logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ตารางกราฟทศนิยมสองตำแหน่ง

โดย :
ปิยวดี เอ่งฉ้วน
เมื่อ :
วันพุธ, 10 เมษายน 2562
Hits
22988

      กระดาษกราฟ คือ กระดาษที่มีตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัส ช่วยในการคัดลายมือภาษาไทย สร้างแผนภูมิ และช่วยในการร่างภาพสองมิติได้ง่ายขึ้น

9595 1

ภาพที่ 1 บทความเรื่องตารางกราฟทศนิยมสองตำแหน่ง
ที่มา : ปิยวดี เอ่งฉ้วน

          ปัจจุบันกระดาษกราฟมีความนิยมมากขึ้น โดยการนำไปช่วยในการการจดบันทึกต่าง ๆ เนื่องจากทำให้ตัวหนังสือที่เขียนมีขนาดเท่ากันดูสวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย จะเขียนกราฟ หรือเขียนตารางก็สะดวก ซึ่งการจดบันทึกกับสมุดกราฟทำให้การขีดเขียนบันทึกมีความสนุกกว่าสมุด หรือกระดาษเปล่า

9595 2

ภาพที่ 2 ทศนิยมสองตำแหน่ง คือ 0.50
ที่มา : ปิยวดี เอ่งฉ้วน

          จากภาพที่ 2 ตาราง 100 ช่อง มีการระบายสีเพียง 50 ช่อง หมายถึง 50 ส่วนใน 100 ส่วนเท่ากัน เขียนในรูปทศนิยมเป็น 0.50

9595 3
ภาพที่ 3 ทศนิยมสองตำแหน่ง คือ 0.95
ที่มา : ปิยวดี เอ่งฉ้วน

          จากภาพที่ 3 ตาราง 100 ช่อง มีการระบายสีเพียง 95 ช่อง หมายถึง 95 ส่วนใน 100 ส่วนเท่ากัน เขียนในรูปทศนิยมเป็น 0.95

          ตารางกราฟทศนิยมสองตำแหน่ง ทำให้ผู้เรียนคิดสร้างสรรค์ผลงานออกมาผ่านกระดาษกราฟ โดยเชื่อมโยงเกี่ยวกับเรื่องทศนิยม ตามขั้นตอน คือ ขั้นเริ่มต้น ให้ผู้เรียนแต่ละคนเขียนตาราง 100 ช่อง ในขั้นตอนนี้ใช้เวลานานมาก เนื่องจากผู้เรียนเขียนตารางไม่ถูกต้อง ใช้เวลาในการลองผิดลองถูก จนกระทั่งเกิดความกระจ่างในการเขียนตาราง 100 ช่อง อย่างถูกต้อง ขั้นครุ่นคิด จากการลองผิดลองถูกทำให้ผู้เรียนใช้จิตนาการในการคิด ไตร่ตรอง เมื่อไม่ได้จริง ๆ ก็จะมีการใช้วิธีเพื่อนช่วยเพื่อนในการครุ่นคิด ในขั้นตอนนี้ทำให้เกิดการแสวงหาคำตอบ  ขั้นเกิดความคิด เมื่อผู้เรียนมีการแสวงหาคำตอบ จากเพื่อน จากการค้นคว้าจากหนังสือที่เรียน จะทำให้ผู้เรียนแต่ละคนได้สร้างสรรค์ผลงาน ในการระบายสีแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน เนื่องจากการเกิดความคิดแต่ละคนอิสระ ขั้นปรับปรุง เมื่อมีการระบายสีลงไปตามจินตนาการ ผู้เรียนก็จะเริ่มที่จะเกิดความคิดในการระบายสีลงไปในช่องมีความถูกต้องตามโจทย์ที่ตั้งไว้หรือไม่ พร้อมทั้งมีการตกแต่งให้สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้ผลงานออกมาสมบูรณ์ที่สุด

9595 4

ภาพที่ 4 ทศนิยมสองตำแหน่ง คือ 0.54
ที่มา : ปิยวดี เอ่งฉ้วน

9595 5

ภาพที่ 5 ทศนิยมสองตำแหน่ง คือ 0.95
ที่มา : ปิยวดี เอ่งฉ้วน

          ตารางกราฟทศนิยมสองตำแหน่ง ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ ในระหว่างที่ผู้เรียนสร้างสรรค์ผลงานออกมาให้สำเร็จนั้น ผู้เรียนจะต้องใช้สมาธิจดจ่อในการคิด หากไม่มีสมาธิผลงานจะไม่มีทางสำเร็จได้ ดังนั้นการใช้ตารางกราฟช่วยในการเรียนเรื่องทศนิยมยังช่วยให้ผู้เรียนมีสมาธิเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว

          การใช้กระดาษกราฟมาช่วยทำให้เกิดการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ การแสดงออกทางความคิดอย่างถูกต้อง การช่วยผ่อนคลายอารมณ์ของผู้เรียน ทำให้เกิดสมาธิ รวมทั้งก่อเกิดการแบ่งปัน เอื้อเฟื้อ การยอมรับความคิดเห็นของเพื่อน ๆ ดังนั้นตารางกราฟทศนิยมสองตำแหน่ง เป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้าใจในคณิตศาสตร์พื้นฐาน รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล แสดงขั้นวิธีคิดอย่างมีระเบียบ ชัดเจน ทำให้ผู้เรียนรู้คุณค่าของวิชาคณิตศาสตร์ สามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

แหล่งที่มา

ประยูร อาษานาม. (2537). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาหลักการและแนว ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก

พนมพร เผ่าเจริญ. (2541).  “การสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือ” ผลงานทางวิชาการการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. (2528).  จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2542).  การสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พนทพร บุปผาวัลย์. (2534). ผลการฝึกสมาธิก่อนสอบซ่อมเสริมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์.ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกประถมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ตาราง,กราฟ,ทศนิยม,สองตำแหน่ง
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 14 มีนาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ปิยวดี เอ่งฉ้วน
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
คณิตศาสตร์
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ช่วงชั้น
ประถมศึกษาตอนต้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 9595 ตารางกราฟทศนิยมสองตำแหน่ง /article-mathematics/item/9595-2018-12-13-07-53-33
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)