logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

อันตราย ไฟฟ้าแรงสูง สูงแค่ไหน

โดย :
พรทิพย์ สวัสดิ์พานิช
เมื่อ :
วันอังคาร, 12 กันยายน 2560
Hits
27367

           ฤดูฝนเป็นช่วงที่มีสถิติการเกิดอุบัติภัยไฟฟ้าแรงสูงบ่อยครั้ง เนื่องจากมีพายุลมแรง และฝนตกหนัก ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดเสาไฟฟ้าล้มและสายไฟฟ้าขาด การเรียนรู้วิธีป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงและการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องและปลอดภัยเมื่อเกิดอุบัติภัยจากไฟฟ้าแรงสูง จะช่วยลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดขึ้นได้

7421 1

ภาพที่ 1 สายไฟ้ฟ้าแรงสูง
ที่มา https://tech.mthai.com

          ไฟฟ้าเป็นพลังงานชนิดหนึ่ง ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายไฟฟ้าสูงเกินกว่า 1,000 โวลต์ขึ้นไป เราเรียกว่า ไฟฟ้าแรงสูง ทั้งนี้ไฟฟ้าแรงสูงมีทั้งประโยชน์และโทษ การส่งกระแสไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพเพื่อการส่งกระแสไฟฟ้าไปยังพื้นที่ห่างไกล เช่น พื้นที่ต่าง ๆ ในต่างจังหวัด จำเป็นต้องส่งด้วยระบบไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งนับเป็นข้อดีของไฟฟ้าแรงสูง ในขณะเดียวกันข้อเสียก็สร้างความสียหายอย่างมหาศาล สมคำว่าไฟฟ้าแรงสูงกันเลยทีเดียว

          ไฟฟ้าแรงสูงมีแรงดันไฟฟ้าที่สูงมาก โดยปกติระบบไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้านครหลวงจ่ายไฟฟ้า ตั้งแต่ 12,000 โวลต์ ถึง 115,000 โวลต์ เป็นส่วนใหญ่ หากเทียบกับไฟฟ้าแรงต่ำที่เราใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้านทั่วไป (220 โวลต์) ถือว่ามีแรงดันสูงมากที่จะทำให้ไฟฟ้าแรงสูงสามารถกระโดดข้ามอากาศ หรือฉนวนไฟฟ้าเข้าหาวัตถุ หรือสิ่งมีชีวิตได้โดยไม่ต้องสัมผัส หรือแตะสายไฟ

          เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากสายไฟฟ้าแรงสูง เราจึงควรรู้ว่าสายไฟฟ้าแรงสูงมีลักษณะอย่างไร ซึ่งมีวิธีสังเกตง่าย ๆ คือ สายที่มีฉนวนไฟฟ้าลักษณะเป็นถ้วยคว่ำ เรียกว่า ลูกถ้วยคว่ำ ทำจากกระเบื้องขึงตรึงไว้ และจะอยู่สูงจากพื้นดินระยะ 9 เมตรขึ้นไปโดยส่วนใหญ่นั้นสายไฟฟ้าแรงสูงจะไม่มีฉนวนหุ้ม หรือถ้ามีก็หุ้มบาง ๆ เท่านั้น มีการพันทับด้วยสายชีลด์ (Shield) หากวัตถุนั้นอยู่ในระยะอันตราย ซึ่งระยะอันตรายนี้ขึ้นอยู่กับระดับแรงดันไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้ายิ่งสูง ระยะที่ไฟฟ้าสามารถกระโดดข้ามได้ก็ยิ่งไกล ไฟฟ้าแรงสูงจึงมีอันตรายมาก

มาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยจากสายไฟฟ้าแรงสูง

          ระยะห่างระหว่างสายกับ อาคาร/สิ่งปลูกสร้าง/ป้ายโฆษณา

          มาตรฐานระยะห่างในแนวนอนที่ปลอดภัยระหว่าง อาคาร/สิ่งปลูกสร้าง หรือป้ายโฆษณากับสายไฟฟ้าแรงสูงมีการกำหนดไว้ดังนี้

7421 2

ภาพที่ 2 ระยะห่างสายไฟฟ้าแรงสูงกับอาคาร/ป้ายโฆษณา 

ที่มา https://tech.mthai.com/tips-technic/41944.html

          หมายเหตุ: ระยะดังกล่าวระยะดังกล่าวไม่ครอบคลุมการทำงานนอกตัวอาคาร หรือบนระเบียงเปิด อาจมีการยื่นวัตถุออกนอกตัวอาคารซึ่งจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยสำหรับการทำงานหรือจะต้องมีการหุ้ม หรือคลุมสายเพื่อความปลอดภัย

ระยะห่างระหว่างสายกับผู้ปฏิบัติงาน/เครื่องมือกล

          ระยะห่างระหว่างสายกับผู้ปฏิบัติงาน/เครื่องมือกล มาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยของการทำงานใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงสำหรับบุคคล หรือผู้ปฏิบัติงานถึงอุปกรณ์หรือเครื่องมือกลทุกชนิด เช่น ปั้นจั่น รถเครน หรือวัตถุที่ถืออยู่ในมือ จะต้องอยู่ห่างจากส่วนที่มีไฟฟ้าแรงสูงไม่น้อยกว่าระยะดังต่อไปนี้ ระยะห่างที่ปลอดภัย (เมตร)

7421 3

 

ภาพที่ 3 ระยะห่างระหว่างสายกับผู้ปฏิบัติงาน/เครื่องมือกล

ที่มา https://tech.mthai.com/tips-technic/41944.html

 

          หมายเหตุ: หากบริเวณที่ต้องการปฏิบัติงานมีระยะห่างที่ต่ำกว่ามาตรฐานจะต้องแจ้งให้การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการหุ้มหรือคลุมสายก่อนลงมือทำงาน

          อุบัติเหตุจากไฟฟ้าแรงสูงส่วนใหญ่เกิดขึ้นในขณะทำงานใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูงโดยมีสาเหตุมาจากความประมาทดังนั้นเราควรเรียนรู้ เข้าใจ และปฎิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับการทำงานต่าง ๆ ที่ต้องเกี่ยวกับไฟฟ้าเป็นอย่างยิ่ง

แหล่งที่มา

ความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าแรงสูง.สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2560.จาก https://tech.mthai.com/tips-technic/41944.html.

การไฟฟ้านครหลวง.ข้อควรทราบเกี่ยวกับไฟฟ้าแรงสูง.สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2560.จาก http://www.mea.or.th/profile/123/311.

 

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ไฟฟ้า, ไฟฟ้าแรงสูง , เสาไฟฟ้า, อันตราย ,อุบัติภัย
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
พรทิพย์ สวัสดิ์พานิช
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7421 อันตราย ไฟฟ้าแรงสูง สูงแค่ไหน /article-physics/item/7421-2017-08-08-07-52-59
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)