Li-Fi อินเทอร์เน็ต จากหลอดไฟ!
เชื่อว่าปัจจุบันนี้ อินเทอร์เน็ต ได้กลายมาเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบปัจจัยในการดำรงชีวิตเสียแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสถานที่แห่งไหน ก็จะมีแหล่งบริการคอยให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่เสมอ อาจยังไม่มีบางพื้นที่ที่ไปไม่ถึง แต่การพัฒนาขององค์กรต่างๆเพื่อให้คลอบคลุมทุกพื้นที่ ก็ยังคงพยายามกันอย่างไม่ลดละ
แน่นอนว่าเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถเชื่อมต่อหรือเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ฉับไวยิ่งขึ้น หรือสะดวกยิ่งขึ้นก็ถูกพัฒนาในทุกๆ ในอดีตยุคเริ่มแรกก็เป็นการส่งสัญญาณผ่านสายโทรศัพท์บ้าน ต่อมาก็มีการส่งสัญญาณผ่าน Router และให้ Router เป็นตัวกระจายสัญญาณ Wi-Fi ออกไป เพื่อให้อุปกรณ์หลากหลายองค์กรสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้พร้อมๆกันในเวลาเดียวกัน
นอกจากนี้ก็ยังมีบริการอินเทอร์เน็ต Edge , 3G , 4G ที่กลุ่มผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือได้ทำโปรโมชั่นต่างๆมาขายให้กับลูกค้า ทั้งยังมีการติดตั้งเสาสัญญาณกระจายสัญญาณ Wi-Fi ให้กับกลุ่มลูกค้าต่างๆด้วยเช่นกัน
เชื่อว่า “Wi-Fi” คำๆนี้ คงเป็นคนที่ เกือบทุกคนคุ้นเคยกันดีอย่างแน่นอน
Wi-Fi ย่อมาจาก wireless fidelity เป็นชื่อที่ถูกเรียกแทน การสื่อสารมาตรฐานเครือข่ายไร้สาย IEEE 802.11 เพื่อใช้ในระบบเครือข่ายไร้สาย WLAN (Wireless Local Area Network) โดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุ RF และคลื่นอินฟราเรด ในการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องผ่านทางอากาศ ทะลุกำแพง เพดาน หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ซึ่งทั้งคลื่นวิทยุและคลื่นอินฟราเรดต่างก็มีรากฐานมาจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้นเอง
รู้จัก “Wi-Fi” แล้ว , รู้จัก “Li-Fi ” หรือเปล่า?
Li-Fi คิดว่าบางคนอาจรู้จักบ้างแล้ว หรือบ้างคนอาจเคยได้ยินผ่านหูมาบ้าง และบางคนอาจไม่เคยรู้จักเลย วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกันว่า เจ้า เทคโนโลยี Li-Fi นี้ คืออะไรกันแน่ แล้วแตกต่างจาก Wi-Fi ตรงไหน
Li-Fi มาจากคำว่า Light Fidelity คือเทคโนโลยีไร้สายที่ทำงานโดยมีหลักการทำงานผ่านการส่งสัญญาณด้วยแสง ซึ่งจะใช้แค่ตัวหลอดไฟ LED ในการส่งสัญญาณเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า ไม่ว่าจะไปที่ใด ขอแค่มีเพียงความสว่างจากหลอดไฟก็จะสามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตได้ทันที โดยรับส่งข้อมูลผ่านการเปลี่ยนแปลงค่าความสว่าง หรือ Amplitude ของแสง visible light (แสงที่มองเห็นได้ด้วยตา) ในช่วง 400 และ 800 THz
การดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยี Li-Fi
- การทดลองจริงครั้งแรก
ศาสตราจารย์ Harald Hass ได้ทดลองได้ที่ความเร็ว 1 Gbps
เร็วขนาดไหน : 1 Gbps เทียบเท่ากับการโหลดข้อมูลขนาด 1 GB ให้เสร็จได้ภายในเวลา 1 วินาทีเท่านั้น หรือถ้าจะให้เปรียบเทียบกับ Wi-Fi ตามบ้านที่มีความเร็วที่ 10 Mbps นั้นคือ Li-Fi เร็วเป็น 100 เท่าของ Wi-Fi นั้นเอง นอกจากนี้รู้ไหมว่า เทคโนโลยี 4G LTE ที่เราใช้กันในปัจจุบัน มีเป้าหมายการพัฒนาความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 1000 Mbps (ซึ่งปัจจุบันยังผลิตไปไม่ถึง) แต่การทดลองจริงครั้งแรกของ Li-Fi สามารถเร็วได้เท่ากับค่าในอุดมคติของ 4G LTE เลยทีเดียว
- ปัจจุบัน
แน่นอนว่าการพัฒนาระบบยังคงมีสืบต่อกันมาเรื่อยๆ โดยล่าสุดทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Oxford, Cambridge , Edinburgh , St Andrews และ Strathclyde ณ เวลานี้สามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 10.5 Gbps โดยได้จากการส่งข้อมูลผ่าน visible light 3 สี หลักๆได้แก่ สีแดง , สีเขียว และ สีน้ำเงิน อย่างละ 3.5 Gbps นั้นเอง นับว่าเป็นความเร็วสูงในระดับที่ Wi-Fi หรือ 4G LTE ตามไม่ทันเลยทีเดียว
- อุดมคติ
แน่นอนดั่งเช่น 4G LTE ที่มีค่าในอุดมคติอยู่ที่ 1000 Mbps , สำหรับ Li-Fi ในการทดลองในห้อง Lab ของ Oxford นั้นมีค่าในอุดมคติอยู่ที่ 224 Gbps หรือเทียบเท่ากับ 250 เท่าของ Ultra Highspeed internet เลยทีเดียว
ข้อจำกัดของ Li-Fi
แม้จะเป็นเทคโนโลยีที่นับว่าสุดยอดมากก็ตาม แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่ นั้นคือโดยปรกติแล้ว Wi-Fi ใช้คลื่นวิทยุในการส่งข้อมูล ทำให้มันมีความสามารถในการผ่านเครื่องกันขว้างได้บ้าง แต่สำหรับ Li-Fi ที่ใช้แสง หากมีสิ่งมาปกคลุมทำให้แสงเข้าไปไม่ถึง การเชื่อมต่อก็จะขาดไปเช่นกัน
เนื้อหาจาก
http://www.axrtek.com/how-does-liFi-work.html
http://engineerpal.com/li-fi-a-wireless-technology/
https://www.bbvaopenmind.com/en/li-fi-the-new-frontier-in-communications/
http://www.techblog.in.th/2013/10/30/lifi-researcher-announce-speed-breakthrough-10-gbs/
http://www.semi-journal.com/รู้จักกับ-li-fi /
ภาพจาก
http://www.axrtek.com/how-does-liFi-work.html
http://engineerpal.com/li-fi-a-wireless-technology/
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.
Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved.
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)