logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

Rosalyn Yalow นักฟิสิกส์สตรีพิพิชิตรางวัลโนเบลแพทย์ศาสตร์ประจำปี ค.ศ. 1977

โดย :
ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน
เมื่อ :
วันอังคาร, 10 พฤษภาคม 2565
Hits
83

RIA 001

Rosalyn S. Yalow
ที่มา: http://cdn.history.com/sites/2/2014/01/U1914123.jpg

 

           Rosalyn S. Yalow คือผู้พิชิตรางวัลโนเบลชสาขาแพทย์ศาสตร์ประจำปีค.ศ. 1977 ร่วมกับ Roger Guillemin และ Andrew Schally ด้วยผลงานการประดิษฐ์เทคนิค Radioimmunoassay (RIA) ที่ได้ปฏิรูปวิธีวิเคราะห์โรคโดยแพทย์อย่างมโหฬาร ทั้ง ๆ ที่เธอสำเร็จการศึกษาด้านฟิสิกส์และได้เรียนชีววิทยามาค่อนข้างน้อย แต่เมื่อเธอทำงานวิจัยสาขาฟิสิกส์การแพทย์ เธอกลับรู้วิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ดีกว่าและมากกว่าแพทย์อาชีพหลายคน

เทคนิค RIA ที่เธอคิดสร้างเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ใช้อะตอมของธาตุกัมมันตรังสีในการวัดความเข้มข้นที่น้อยนิดของสารแปลกปลอมที่มีในร่างกาย ซึ่งสารดังกล่าวได้แก่ ฮอร์โมน ขาเสพติด วิตามิน หรือแม้แต่ไวรัสที่กำลังคุกคามชีวิต การติดตามการกระจัดกระจายของอะตอมธาตุกัมมันตรังสีในร่างกายในสามมิติ และการเห็นการสลายตัวของธาตุก้มมันตรังสีในบริเวณที่เป็นเนื้อร้าย รวมถึงการติดตามการไหลเวียนของเลือดในร่างกายคนไข้สามารถทำให้แพทย์มีข้อมูลที่ช่วยให้รู้วิธีรักษา รวมถึงการใช้ยาที่เหมาะสมสำหรับคนไข้และช่วยวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้คนข้ป่วยเป็นโรคด้วย

Rosalyn Yalow เกิดเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ปี ค.ศ. 1921 ที่ New York City ในครอบครัวที่มีเชื้อชาติยิว แม้บิดามารดาจะไม่ได้รับการศึกษาที่สูงถึงระดับมหาวิทยาลัย แต่คนทั้งสองก็ได้ผลักดันลูกสาว Rosalyn ให้รักการเรียน ตั้งแต่มีอายุยังน้อยในวัยเด็ก Rosalyn ชอบเรียนเคมีมาก เพราะรู้สึกว่าครูที่สอนเคมีเป็นครูที่สอนหนังสือดี และเป็นคนใจดี จึงทำให้เธอรักครูท่านนี้ แต่เมื่อมารดาแนะนำให้เลือกอาชีพครูเธอกล่าวปฏิเสธ และบอกแม่ว่าเธอต้องการจะเป็นนักวิทยาศาสตร์มากกว่า โดยเฉพาะนักฟิสิกส์นิวเคลียร์ เพราะเธอ มี Marie Curie เป็นนักวิทยาศาสตร์ในดวงใจ และต้องการเจริญรอยตาม

            เมื่ออายุ 20 ปี Rosalyn สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์จาก Hunter College ซึ่งเป็นวิทยาลัยสำหรับสตรี และเป็นบัณฑิตสตรีสาขาฟิสิกส์คนแรกของวิทยาลัยจากนั้นได้คิดจะเรียนต่อระดับปริญญาโทและเอก แต่ต้องประสบอุปสรรคมากมายเช่น ถูกตั้งข้อรังเกียจว่าเป็นคนเชื้อชาติยิว และฟิสิกส์ที่เธอต้องการจะเรียนเป็นวิชาที่เหมาะสำหรับผู้ชายเท่านั้น ประจวบในช่วงเวลานั้นใกล้จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วชายอเมริกันจำนวนมากได้ถูกเกณฑ์เข้ารับราชการทหาร มหาวิทยาลัยจึงมีนิสิตเข้าเรียนน้อย ดังนั้นเมื่อเธอสมัครเรียน มหาวิทยาลัย Illinois ก็ตอบรับทันที เธอจึงได้ไปเรียนที่ Urbana-Champaign และเป็นนิสิตสตรีเพียงคนเดียวท่ามกลางนิสิตชาย 399 คน

            ความมุ่งมั่น ความตั้งใจ และสติปัญญาที่เยี่ยมยอดทำให้ Rosalyn สามารถเรียนได้เกรด A ทุกวิชา เมื่ออายุ 22 ปี เธอได้เข้าพิธีสมรสกับ Aaron Yalow ซึ่งเป็นเพื่อนนิสิตปริญญาเอกที่กำลังเรียนที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน ในการทำวิทยานิพนธ์เธอมีอาจารย์ที่ปรึกษาคือ Maurice Goldhaber (ผู้พบการสลายตัวของนิวเคลียสโดยรังสีเอ็กซ์ และรังสีแกมมาพลังงานสูง และยังเป็นผู้พบการสลายตัวของนิวเคลียสธาตุ lithium, boron กับ nitrogen โดยอนุภาคนิวตรอนด้วย) ในปี ค.ศ. 1945 Rosalyn วัย 24 ปี สำเร็จการศึกษาฟิสิกส์ระดับปริญญาเอกโดยมีความเชี่ยวชาญด้านกัมมันตรังสี จากนั้นได้ไปฝึกงานที่ห้องปฏิบัติการ Federal Telecommunications Laboratory ในตำแหน่งผู้ช่วยวิศวกร เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี เธอก็พบว่า งานที่เธอทำ เป็นงานที่ไม่สร้างสรรค์เลย คือค่อนข้างจำเจ จึงขอลาออกไปสมัครเป็นอาจารย์สอนฟิสิกส์ที่ Hunter College ที่เธอเคยเรียน ส่วนสามีได้งานทำที่โรงพยาบาล Montefiore ซึ่งตั้งอยู่ที่ Bronx ใน New York

            วันหนึ่งเพื่อนคนหนึ่งของสามีได้แวะมาเยี่ยมการสนทนากับเธอทำให้เขารู้สึกประทับใจในความสามารถทางวิชาการของเธอมาก จึงพูดจูงใจให้ Rosalyn ไปทำงานเป็นนักวิจัยด้านรังสีบำบัดที่โรงพยาบาล Bronx Veterans Administration NA Hospital) ในปี ค.ศ. 1947 และทำงานวิจัยเรื่องการพัฒนาเทคนิคการใช้สารกัมมันตรังสีเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ คำเชื้อเชิญนี้ทำให้ Rosalyn ตอบตกลง

            เพราะ Rosalyn แทบไม่มีความรู้ด้านแพทย์ศาสตร์เลย เธอจึงต้องหาผู้ร่วมงานเป็นแพทย์ที่ชอบวิจัย หลังจากที่ได้สนทนากับ Solomon Berson ผู้ไม่มีความรู้ฟิสิกส์มากเช่นกันทั้งสองได้ตกลงใจทำงานร่วมกันในการพัฒนาเทคนิคการใช้Antibody ที่มีอะตอมกัมมันตรังสีมาเกาะติดเพื่อวัดปริมาณAntigen ในร่างกายคน นั่นคือทั้งสองต้องการใช้วิธีวิเคราะห์คนที่เป็นโรคต่อม thyroid อักเสบ ด้วยการฉีดอะตอมกัมมันตรังสีเข้าไปในเส้นเลือดของผู้ป่วย แล้วติดตามเส้นทางการเคลื่อนที่และการสลายตัวของอะตอมกัมมันตรังสีนั้น

            ในเวลาต่อมา I. Arthur Missky ได้แนะนำให้ Rosalyn และ Berson ใช้เทคนิคกัมมันตรังสีวิเคราะห์คนที่เป็นโรคเบาหวานว่าเกิดจากการสลายตัวอย่างรวดเร็วเกินไปของฮอร์โมน insulin โดย enzyme ชนิด insulinase ว่าเป็นไปได้หรือไม่

            ณ เวลานั้นวงการแพทย์มี insulin ที่บริสุทธิ์ 100% ใช้แล้ว Rosalyn กับ Berson จึงทดลองฉีด insulin ที่สกัดได้จากสัตว์ และมีอะตอมกัมมันตรังสีกะติดอยู่เข้าในร่างกายคนไข้ และได้พบว่า insulin จะสลายตัวอย่างซ้ำ ๆ ทั้งสองจึงคิดว่าคงเกิดจากการที่ร่างกายสร้าง antibody ซึ่งจะไปยึดติดกับ insulin เพราะ antibody เป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ จึงเป็นเรื่องยากที่ร่างกายจะกำจัดมันออกไป

            Rosalyn และ Berson ได้ส่งผลงานไปลงพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร The Journal of Clinical Investigation แต่ถูกกองบรรณาธิการวารสารปฏิเสธ โดยอ้างว่าเป็นงานที่ไม่สำคัญ เพราะไม่ได้ให้องค์ความรู้ใหม่เลย (Rosalyn ได้นำผลงานที่ถูกปฏิเสธนี้ไปบรรยายในพิธีเลี้ยงฉลองรางวัลในเบลของเธอ)

            เมื่อถูกปฏิเสธ เธอกับ Berson ได้นำงานชิ้นนั้นไปเผยแพร่ในวารสารอื่น และทุ่มเททำงานต่อไป โดยฉีดปริมาณ insulin ที่ไม่มีอะตอมก้มมันตรังสี เข้าไปในเลือดทีละน้อย ๆ และพบว่า ปริมาณ insulin ที่มีอะตอมกัมมันตรังสีเริ่มแยกตัวออกห่างจาก antibody การวัดปริมาณ insulin ที่มีอะตอมกัมมันตรังสีทำให้รู้ปริมาณ insulin ที่ไม่มีกัมมันตรังสีในร่างกายไปพร้อมกัน

            RIA จึงเป็นเทคนิคสำคัญที่ทำให้แพทย์รู้ปริมาณ insulin ที่มีในร่างกายคน จากนั้น Rosalyn กับ Berson ก็ได้พัฒนาเทคนิคนี้ต่อไปเพื่อวัดปริมาณฮอร์โมนอื่น ๆ เช่น human growth, Adrenocorticotropic, parathyroid และ gastrin

 

RIA 002

Solomon Berson และ Rosalyn S. Yalow
ที่มา: https://www.washingtonpost.com/local/obituaries/nobel-winner-rosalyn-yalow-dies-at-89/2011/06/02/AGwgMdHH_story.html

 

            ความสำเร็จเหล่านี้ทำให้ทั้งสองมีชื่อเสียงมาก ถึงปี ค.ศ. 1972 Berson ได้ถึงแก่กรรมในวัย 53 ปี โดยไม่รู้เลยว่าอีก 5 ปีต่อมา ผลงานที่ตนทำร่วมกับ Rosalyn จะได้รับรางวัลโนเบลสาขาแพทย์ศาสตร์ เมื่อเพื่อนร่วมงานเสียชีวิต Rosalyn รู้สึกเสียใจมากเพราะตระหนักดีว่า ความสำเร็จของเทคนิค RIA เกิดจากวิธีคิดของ Berson ส่วนตัวเธอมีความสามารถด้านเทคนิค

            ในปี ค.ศ. 1976 Rosalyn ได้รับรางวัล Albert Lasker Basic Medical Research Award ซึ่งเป็นรางวัลที่แสดงว่าผู้ได้รับมีแนวโน้มจะได้รับรางวัลโนเบลสาขาแพทย์ศาสตร์ในอนาคต แล้วความคาดหวังของทุกคนก็เป็นจริง เพราะรางวัลโนเบลประจำปี ค.ศ. 1977 ทำให้เธอเป็นสตรีคนที่สองที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาแพทย์ศาสตร์ (สตรีคนแรกคือ Gerty Cori ในปี ค.ศ. 1947)

            ในปี ค.ศ. 1988 เธอได้รับเหรียญ National Medal of Science ซึ่งนับเป็นการยกย่องสูงสุดที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะให้แก่พลเมือง ด้วยผลงาน RIA ของเธอกับ Berson ที่คนทั้งสองไม่ได้ขอจดลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรใด ๆ เพราะต้องการให้ชาวโลกได้รับประโยชน์จากการค้นพบนี้มากที่สุด

RIA 003

Rosalyn ได้รับรางวัลโนเบลสาขาแพทย์ศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1977
ที่มา: http://newshour-tc.pbs.org/newshour/wp-content/uploads/2015/07/GettyImages-3251882.jpg

 

            ในด้านงานช่วยเหลือสังคม เธอได้ทุ่มเทเวลาเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านคุณประโยชน์ของกัมมันตรังสีให้สังคมและประชาชนทั่วไปทราบ อย่างไม่ตื่นกลัวที่ไร้เหตุผลในทุกหนแห่งที่เธอเดินทางไปบรรยาย เธอจะส่งเสริมและสนับสนุนให้สตรีเรียนวิทยาศาสตร์มากขึ้น

            แม้จะต้องทำงานวิจัยเต็มเวลา แต่เธอก็ยังมีเวลาเหลือให้ครอบครัว ตามปกติหลังจากที่เตรียมอาหารเย็นให้ลูกสองคนและสามีแล้ว เธอจะหวนกลับไปทำงานที่ห้องปฏิบัติการอีกในตอนค่ำ เธอเชื่อว่า เธอสามารถทำงานทั้งสองด้านคือ วิจัยและดูแลครอบครัวได้ เพราะเธอรักงานทั้งสองรูปแบบเท่า ๆ กัน แม้เธอจะไม่ทุ่มเทชีวิตให้งานมากเท่า Marie Curie ก็ตาม แต่เธอก็เป็นนักวิทยาศาสตร์ต้นแบบของสตรีหลายคน

            Rosalyn Yalow เสียชีวิตเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ปี ค.ศ.2011 ที่ New York สิริอายุ 89 ปี ทุกวันนี้ที่ Veterans Administration Hospital ใน New York มีห้องปฏิบัติการ Berson-Yalow ซึ่งทำหน้าที่ให้ยาที่มี iodine-131 (สารกัมมันตรังสี) แก่คนไข้เพื่อศึกษาความผิดปกติอันเนื่องจากเบาหวาน (diabetes) อันเป็นเทคนิคที่ Berson และ Yalow ได้ร่วมกันพัฒนา

            บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/

 

บรรณานุกรม

Creager. Angela N.H. (2015).  Life Atomic: A History of Radioisotopes in Science and Medicine. University of Chicago Press.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
Rosalyn Yalow, นักฟิสิกส์, Radioimmunoassay, RIA
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน
ระดับชั้น
ปฐมวัย
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
ปฐมวัย
ประถมศึกษาตอนต้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 12581 Rosalyn Yalow นักฟิสิกส์สตรีพิพิชิตรางวัลโนเบลแพทย์ศาสตร์ประจำปี ค.ศ. 1977 /article-physics/item/12581-2022-02-15-07-00-17-2-2-2-2-2-3
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    RIA Radioimmunoassay Rosalyn Yalow นักฟิสิกส์
คุณอาจจะสนใจ
เรื่องคันที่ควรรู้
เรื่องคันที่ควรรู้
Hits ฮิต (20152)
ให้คะแนน
...เรื่องคันที่ควรรู้... หลายคนนึกว่าเรื่องคันตามเนื้อตัวร่างกายนั้นเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่วันนี้จะบอก ...
จริงหรือไม่ที่บอกว่าผงชูรสห้ามเลือดได้
จริงหรือไม่ที่บอกว่าผงชูรสห้ามเลือดได้
Hits ฮิต (33181)
ให้คะแนน
คุณเคยได้ยินเรื่องเล่าสมัยที่มีสงครามมาบ้างหรือไม่ว่า ในช่วงเวลานั้นหากทหารเกิดการบาดเจ็บรุนแรงถึงข ...
น้ำกับร่างกายของเรา
น้ำกับร่างกายของเรา
Hits ฮิต (98383)
ให้คะแนน
...น้ำกับร่างกายของเรา... สุนทร ตรีนันทวัน น้ำ เป็นเรื่องที่จำเป็นกับชีวิตเรากับร่างกายของเราอย่างม ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

SciMath ใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้
ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตกลง
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)