logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

สามเหลี่ยมครอบครัวคณิตศาสตร์การบวก

โดย :
ปิยวดี เอ่งฉ้วน
เมื่อ :
วันพุธ, 22 พฤษภาคม 2562
Hits
16556

         ครอบครัวสามเหลี่ยมคณิตศาสตร์ คือ ครอบครัวคณิตศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ประกอบด้วย ครอบครัวการบวก การลบ การคูณ และการหาร ในบทความนี้กล่าวถึงครอบครัวการบวก ซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน คือ สมบัติการสลับที่ของการบวก เปรียบเสมือน พ่อกับแม่สลับหน้าที่กันในการดูแลลูก ผลออกมาย่อมเหมือนเดิม ในที่นี้ให้ ลูก เปรียบเสมือนส่วนรวม คือความรักที่ได้จากพ่อกับแม่ส่งผ่านมารวมกัน ส่วนพ่อกับแม่ เปรียบเสมือนกับส่วนย่อย ที่ทำหน้าที่คอยดูแล คุ้มครอง ส่งผ่านความรักไปสู่ลูก เรื่องราวความสัมพันธ์ของครอบครัว โดยใช้ DIY Math Family Triangles ซึ่งสะท้อนความสมดุลของสามเหลี่ยมในวิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างน่าสนใจ

         สามเหลี่ยมครอบครัว คือ ครอบครัวที่ได้สมดุล ประกอบด้วยพ่อ แม่ และลูก พ่อกับแม่มีความรักให้กันและกัน แล้วส่งความรักไปให้กับลูก ลูกได้รับความรักจากพ่อและแม่ ที่ส่งผ่านไปพร้อมกับส่งความรักกลับมายังพ่อและแม่ ทั้งสามมีความสมดุลกันในความรัก ทำให้สามเหลี่ยมครอบครัวเป็นสามเหลี่ยมที่สมดุล และมั่นคง แต่ในชีวิตจริงไม่ได้มีเฉพาะสามเหลี่ยมครอบครัว พ่อ แม่และลูก ยังมีสามเหลี่ยมรอบ ๆ ตัวอีกมาก บางกลุ่มมีความสัมพันธ์กัน บางกลุ่มไม่มีความสัมพันธ์กัน มากระทบทำให้สามเหลี่ยมครอบครัวเสียสมดุลลงได้ หรือเกิดจากภายในสามเหลี่ยมครอบครัวเอง  เมื่อสามเหลี่ยมครอบครัวพังทลาย ย่อมไม่เป็นสามเหลี่ยมครอบครัวอีกต่อไป แต่ความเป็นครอบครัวยังมีอยู่ อาจจะเป็นครอบครัวพ่อเลี้ยงเดียว หรือแม่เลี้ยงเดี่ยว หรือมีการสร้างสามเหลี่ยมครอบครัวขึ้นมาใหม่อีกครั้งก็ได้ ดังนั้น ครอบครัวย่อมไม่มีสลาย แต่มีการเปลี่ยนรูปแบบ

9809 1

ภาพสามเหลี่ยมครอบครัวคณิตศาสตร์การบวก
ที่มา : ปิยวดี  เอ่งฉ้วน

          

9809 2

  1. ครอบครัวสามเหลี่ยมคณิตศาสตร์การบวก

   9809 3

           จาก A = B + C และ A = C + B

           ดังนั้น B + C = C + B แสดงให้เห็นว่า จำนวนสองจำนวนที่นำมาบวกกัน สามารถสลับที่กันได้ โดยที่ผลบวกยังคงเท่าเดิม เรียกว่า สมบัติการสลับที่ของการบวก

   

        ตัวอย่างที่ 1 หาผลบวกของ 23 กับ 41

        วิธีทำ                                               

9809 4

 

          จากสามเหลี่ยมครอบครัวคณิตศาสตร์การบวก จะได้ 23 + 41 = ? หรือ 41 + 23 = ?

  1. 23 + 41 = ?

           วิธีทำ            

          9809 5            

            ดังนั้น 23 + 41 = 64     ตอบ 64

  1. 41 + 23 = ?

           วิธีทำ

          9809 6

            ดังนั้น 41 +23 = 64    ตอบ 64

          9809 7

          ดังนั้น 41 + 23 = 64

          จากสามเหลี่ยมครอบครัวคณิตศาสตร์การบวก จะเห็นว่า 23 + 41 = 64 หรือ 41 + 23 = 64 ซึ่งตรงกับสมบัติการสลับที่ของการบวก คือ 23 + 41 =  41 + 23 ผลบวก คือ 64

 

        ตัวอย่างที่ 2 หาผลบวกของ 72 กับ 27

        วิธีทำ      

          9809 8       

          จากสามเหลี่ยมครอบครัวคณิตศาสตร์การบวกจะได้ 72 + 27 = ? 27 + 72 = ?

  1. 72 + 27 = ?

          วิธีทำ

9809 9

 

          ดังนั้น 72 + 27  =99     ตอบ 99

  1. 27 + 72 = ?

          วิธีทำ

9809 10

          ดังนั้น 27 + 72 = 99      ตอบ 99

         9809 11

          จากสามเหลี่ยมครอบครัวคณิตศาสตร์การบวก จะเห็นว่า 72 + 27 = 99 หรือ 27 + 72 = 99 ซึ่งตรงกับสมบัติการสลับที่ของการบวก คือ 72 + 27 = 27 + 72 ผลบวก คือ 99

 

9809 12

          ยังไม่จบเพียงเท่านี้ เราจะมาทำความรู้จักกับสามเหลี่ยมครอบครัวคณิตศาสตร์การลบ ในตอนหน้า

แหล่งที่มา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2561.  หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ป.4 เล่ม 1.  กรุงเทพมหานคร ; โรงพิมพ์ สกสค.  

นิติกร ระดม. 2551. คู่มือครู อจท. คณิตศาสตร์ ป6.  กรุงเทพมหานคร ; อักษรเจริญทัศน์

สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.). 2558. คู่มือครู คณิตศาสตร์ ป.6 .  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด

Gare, B., & Hoven, J. (2007). Singapore Math Using the Bar Model Approach : Simple or Complex. Educational Leadership. 65 NO 3 November 2007.

Greative Constructions. (2006). FACT FAMILIES.  สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2561, จาก http:// greenmonsterlearning.com/pdf/CreativeConstructions.pdf

www.everydaymathonline.com. 4.6 Multiplication and division Fact Families. สืบค้นเมื่อ  5 ธันวาคม 2561, จาก https://emccss.everydaymathonline.com/em-crosswalk/pdf/3/g3_tlg_lesson_4_6.pdf

www.everydaymathonline.com. 4.6 Multiplication and division Fact Families. สืบค้นเมื่อ  5 ธันวาคม 2561, จาก https://emccss.everydaymathonline.com/em-crosswalk/pdf/1/g1_tlg_lesson_6_3.pdf

Math-Drills.com. (2005-2018).  fact family worksheets.  สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2561, จาก https://www.math-drills.com/factfamilyworksheets.php

THE BLOG SURGERY. (2018). DIY Math Fact Family Triangles. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2561, จาก https://rainydaymum.co.uk/diy-math-fact-family-triangles/

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. 4 มิถุนายน 2018. เลี้ยงลูกให้ได้ดีภาค2 โครงสร้างครอบครัว. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2561, จาก https://facebook.com/prasertpp/posts/630225413992623

                                          

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
สามเหลี่ยม, ครอบครัว, การบวก, สมดุล, พ่อ, แม่, ลูก
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 08 กุมภาพันธ์ 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นางสาวปิยวดี เอ่งฉ้วน
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
คณิตศาสตร์
ระดับชั้น
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ช่วงชั้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 9809 สามเหลี่ยมครอบครัวคณิตศาสตร์การบวก /article-mathematics/item/9809-2019-02-21-07-40-44
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)