logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ฟิล์มที่เขาว่ากันความร้อน

โดย :
ศรุดา ทิพย์แสง
เมื่อ :
วันจันทร์, 16 กันยายน 2562
Hits
16947

          ด้วยสภาพอากาศเมืองไทยที่ร้อนอบอ้าว รถยนต์ซึ่งเป็นยานพาหนะทางบกที่มอบความสะดวกสบายในการเดินทางอย่างมาก หากเทียบกับรถสาธารณะ รถยนต์ส่วนบุคคลกล่าวได้ว่ามีความเป็นส่วนตัวมากกว่า เพราะเหตุนี้จึงไม่แปลกที่ในแต่ละปี จะมีสถิติการออกรถใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มาว่ากันด้วยเรื่องของความร้อนที่ถึงแม้ภายในรถยนต์จะมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศหรือเรียกสั้น ๆ ว่า “แอร์” มาให้ก็ตาม แต่มันก็ยังคงไม่เพียงพอที่จะต้านทานอากาศในเมืองไทยได้

          การติดฟิล์มสำหรับรถยนต์จึงจำเป็นเป็นอย่างมาก เพราะอย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าอากาศในประเทศไทยมีความร้อนมาก ซึ่งเป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ทางออกที่ดีที่สุดก็คือการติดแผ่นฟิล์มกันความร้อนที่มีสารโพลีเอสเตอร์ (Polyester)

          โพลีเอสเตอร์เป็นสารพอลิเมอร์ชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ เช่น มีความทนทานสูงต่อการฉีกขาด ทนทานต่อสารเคมีและไม่ยืดหรือหดง่ายๆ ถ้าทำเป็นแผ่นฟิล์มบาง ๆ จะใส โปร่งแสงระดับเดียวกับกระจกใส

          มีการนำมาประยุกต์ใช้ทำสิ่งของหลากหลาย โพลีเอสเตอร์มีค่าดัชนีหักเห หรือ refractive index ประมาณ 1.6 – 1.7 ถึงแม้ฟิล์มกันความร้อนนี้จะไม่ได้มีราคาสูงจนน่าตกใจ แต่ก็มีราคาหลายพันบาทขึ้นไปจนถึงเรือนหมื่น การติดตั้งหรือแกะออกก็ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับความสบายและความปลอดภัยในการใช้รถด้วย

10454 1

ภาพฟิล์มรถยนต์
ที่มา https://pixabay.com/ , CreaPark

        สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีกระจกอยู่รอบด้าน ช่องใหญ่สุดคือกระจกบานหน้าซึ่งนอกจากเพื่อความสวยงามแล้ว ยังเป็นความจำเป็นเพื่อคนขับจะสามารถมองเห็นสถานการณ์เบื้องหน้าเป็นมุมกว้างให้ได้มากที่สุด แต่ก็เป็นช่องนี้อีกเหมือนกันที่นำความร้อนเสริมจากแสงอาทิตย์ (solar heat gain) เข้ามาเพิ่มเติมในห้องโดยสารมากที่สุดนอกเหนือจากความร้อนที่แผ่ออกมาจากตัวคนขับ / ผู้โดยสารและเครื่องยนต์ เพราะแสงอาทิตย์นั้นเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic wave) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพาพลังงานไปด้วยทุกที่

        เมื่อแสงอาทิตย์วิ่งมาพบกับกระจกใส เช่นสมมุติว่าหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร จะเกิดการสะท้อนที่ผิวหน้าของกระจกคิดเป็นเพียง 6 % ของพลังงานแสงอาทิตย์ เกิดการดูดกลืนในเนื้อกระจกคิดเป็น 5 % พลังงานแสงอาทิตย์ที่เหลืออีก 89 % จะทะลุผ่านไป ดังนั้นตัวการสำคัญที่ทำให้ภายในห้องโดยสารของรถยนต์ที่อยู่ท่ามกลางแสงแดดร้อนขึ้นมากก็คือพลังงานส่วนที่ทะลุกระจกมาได้นี่เอง ในสภาวะที่ปิดกระจกทุกด้าน ภายในรถยนต์ก็เหมือนกับภายในเรือนกระจก (greenhouse) หรือภายในเตาอบพลังแสงอาทิตย์ (solar cooker) นั่นเอง

        ดังนั้นถ้าไม่ต้องการให้ภายในรถที่กำลังขับท่ามกลางแดดเปรี้ยงพร้อมอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นจนเหมือนเตาอบ หรือไม่ต้องการให้คอมเพรสเซอร์ของแอร์รถยนต์ทำงานหนัก เพราะจะไปโหลดเครื่องยนต์ ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมัน ก็ต้องป้องกันแสง NIR ไม่ให้ทะลุเข้าไปในรถได้มากวิธีการหนึ่งที่ใช้กับฟิล์มติดรถยนต์ที่มีขายในท้องตลาดเมืองไทยก็คือการเคลือบผิวของชั้นโพลีเอสเตอร์ ด้วยละอองโลหะ ฟิล์มแบบนี้จึงเรียกกันว่า “metalized film”

        การเลือกฟิล์มติดรถยนต์เพื่อป้องกันความร้อนไม่ใช่เรื่องยาก เพียงเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน และตอบโจทย์ความต้องการของคุณมากที่สุด หากต้องการฟิล์มกันความร้อนควรเลือกฟิล์มเคลือบโลหะ หรือ ฟิล์มปรอท เพราะสามารถกันความร้อนได้ถึง 90% แถมยังมีราคาไม่สูงมากอีกด้วย แต่ก่อนติดฟิล์มรถยนต์ ควรทำความเข้าใจหาข้อมูลว่ารถยนต์ของคุณ ควรติดฟิล์มประเภทไหน กี่เปอร์เซ็นต์ เพื่อถูกต้องตามกฎหมาย และไม่เป็นปัญหาในการขับขี่ ทั้งเวลากลางวัน และกลางคืน

แหล่งที่มา

Thailand Center of Excellence in Physics(ThEP). (2015, 20 Jan). วิธีคลายร้อนให้เมือง.สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2562, จาก http://thep-center.org/src2/views/daily-life.php?article_id=9 

Fang, J. Futter, J. Kennedy and J. Manning (2013, 26 July). “A Review of Near Infrared Reflectance Properties of Metal Oxide Nanostructures” .Retrieved June 20,2019, From http://www.gns.cri.nz/static/pubs/2013/SR%202013-039.pdf

Sunlight, Institute of Agriculture, The University of Tennessee .Retrieved June 20,2019, From https://ag.tennessee.edu/solar/Pages/What%20Is%20Solar%20Energy/Sunlight.aspx

Tuchinda, S. Srivannaboon and H. W. Lim, ”Photoprotection by Window Glass, Automobile Glass and Sunglasses” .Retrieved June 20,2019, From https://www.guardian.com/cs/groups/climaguard/documents/native/gi_004941.pdf

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ฟิล์ม,รถยนต์,ความร้อน
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอาทิตย์, 02 มิถุนายน 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ศรุดา ทิพย์แสง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10454 ฟิล์มที่เขาว่ากันความร้อน /article-physics/item/10454-2019-07-01-02-00-57
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)