logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ความลับของหน้าต่างบนเครื่องบิน

โดย :
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
เมื่อ :
วันจันทร์, 26 สิงหาคม 2562
Hits
19091

          กลับมาอีกครั้งกับเกร็ดความรู้เกี่ยวกับเครื่องบิน ผู้เขียนได้เขียนบทความเกี่ยวกับเครื่องบินไว้หลายเรื่องแล้ว ส่วนในบทความนี้เราจะพาไปตั้งคำถามและหาคำตอบเกี่ยวกับเครื่องบินในเรื่องของ “หน้าต่างเครื่องบิน” กัน เพราะจริง ๆ แล้วที่นั่งที่เป็นที่นิยมมากที่สุดสำหรับผู้โดยสารก็คือที่นั่งริมหน้าต่าง หรือที่เรียกว่า Window Seat (ส่วนที่นั่งแถวกลางและที่นั่งติดทางเดินจะเรียก Middle Seat และ Aisle Seat → อ่านว่า อาย – เลอะ – ซีท ไม่ต้องออกเสียงตัว S) เพราะจะได้เห็นวิวท้องฟ้าสวย ๆ ถ้าเดินทางเวลากลางวัน และยังจะได้เห็นวิวแสงไฟจากภาคพื้นดินถ้าเดินทางในเวลากลางคืน ซึ่งนับว่าคุ้มค่ามาก ๆ แต่ทั้งนี้ก็ต้องแลกมาด้วยความลำบากเมื่อต้องการไปเข้าห้องน้ำในระหว่างการเดินทาง และเรื่องที่เราจะตั้งคำถามเกี่ยวกับหน้าต่างเครื่องบินกันในวันนี้ก็คือ “คุณเคยสังเกตไหมว่า หน้าต่างของเครี่องบินนั้นจะมีลักษณะโค้งมน (Oval) เสมอ!”

10438 1

ภาพหน้าต่างบนเครื่องบิน
ที่มา https://pixabay.com/, StockSnap

          พออ่านมาถึงบรรทัดนี้แล้วอยากให้ผู้อ่านหยุดเพื่อคิดด้วยตนเองก่อน จะผิดหรือจะถูกนั้นไม่เป็นอะไร แต่อยากให้ลองใช้และฝึกฝนตรรกะทางความคิดกันดู

          เป็นเวลากว่าหลายทศวรรษที่อุตสาหกรรมทางด้านการบิน ได้ใช้งบประมาณในการพัฒนานวัตกรรมการออกแบบอากาศยาน ให้ทันสมัยและมีความปลอดภัยสูงสุด จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ จากเครื่องร่อนที่ไม่มีเครื่องยนต์ขับเคลื่อน ไม่สามารถเดินทางได้ตามต้องการ มาสู่ยุคที่การขนส่งทางอากาศเป็นหนึ่งในทางเลือกทั่ว ๆ ไปของการเดินทาง สามารถเดินทางท่องเที่ยวข้ามประเทศหรือทวีปได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว สามารถขนส่งสินค้าได้ทันตามความต้องการของลูกค้าและตลาด หรือกระทั่งสามารถเดินทางออกนอกโลกได้ก็เกิดขึ้นได้แล้วเช่นกัน และยังเป็นการเดินทางที่ได้ขึ้นชื่อว่า “มีความปลอดภัยมากที่สุดในโลก” ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจมีเหตุผลมาจากการคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดในการออกแบบอากาศยาน

           ในอดีตนั้นเครื่องบินที่ทำความเร็วได้น้อยและบินที่ความสูงไม่มาก และมีการใช้งานหน้าต่างที่มีลักษณะเหลี่ยม แต่พอมีการพัฒนาการออกแบบเครื่องบินจนสามารถบินที่ความเร็วสูง 700 – 800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บินที่ความสูงถึง 20,000 – 40,000 ฟุต การออกแบบในลักษณะเดิมจึงไม่สามารถทำได้อีกต่อไปเพราะอาจทำให้เป็นอันตรายอย่างยิ่ง

 ทำไมหน้าต่างทรงเหลี่ยม (Square) ถึงอันตราย?

          คำตอบก็คือมุมเหลี่ยมนั้นมักจะเป็นจุดที่อ่อนแอที่สุดและมีโอกาสเสียหายได้ง่ายที่สุด เพราะเป็นจุดที่ทางวิศวกรรมเรียกว่า Stress concentration หรือก็คือ จุดที่การกระจายของความเค้นมารวมตัวกันมากที่สุด (ความเค้น คือ แรงที่เกิดขึ้นภายในเนื้อวัตถุซึ่งเป็นการตอบสนองต่อแรงภายนอกที่มากระทำ) ส่วนแรงที่มากระทำอย่างซ้ำ ๆ กับมุมทั้ง 4 ก็คือแรงดันของอากาศนั่นเอง (ที่มีแรงกระทำอยู่ตลอดมีสาเหตุมาจากการที่ความดันภายในเครื่องบิน ทั้งภายในห้องผู้โดยสาร ห้องเก็บสัมภาระ กับความดันภายนอกเครื่องบินนั้นไม่เคยเท่ากันเลยตลอดเวลาที่ทำการบิน)

 แล้วทำไมหน้าต่างทรงกลม (Curved) ถึงปลอดภัยกว่า?

          ก็แน่นอนว่าเป็นเพราะลักษณะโค้งมนนั้นไม่ทำให้เกิด Stress concentration เนื่องจากมีการกระจายตัวของความเค้นอย่างสม่ำเสมอมากกว่า ซึ่งส่งผลดีต่อโครงสร้าง มีความเป็นไปได้มากกว่าที่จะช่วยลดโอกาสการในการเกิดความเสียหาย เช่น การแตกหรือการร้าวของพื้นผิวเครื่องบิน ทั้งยังสามารถทนต่อการเสียรูปได้มากกว่า จึงทำให้สามารถรับมือกับเรื่องความแตกต่างของความดันได้เป็นอย่างดีนั่นเอง

แหล่งที่มา

Lindsey Olander (2017, 7 Feb).  The Strange Reason Why Airplane Windows are Round.  Retrieved June 5, 2019, from https://www.travelandleisure.com/articles/why-are-airplane-windows-round

CORROSIONPEDIA.  Stress Concentration Factor (Kt).  Retrieved June 5, 2019, from https://www.corrosionpedia.com/definition/1035/stress-concentration-factor-kt

         

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ความลับ,หน้าต่าง,เครื่องบิน
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพุธ, 05 มิถุนายน 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10438 ความลับของหน้าต่างบนเครื่องบิน /article-physics/item/10438-2019-07-01-01-21-56
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
เหตุผลของคนสะอึก
เหตุผลของคนสะอึก
Hits ฮิต (21305)
ให้คะแนน
ฮึก ..ฮึก .. เสียงฮึกที่เกิดขึ้นระหว่างการสะอึก แม้ว่าอาการที่เกิดขึ้นจะไม่ได้เป็นอันตรายถึงชีวิต แ ...
โป่ง (saltlick) แหล่งแร่ธรรมชาติที่ขาดไม่ได้ของสัตว์ป่า
โป่ง (saltlick) แหล่งแร่ธรรมชาติที่ขาดไม...
Hits ฮิต (22273)
ให้คะแนน
โป่ง (saltlick) แหล่งแร่ธรรมชาติที่ขาดไม่ได้ของสัตว์ป่า โดย...นางสาววิลาส รัตนานุกูล เมื่อพูดถึงโป่ ...
แหน (Duckweed)
แหน (Duckweed)
Hits ฮิต (34088)
ให้คะแนน
แหน (Duckweed) แหน (Duckweed) เป็นพืชลอยน้ำขนาดเล็ก เจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ดีในน้ำนิ่ง เช่น หนอ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

SciMath ใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้
ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตกลง
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)