สุด นี่จึงเป็นเหตุผลที่หน้ากากออกซิเจนหล่นลงมาตรงหน้าของคุณอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และสิ่งสำคัญก็คือผู้โดยสารจะต้องใช้มันจนกว่านักบินจะสามารถพาเครื่องบินไปอยู่ในเพดานบินที่ทุกคนบนเครื่องจะสามารถหายใจเองได้

          แต่ผู้โดยสารที่ต้องใช้บริการยานพาหนะชนิดนี้บ่อยๆ ไม่ต้องกังวลใจจนเกินไป  เนื่องด้วยเหตุผลของความแตกต่างของแรงดันอากาศระหว่างภายนอกและภายในห้องโดยสาร ไม่มีทางที่แรงของร่างกายมนุษย์ธรรมดาจะสามารถเปิดประตูเครื่องบินได้กลางเที่ยวบิน  สำหรับหน้าต่างเครื่องบินด้วยเช่นกัน  ได้รับการออกแบบมาเพื่อทนต่อแรงกดดันจากภายนอก แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะแตกออกจากการทุบทำลายของมนุษย์ เว้นเสียแต่ว่าจะถูกทำลายด้วยอาวุธที่ร้ายแรงเช่นสถานการณ์ควานรุนแรงบนเครื่องบินที่เห็นกันในภาพยนตร์

แหล่งที่มา

Here's what would happen if someone opened the door on a plane mid-flight.  สืบค้นวันที่ 26 สิงหาคม 2560. จาก
           http://www.independent.co.uk/news/science/open-plane-door-mid-flight-a7866616.html

What happens when a plane loses cabin pressure?.  สืบค้นวันที่ 26 สิงหาคม 2560. จาก
           http://www.telegraph.co.uk/travel/travel-truths/what-happens-when-a-plane-loses-cabin-pressure/

Frostbite symptoms. สืบค้นวันที่ 26 สิงหาคม 2560. จาก
          http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/frostbite/basics/symptoms/con-20034608

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
สภาวะฟรอสไบท์,Frostbite,ความดันอากาศ,ฟิสิกส์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7567 สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเปิดประตูเครื่องบินในระหว่างเที่ยวบิน /article-physics/item/7567-2017-10-17-01-38-08
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    Frostbite สภาวะฟรอสไบท์ ความดันอากาศ ฟิสิกส์
คุณอาจจะสนใจ
รถเด็กเล่นกับพลังงานที่ซ่อนอยู่
รถเด็กเล่นกับพลังงานที่ซ่อนอยู่
Hits ฮิต (33724)
ให้คะแนน
ถ้าถามถึงของเล่นในวัยเด็กของใครหลาย ๆ คน คงไม่มีใครไม่รู้จัก รถเด็กเล่น ในลักษณะที่เรียกว่า “รถเข็น ...
James Clerk Maxwell หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ผู้ทรงอิทธิพลที่สุด ...
James Clerk Maxwell หนึ่งในนักวิทยาศาสตร...
Hits ฮิต (3064)
ให้คะแนน
James Clerk Maxwell เกิดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2374 งานของเขาเกี่ยวข้องกับแม่เหล็ก ไฟฟ้า และแ ...
อุณหภูมิในหน่วย “เคลวิน”
อุณหภูมิในหน่วย “เคลวิน”
Hits ฮิต (2448)
ให้คะแนน
วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2367 เป็นวันคล้ายวันเกิดของ William Thomson, 1st Baron Kelvin นักฟิสิกส์และ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)