logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

เวลา คำง่าย ๆ เเต่ความหมายสุดลึกล้ำ

โดย :
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
เมื่อ :
วันจันทร์, 15 กรกฎาคม 2562
Hits
39859

          “ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช 2542 ให้คำนิยามของเวลาว่า หมายถึง ชั่วขณะ ความยาวนานที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ โดยนิยมกำหนดขึ้นเป็นครู่ คราว วัน เดือน ปี” นี่คือความหมายของเวลาตามพจนานุกรม และในวันนี้จะพามาทำความเข้าใจเกร็ดความรู้ทางด้านเวลานั่นคือ เวลามาตรฐานสากล

          ถ้าหากท่านผู้อ่านเคยเดินทางไปต่างประเทศ ท่านคงทราบเป็นอย่างดีแล้วว่าเวลาในแต่ละพื้นที่ของโลกนั้นไม่เท่ากันและมีมาตรฐานในการบอกอย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น ประเทศไทยอยู่ในเขตที่เป็น GMT +7

10107 1

ภาพ นาฬิกา สัญลักษณ์บอกเวลา
ที่มา https://pixabay.com, Bru-nO

 GMT +7 คืออะไร

          GMT ย่อมาจาก Greenwich Mean Time หรือก็คือเวลาของเมืองกรีนิชที่เป็นค่าเวลาที่คำนวณจากค่าเฉลี่ยเวลาที่ดวงอาทิตย์ข้ามผ่านเส้นเมริเดียนปฐมและอยู่ในตำแหน่งสูงสุดตอนเที่ยงวันในรอบหนึ่งปี

          เมืองกรีนิช (Greenwich) เป็นเขตการปกครองของกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอังกฤษ กล่าวคือโลกของเราใช้เวลาที่เมืองกรีนิชเป็นเวลามาตรฐาน ดังนั้นการบอกเวลาที่มี GMT ต่อท้ายด้วยจำนวนบวกหรือลบก็จะหมายความถึงเวลาที่เร็วหรือช้ากว่าที่เมืองกรีนิช เช่น ประเทศไทย GMT +7 แปลว่าเวลาที่ประเทศไทยเร็วกว่าที่เมืองกรีนิช 7 ชั่วโมง ถ้าที่ประเทศไทยเป็นเวลา 19.00 น. ที่เมืองกรีนิชจะเป็นเวลา 12.00 น. นั่นเอง

เส้นเมริเดียนปฐม

          เส้นเมริเดียนเป็นเส้นสมมติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ เป็นแนวคิดทางดาราศาสตร์เพื่อช่วยกำหนดตำแหน่งดวงดาว เส้นเมริเดียนปฐมมีค่า 0 องศาลองจิจูด ทุก ๆ 15 องศาลองจิจูดมีค่าเวลาต่างกัน 1 ชั่วโมง

ลองจิจูด

          เส้นลองจิจูด เป็นเส้นสมมติที่วางตามแนวตั้งของโลก หรือที่เรียกว่าเส้นเมอร์ริเดียน (Meridian) วิธีที่ง่ายที่สุดในการจินตนาการภาพสำหรับเส้นลองจิจูด ให้ลองนึกถึงแหวนที่ตัดแบ่งครึ่งวางตัวตามแนวตั้งของโลก โดยปลายด้านหนึ่งของแหวนนั้นวางที่ตำแหน่งขั้วโลกเหนือ และปลายอีกด้านหนึ่งวางที่ขั้วโลกใต้

         เส้นลองจิจูดนั้นเป็นเส้นที่ใช้วัดพิกัดความห่างระหว่างเส้นลองจิจูดและเส้นเมริเดียนปฐม (Prime Meridian) ซึ่งเส้นเมอร์ริเดียนปฐมจะเป็นเส้นที่แบ่งซีกโลกตะวันออกและตะวันตก เส้นเมอร์ริเดียนปฐมนั้นจะเป็นเส้นที่ลากในแนวตั้งของโลกผ่านเมืองกรีนิช จากขั้วโลกเหนือสู่ขั้วโลกใต้ โดยเส้นเมอร์ริเดียนปฐมเป็นเส้นเริ่มต้นที่จะบอกพิกัดลองจิจูดในตำแหน่งต่างๆ พิกัดที่วางตัวอยู่บนเส้นเมอร์ริเดียนปฐมนี้จะบอกค่าลองจิจูดเป็น 0 องศาลองจิจูด

ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม AEC เป็น GMT +7 เหมือนกันหรือไม่

          AEC หรือ Asean Economics Community เป็นการร่วมกลุ่มทางเศรษฐกิจจากประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสมาชิก 10 ประเทศ หนึ่งในนั้นคือประเทศไทย ซึ่งแต่ละประเทศก็มีเวลาไม่เท่ากันเมื่อเทียบกับเมืองกรินิช ประเทศเมียนมาร์ เวลาอยู่ที่ GMT+6.5 ประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม เวลาอยู่ที่ GMT+7 และประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ เวลาอยู่ที่ GMT+8 (ส่วนประเทศอินโดนิเซียมีพื้นที่กว้างขวางมากดังนั้นเวลาของแต่ละพื้นที่จะไม่เท่ากัน โดยจะมีตั้งแต่ GMT +9 ไปจนถึง GMT +9)

ทำไมประเทศที่อยู่ใกล้ ๆ หรือแม้กระทั่งประเทศเดียวกันกันเวลาถึงไม่เท่ากัน

          เป็นเพราะว่าถึงแม้จะเป็นประเทศที่อยู่ใกล้ ๆ กันแต่ก็อยู่บนเส้นลองจิจูดคนละเส้นกัน ทำให้เวลาของประเทศใกล้ ๆ กัน หรือกระทั่งประเทศเดียวกันนั้นไม่เท่ากัน ซึ่งหมายความว่าประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนามอยู่ห่าง 15 องศาลองจิจูดจากประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์

แหล่งที่มา

เอกณัฏฐ์ สวัสดิ์หิรัญ. GMT เวลามาตรฐานสากล.  สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2562, จาก http://www.tpapress.com/knowledge_detail.php?k=22

สุชีรา มาไกวร์. (2560, 17  ตุลาคม).  เวลามาตรฐานกรีนิชคืออะไร?.  สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2562, จาก https://www.bbc.com/thai/international-41786279

ProsoftGPS.  ละติจูด, ลองจิจูด กับการบอกพิกัดทางภูมิศาสตร์.  สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2562, จาก https://www.prosoftgps.com/Article/Detail/72143

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
เวลา, Greenwich, GMT
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพุธ, 17 เมษายน 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10107 เวลา คำง่าย ๆ เเต่ความหมายสุดลึกล้ำ /article-physics/item/10107-2019-04-19-02-31-22
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)