logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ฟิสิกส์
  • ไลดาร์ เทคโนโลยีเพื่อการสำรวจ

ไลดาร์ เทคโนโลยีเพื่อการสำรวจ

โดย :
สุภัตรา ทรัพย์อุปการ
เมื่อ :
วันจันทร์, 30 กันยายน 2562
Hits
1464

          วิทยาศาสตร์สร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย ให้เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ ในบทความนี้ เราจะได้เห็นประโยชน์อีกอย่างหนึ่งจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ก่อให้เกิดเครื่องมือเทคโนโลยีการสำรวจชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า ไลดาร์ (LIDAR) : “Light Detection and Ranging”

10464 1

ภาพ NC LiDAR DEM of Carolina bays
ที่มา https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Rex,_NC_LiDAR_DEM_of_Carolina_bays.jpg , Cintos

          การสำรวจภูมิประเทศไม่ใช่เรื่องใหม่และไม่ใช่เรื่องง่าย มีการพัฒนาเครื่องมือในการสำรวจใหม่ ๆ อยู่เสมอ ไลดาร์ เป็นเครื่องมือหนึ่งที่นักสำรวจใช้ในการสำรวจภูมิประเทศ  มีหลักการทำงานโดยการยิงแสงเลเซอร์ในช่วงคลื่นสั้นกว่าจากเครื่องส่งสัญญาณให้ไปตกกระทบกับพื้นผิวภูมิประเทศ เพื่อทำการวัดระยะจากระยะเวลาในการเดินทางของลำแสงเลเซอร์ ที่เดินทางจากเซนเชอร์ไปยังวัตถุเป้าหมาย ซึ่งก็จะคล้าย ๆ กับหลักการที่เรารู้จักกันดีกับเครื่องมือที่ชื่อว่า Radar

          เมื่อลำแสงเลเซอร์ไปตกกระทบพื้นผิวของวัตถุหรือภูมิประเทศ จะสะท้อนกลับมาที่เครื่องรับสัญญาณและส่งสัญญาณ

          ข้อมูลสำคัญที่เราได้จากการวัดโดยเครื่องมือนี้ก็คือ ความแตกต่างของระยะเวลาที่ลำแสงเลเซอร์ถูกส่งไปแล้วกระทบกลับมา ทำให้สามารถคำนวณหาระยะทาง ซึ่งก็คือ ความสูง ในการสำรวจพื้นที่ภูมิประเทศในบริเวณกว้าง ข้อมูลความสูงที่ได้ก็จะเป็นชุดข้อมูลความสูงของภูมิประเทศจำนวนมหาศาลในอาณาบริเวณที่ทำการสำรวจ เมื่อนำชุดข้อมูลเหล่านี้มาทำการประมวลผล ก็จะได้โครงสร้างภูมิประเทศที่ทำการสำรวจนั่นเอง  โดยโครงสร้างภูมิประเทศที่ได้จะมีลักษณะที่เรียกว่า DEM ซึ่งก็มีข้อดีต่อการทำการสำรวจเพื่อจัดทำแผนที่นั่นเอง

          DEM (Digital Elevation Model) เป็นข้อมูลความสูงของจุดต่าง ๆ บนพื้นภูมิประเทศที่ได้จากการสำรวจด้วยไลดาร์ โดยสามารถสร้างแผนที่ได้ 2 แบบ คือ แผนที่เส้นชั้นความสูงแบบลายเส้นและเฉดสี ประโยชน์ที่ได้จากแผนที่รูปแบบนี้ก็คือ การหาปริมาณดิน ความลาดเอียงของวัตถุและความสูงของวัตถุ ส่วนอีกแบบหนึ่งก็คือแผนที่แบบสามมิติของเมืองและพื้นภูมิประเทศ

        เราอาจสรุปได้ว่า การทำงานของไลดาร์ ประกอบด้วยหลักการและองค์ประกอบที่สำคัญ 3 อย่างด้วยกันดังนี้ คือ

  1. การวัดระยะทางด้วยเลเซอร์

  2. ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกเพื่อหาตําแหน่งและความสูงของเครื่องรับสัญญาณ

  3. เครื่องวัดอาศัยหลักความเฉื่อย (Inertial Measurement Unit : IMU) สำหรับกำหนดการวางตัวของเครื่องบินหรือดาวเทียม

       เป็นอย่างไรกันบ้าง เห็นไหมว่าแผนที่ที่เราได้เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ก็มาจากการใช้ประโยชน์และความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยนี่แหละ

แหล่งที่มา

LIDAR คืออะไร. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2562. จาก http://infgis.rid.go.th/gis/2/Remote/LIDAR.pdf

การสำรวจด้วย LIDAR . สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2562. จาก http://kmcenter.rid.go.th/kcsurvey/pdf/78lidar.pdf

การสำรวจด้วย LIDAR . สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2562. จาก http://kmcenter.rid.go.th/kcsurvey/pdf/78lidar.pdf

ธีระ ลาภิศชยางกูล. เทคโนโลยีไลดาร์สำหรับสร้างแผนที่ . สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2562. จาก http://www.lddservice.org/services/PDF/LIDAR_Tecnology.pdf

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ไลดาร์ ,LIDAR,เทคโนโลยี,สำรวจ
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันเสาร์, 15 มิถุนายน 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุภัตรา ทรัพย์อุปการ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10464 ไลดาร์ เทคโนโลยีเพื่อการสำรวจ /article-physics/item/10464-2019-07-01-04-38-22
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
โรเบิร์ต ฮุค (Robert Hook) ผู้ค้นพบเซลล์สิ่งมีชีวิต
โรเบิร์ต ฮุค (Robert Hook) ผู้ค้นพบเซลล์...
Hits ฮิต (70773)
ให้คะแนน
“ความจริงเท่านั้นที่รู้” คำพูดของนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังชาวอังกฤษ โรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) ผู้ค้นพ ...
โดบไข่ดิบ...มากประโยชน์หรืออันตราย ?
โดบไข่ดิบ...มากประโยชน์หรืออันตราย ?
Hits ฮิต (23710)
ให้คะแนน
โดบไข่ดิบ...มากประโยชน์หรืออันตราย ? ความเชื่อเรื่องการรับประทานไข่ดิบหรือการโดบด้วยไข่ดิบแล้วจะให้ ...
กัดเล็บนิ้วมือเล่น เป็นโรคทางจิตจำพวกหนึ่ง
กัดเล็บนิ้วมือเล่น เป็นโรคทางจิตจำพวกหนึ...
Hits ฮิต (15469)
ให้คะแนน
หลายคนที่มีนิสัยชอบกัดเล็บนิ้วมือตัวเองเล่น รู้หรือไม่ว่าอาจเป็นโรคจิต ซึ่งจิตแพทย์สมาคมอเมริกันได้ ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โทรศัพท์ : 02-392-4021 ต่อ 7070 (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)