logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ฟิสิกส์
  • ทฤษฎีความอลวน ที่ดูเหมือนจะไร้ระเบียบ

ทฤษฎีความอลวน ที่ดูเหมือนจะไร้ระเบียบ

โดย :
ปทิต จตุพจน์
เมื่อ :
วันจันทร์, 10 สิงหาคม 2563
Hits
4311

          “การที่ผีเสื้อขยับปีกที่บราซิลทำให้เกิดทอนาโดที่เท็กซัสได้” ประโยคนี้อาจจะฟังดูแปลกๆ แต่เป็นประโยคที่ได้ยินและใช้บ่อยมากกับ “ทฤษฎีความอลวล” ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะเคยได้ยินได้เห็นประโยคนี้มาบ้างแล้ว แต่สำหรับบางท่านที่เพิ่งเคยเห็นมันครั้ง ผู้เขียนจะพาคุณไปรู้จักกับระบบแห่งความสับสนที่สวยงามนี้กัน

          ทฤษฎีความอลวล มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Chaos theory (อ่านว่า เค-ออส ไม่ใช่ ชา-ออส นะ) เป็นทฤษฎีที่ใช้อธิบายพฤติกรรมของระบบพลวัต (dynamic system) หรือก็คือระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา โดยการเปลี่ยนแปลงของระบบนี้ ดูเผิน ๆ แล้วมันเหมือนจะเป็นระบบที่เกิดจากการสุ่มหรือไร้ระเบียบ (random/disorder) เสียมากกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว ระบบนี้เป็นระบบที่มีความเป็นระบบระเบียบ (deterministic)

          จุดเริ่มต้นของทฤษฎีเคออสมาจากการศึกษาปัญหาวงโคจรของวัตถุสามชิ้นในสนามแรงดึงดูดระหว่างกัน (ลองจินตนาการภาพของดาว 3 ดวงที่อยู่ใกล้ๆกัน แล้วเคลื่อนที่ในสนามโน้มถ่วงของกันและกัน เนื่องจากดาวแต่ละดวงมีสนามโน้มถ่วงของตัวเอง เมื่อดาวแต่ละดวงเคลื่อนที่ขยับไป ดาวดวงอื่นก็จะดึงดูดกันไปมา) ซึ่งมีชื่อเรียกเป็นทางการว่าปัญหา 3 วัตถุ หลังจากศึกษา “อองรี ปวงกาเร” ค้นพบว่าวงโคจรของพวกมันนั้นไม่ได้มีวงรอบหรือคาบที่แน่ชัด อีกทั้งวงโคจรของมันยังไม่ได้มีทีท่าว่างจะขยายใหญ่หรือหดเล็กลู่เข้าหาจุดใดจุดหนึ่ง แต่เป็นการเคลื่อนที่ไปเรื่อย ๆ แบบไม่ซ้ำเดิม แม้ปัญหา 3 วัตถุจะไม่เคยตรวจพบเลยในทางดาราศาสตร์ แต่ก็มีการตรวจพบเคออสในระบบอื่น ๆ เช่น ความปั่นป่วนของการเคลื่อนที่ของของไหล และการสั่นแบบไม่มีคาบในวงจรวิทยุ ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีทฤษฎีใดสามารถอธิบายเหตุการณ์เหล่านี้ได้

         การศึกษาทฤษฎีเคออสเริ่มเห็นได้ชัดมากขึ้นเมื่อมีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย เพราะระบบเคออสส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่มาจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ซ้ำ ๆ จากสมการสมการหนึ่ง ทำให้การคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์นั่นเพิ่มประสิทธิภาพในการศึกษามาก

11355

ภาพที่ 1 ภาพแสดงระบบของรอเลนซ์ที่เป็นหนึ่งในเคออส
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Lorenz_system#/media/File:Lorenz_system_r28_s10_b2-6666.png , Wikimol

        ตัวอย่างของเคออสที่เห็นได้ชัดคือ การทดลองด้านการพยากรณ์อากาศของเขาในปี ค.ศ. 1961 ของเอ็ดเวิร์ด ลอเรนซ์ (Edward Lorenz) เขาได้ใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลอง (simulation) แบบสภาพอากาศ ซึ่งครั้งถัดไปที่เขาจะให้คอมพิวเตอร์ทำการคำนวณ เขาได้ใช้ข้อมูลที่ได้มาจากการคำนวณครั้งก่อนหน้าเพื่อลดระยะเวลาในการคำนวณ แต่ปรากฏว่าค่าที่ได้ออกมานั้นแตกต่างจากค่าเดิมไปอย่างมาก หลังจากได้ตรวจสอบดูแล้ว ลอเรนซ์พบว่าสาเหตุของการที่ค่าที่ได้จากการคำนวณเปลี่ยนแปลงไปมากนั้นมาจากการปัดเศษเล็ก ๆ ของค่าก่อนหน้าซึ่งมีค่าน้อยมาก ๆ แต่กลับสามารถนำไปสูงการเปลี่ยนแปลงของผลลัพธ์อย่างสิ้นเชิง

         จากภาพที่ 1 จะเห็นได้ว่ารูปร่างของผลลัพธ์ที่ได้นั้นมีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ นี่จึงเป็นที่มาของประโยคข้างต้นที่ว่า “การที่ผีเสื้อขยับปีกที่บราซิลทำให้เกิดทอนาโดที่เท็กซัสได้” ซึ่งหมายถึงหัวใจของเคออสที่ว่าหากเราเปลี่ยนแปลงปัจจัยเริ่มต้นเพียงเล็กน้อยก็อาจจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ภาพหลังได้นั่นเอง

แหล่งที่มา

PhysicsCentral. Chaos Rules. Retrieved February 13, 2020, From: https://www.physicscentral.com/explore/action/chaos.cfm

Schoolworkhelper Editorial Team. (2019). Chaos Theory: Mathematics & Physics. Retrieved February 14, 2020, From: https://schoolworkhelper.net/chaos-theory-mathematics-physics/

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
เคออส, ความอลวน,ทฤษฎีความอลวน ,ไร้ระเบียบ
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 20 กุมภาพันธ์ 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นายปทิต จตุพจน์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11355 ทฤษฎีความอลวน ที่ดูเหมือนจะไร้ระเบียบ /article-physics/item/11355-2020-03-12-02-19-47
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ว่าด้วยเรื่องของ “ไฝ”
ว่าด้วยเรื่องของ “ไฝ”
Hits ฮิต (23335)
ให้คะแนน
ว่าด้วยเรื่องของ 'ไฝ' การมีไฝนั้นเป็นความเชื่อมาตั้งแต่โบราณว่าคนที่มีปานหรือไฝตามจุดต่าง ๆ ของร่าง ...
มารู้จักผึ้งในเมืองไทย
มารู้จักผึ้งในเมืองไทย
Hits ฮิต (119688)
ให้คะแนน
....มารู้จัก ผึ้งในเมืองไทย... สุนทร ตรีนันทวัน สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ที่จัดเป็นสัตว์สังคมการเป็นอยู ...
สารพิษ ในหัวกลอย กินแล้วอาจตายได้
สารพิษ ในหัวกลอย กินแล้วอาจตายได้
Hits ฮิต (42322)
ให้คะแนน
สารพิษ ในหัวกลอย กินแล้วอาจตายได้ สุนทร ตรีนันทวัน เมื่อเร็วๆนี้มีข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์เรื่องหนึ่ ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)