logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

หลุมดำ2019

โดย :
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
เมื่อ :
วันจันทร์, 02 กันยายน 2562
Hits
22632

               เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2019 ได้มีการเผยแพร่ข่าวใหญ่ไปทั่วโลกจากการที่กล้องโทรทรรศน์อีเวนต์ฮอไรซัน (Event Horizon Telescope) สามารถเก็บภาพหลุมดำมวลยิ่งยวดได้ด้วยความละเอียดสูงซึ่งนับว่าเป็นภาพของหลุมดำภาพแรกที่มนุษยชาติสามารถถ่ายได้ และยังเป็นการพิสูจน์ที่สำคัญอีกด้วยว่าหลุมดำนั้น “มีจริง” หลังจากที่เป็นปริศนาท้าทายนักวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์และนักดาราศาสตร์มาอย่างยาวนาน

10443 1

ภาพจำลองหลุมดำ
แหล่งที่มา https://pixabay.com/, 12019

หลุมดำ คืออะไร?

          ในทางทฤษฎี หลุมดำ คือ คำนิยามของปริมาตรของพื้นที่ซึ่งแรงโน้มถ่วงสูงเป็นอย่างมากจนเพียงพอที่จะป้องกันการหลบหนีแม้กระทั่งอนุภาคที่เคลื่อนที่เร็วที่สุดอย่างแสงก็ไม่สามารถหลุดพ้นได้ ซึ่งหลุมดำนั้นไม่ได้มีลักษณะเป็น “หลุม” แต่อย่างใด เพราะอันที่จริงจะมีลักษณะคล้ายกันกับดาวฤกษ์ด้วยซ้ำไป ซึ่งผู้ที่ทำนายการมีอยู่ของหลุมดำนั้นก็คือนักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลกที่เราทุกคนต้องรู้จักเป็นอย่างดี เขาก็คือ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) และทฤษฎีที่กล่าวถึงการทำนายการมีอยู่ของหลุมดำก็คือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (General relativity) แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือตัวเขาเองไม่เคยเชื่อด้วยซ้ำว่าหลุมดำนั้นจะมีอยู่จริงเพราะว่าคุณสมบัติสุดแสนประหลาดและน่าอัศจรรย์จนเกินที่จะยอมรับได้ของมัน แต่ด้วยความพยายามของมนุษย์ ความเฉลียวฉลาดจากการสั่งสมประสบการณ์ก็ได้ช่วยพิสูจน์แล้วว่า สิ่งที่ไอน์สไตน์ทำนายไว้มีอยู่จริง

หลุมดำไม่ได้มีแบบเดียว

          ถ้าคุณเคยเข้าใจว่าไม่เคยมีการแบ่งประเภทของหลุมดำคุณคงต้องเปลี่ยนความคิดกันสักหน่อย เพราะนักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งประเภทของหลุมดำออกเป็น 2 ประเภท

  1. Stellar black hole หรือ หลุมดำที่เกิดจากดาวฤกษ์ หลุมดำจำพวกนี้ถูกตรวจจับได้มาก่อนหน้านี้แล้ว โดยการใช้วิธีตรวจจับด้วยการถ่ายภาพรังสีเอกซ์ที่แก๊สร้อนจัดไหลวนลงสู่หลุมดำเปล่งออกมา ซึ่งการที่จะเกิดหลุมดำประเภทนี้ได้ ดาวฤกษ์ต้นกำเนิดจะต้องมีมวลมากพอ ที่ทำให้มวลที่เหลือจากปฏิกิริยาฟิวชันมีมากตาม (ปฏิกิริยาฟิวชันเป็นปฏิกิริยาที่ทำให้ดาวฤกษ์เกิดความชรา กล่าวคือ เป็นปฏิกิริยาที่ทำให้ดาวฤกษ์ปลดปล่อยพลังงานออกมาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึงจุดที่ไม่มีมวลที่ทำให้เกิดพลังงานเพียงพออีกต่อไป ในตอนนั้นปฏิกิริยาฟิวชันจะหยุดลง มวลที่เหลือของดาวฤกษ์จะบีบอัดด้วยแรงโน้มถ่วงที่มากจนถึงขั้นรุนแรงและเกิดเป็นหลุมดำประเภทนี้)

  2. Supermassive black hole หรือ หลุมดำมวลยิ่งยวด ซึ่งเป็นหลุมดำที่จับภาพได้เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2019 โดยในทางทฤษฎีแล้วเป็นเรื่องที่ยากมากถึงมากที่สุดที่เราจะสามารถจับภาพหลุมดำประเภทนี้ได้ เพราะหลุมดำประเภทนี้มักจะอยู่ไกลจากโลกเป็นอย่างมาก ห่างในระดับหลายสิบล้านปีแสงเลยทีเดียว และหลุมดำเหล่านี้ก็มักจะอยู่ใจกลางกาแล็กซีและถูกห้อมล้อมไปด้วยดาวฤกษ์มากมาย ที่นับว่าเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการที่จะถ่ายภาพเพื่อศึกษา (อารมณ์เดียวกันกับตอนที่เราแอบถ่ายภาพนักแสดงที่ชอบ แต่ได้รูปบอดี้การ์ดของเขามาแทน) แต่ด้วยพลังแห่งความสามัคคีของมวลมนุษยชาติ ที่เมื่อช่วยเหลือแบ่งปันข้อมูลและทำงานประสานกันอย่างมืออาชีพ ในที่สุดเราก็มีภาพถ่ายความละเอียดสูงของหลุมดำมวลยิ่งยวดที่อยู่ในกาแล็กซี M87 ซึ่งเป็นกาแล็กซีทรงรีขนาดใหญ่ ห่างจากโลกเราออกไปราว ๆ 55 ล้านปีแสง ไปทางกลุ่มดาวหญิงสาว และมีมวลมากกว่า 6,500 ล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์  (ซึ่งเป็นระยะที่ไกลมาก ๆ ) โดยภาพที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์อีเวนต์ฮอไรซันก็มีความคมชัดจนสามารถแยกภาพได้ในระดับ 20 ไมโครอาร์กเซก 

แหล่งที่มา

อาจวรงค์ จันทมาศ. (2562, 12  เมษายน).  ภาพแรกหลุมดำมวลยิ่งยวด บทพิสูจน์ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป และจุดเริ่มต้นของการค้นพบไม่สิ้นสุด สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2562, จาก https://thestandard.co/first-ever-black-hole-image/

sciencealert.  What Are Black Holes?.  Retrieved June 5, 2019, from https://www.sciencealert.com/black-holes

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
หลุมดำ, Black hole, หลุมดำมวลยิ่งยวด
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันเสาร์, 08 มิถุนายน 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10443 หลุมดำ2019 /article-physics/item/10443-2019
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)