เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยแผนการสอนคณิตศาสตร์แบบ Learning Style
มาตรา 22 ของพระราชบัญญัติการศึกษากล่าวว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” ทั้งนี้ผู้เรียนแต่ละคนจะมีความสามารถในการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้และรูปแบบการเรียน (Learning Style)ที่ไม่เหมือนกัน บางคนเรียนได้ดีถ้ามีกิจกรรมหลายๆอย่าง และมีอุปกรณ์การสอน บางคนชอบเรียนโดยการค้นคว้าตามลำพังหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน ดังนั้น การทำความเข้าใจในรูปแบบการเรียนจะช่วยให้ทราบว่าผู้เรียนในห้องเรียนมีความถนัดที่จะเรียนรู้ในลักษณะใดบ้าง อันจะเป็นหนทางในการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม และที่สำคัญกว่านั้น ยังเป็นการให้ความเสมอภาคและเป็นธรรมแก่ผู้เรียนทุกคนอีกด้วย
Learning Styles เป็นลักษณะของพฤติกรรมการเรียนรู้ที่สังเกตเห็น คล้ายกับบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งพฤติกรรมนี้เป็นสิ่งที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ มีนักการศึกษาหลายท่านที่แบ่งประเภทของ Learning Styles โดยยึดหลักที่แตกต่างกันไป ในที่นี้ผู้เขียนจะขอแบ่งตามเส้นทางการรับรู้ข้อมูลของมนุษย์ ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้
1. Visual learning (การเรียนรู้โดยการใช้สายตา) หมายความถึงการใช้สายตาอ่านเรื่องและการศึกษาแผนผัง แผนภูมิ และสื่อประกอบภาพอื่นๆ เช่น รูปภาพ ป้ายประกาศ วีดีทัศน์และภาพยนตร์
2. Auditory learning (การเรียนรู้โดยการฟัง) หมายความถึง งานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฟัง เช่น การฟังการบรรยาย บทสนทนา แถบบันทึกเสียง และคำสั่ง
3. Kinesthetic learning/ Tactile learning (การเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติกิจกรรม) หมายถึง การเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำงานต่างๆ (hands-on) ได้แก่ การสร้างรูปจำลอง การทำการทดลอง และการเรียนจากวัตถุต่างๆที่จับต้องได้ เช่น สมุดภาพ หรือ บัตรคำ หรือการเรียนรู้จากการเคลื่อนไหวในสถานการณ์การเรียนนั้น เช่น การแสดงบทบาทสมมติ การแสดงละคร และการสัมภาษณ์ รวมถึงการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง (experiential learning) ด้วย
ในความเป็นจริงของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนครั้งหนึ่ง ครูคงไม่สามารถจัดกิจกรรมที่จะตอบสนองนักเรียนได้ทุกคน การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีความหลากหลาย ตามลักษณะ Learning Styles แต่ละแบบ จะช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนมีโอกาสได้เรียนรู้ตามความถนัดและความสนใจมากขึ้น ผู้เขียนขอยกตัวอย่างแผนการสอนแบบ Learning Styles เพื่อให้มองเห็นภาพ ดังนี้
ครู , โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี อ.เมือง จ.สระบุรี
และนิสิตปริญญาเอก สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
แผนการจัดการเรียนรู้ : หน่วยการเรียนรู้ คู่อันดับและกราฟ
รายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน (ค 31101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
เรื่อง กราฟของคู่อันดับ เวลา 2 ชั่วโมง
จุดประสงค์
(Objective)
- เขียนกราฟเพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของกลุ่มสองกลุ่มมาให้ได้
- อ่านคู่อันดับจากจุดบนกราฟได้
มโนทัศน์ (Concept)
ในการเขียนกราฟของคู่อันดับบนระนาบ จุดที่เส้นจำนวนทั้งสองตัดกันเรียกว่า จุดกำเนิด (origin) นิยมเขียนแทนด้วยจุด O เส้นจำนวนในแนวนอนเรียกว่า “แกนนอน หรือแกน X” เส้นจำนวนในแนวตั้งเรียกว่า “แกนตั้ง หรือแกน Y”
ระนาบจำนวนจะถูกเส้นจำนวนทั้งสองแบ่งออกเป็น 4 ส่วน แต่ละส่วนเรียกว่า จตุภาค ดังรูป
จุดแต่ละจุดที่อยู่บนระนาบจำนวนจะแทนคู่อันดับหนึ่งคู่ สมาชิกตัวแรกของคู่อันดับแสดงจำนวนที่อยู่บนแกน X และสมาชิกตัวหลังของคู่อันดับแสดงจำนวนที่อยู่บนแกน Y เช่น คู่อันดับ (x , y) เป็นจุดที่อยู่ห่างจากแกนตั้ง x หน่วย และห่างจากแกนนอน y หน่วย
คำสำคัญ (Key words)
แกนนอน (X – axis) แกนตั้ง (Y – axis)
พิกัด (Coordinate)
จตุภาค (Quadrant)
สื่อและแหล่งเรียนรู้ (Materials / Resources)
- http://www.kanid.com/service.php
- ใบงาน ถอดรหัสคำศัพท์
- ใบกิจกรรมฝึกปฏิบัติ
กลวิธีการสอนที่แตกต่างกัน (Differentation Strategies)
- Varying academic levels : ใช้การแบ่งกลุ่มคละความสามารถเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากคนอื่น
- Visual learners : ใช้การสังเกต หรือการอ่านศึกษาจากหนังสือ/เว็บไซด์
- Auditory : ใช้การฟังบรรยายเรื่องราว และสรุปย้ำเตือน
- Kinesthetic learners : ส่งเสริมให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติและนำเสนอผลงานหน้าชั้น
กระบวนการเรียนการสอน (Procedures)
ขั้นเตรียมความพร้อม (Warm Up)
ครูสนทนาถึงการกำหนดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยที่ใช้เส้นละติจูด และลองติจูดในแผนที่โลก อภิปรายว่าในการกำหนดตำแหน่งบนระนาบจะใช้การอ้างอิงตำแหน่งใน 2 ทิศทาง คือ แนวตั้งและแนวนอน และเราสามารถใช้คู่อันดับแสดงการอ้างอิงใน 2 แนวได้ เช่น
(a, b) แทนจุดที่อยู่ห่างจากแกนตั้ง a หน่วย และห่างจากแกนนอน b หน่วย
ขั้นสอน (Direct Instruction)
นักเรียนศึกษาการเขียนกราฟของคู่อันดับจากเว็บไซด์http://www.kanid.com/service.php
แบ่งกลุ่มนักเรียน กลุ่มละ 4 คน ศึกษาและทำใบกิจกรรมที่ 2 โดยให้ คนที่ 1 ทำข้อ 1 เมื่อตอบแล้ว ส่งต่อไปยังคนที่ 2 ทำข้อที่ 2 เมื่อตอบแล้วส่งต่อไปยังคนที่ 3 ทำข้อ 3 โดยครูเป็นผู้กำหนดเวลาให้แก่นักเรียนทำในแต่ละข้อ
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมาเฉลยคำตอบในแต่ละข้อที่ตนเองทำหน้าชั้นเรียน
ขั้นฝึกหัด (Practice)
นักเรียนแต่ละคนทำใบงาน ถอดรหัสคำศัพท์
ขั้นประเมิน (Assessment)
สังเกตการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม
ตรวจใบงาน/ชิ้นงาน
ขั้นสรุป (Closure)
ครูและนักเรียนช่วยกันอภิปรายและสรุปบทเรียน
มอบหมายงานให้นักเรียนสร้างชิ้นงาน 1 ชิ้น เป็นภาพที่เกิดจากการใช้ความรู้เรื่อง กราฟของคู่อันดับ
Rubrics
การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน |
|
ใบงาน/ชิ้นงาน |
|
ใบกิจกรรมฝึกปฏิบัติ
ใบงาน ถอดรหัสคำศัพท์
(1) (4,-3) , (1,-5) , (0,0) , (-4,-3) , (1,-3) , (2,-1) , (-4,-3)
ชื่อภาษาอังกฤษ......................................ชื่อภาษาไทย........................................
(2) (-6,-1) , (0,0) , (4,5) , (0,3) , (0,0) , (-4,3)
ชื่อภาษาอังกฤษ.....................................ชื่อภาษาไทย........................................
(3) (-4,-3) , (0,0) , (2,-1) , (4,2) , (2,3) , (-4,-3) , (0,3) , (4,5) , (-4,3)
ชื่อภาษาอังกฤษ.....................................ชื่อภาษาไทย........................................
(4) (6,0) , (0,0) , (4,2) , (2,3) , (4,-3) , (1,-5) , (0,0) , (4,2) , (2,3)
ชื่อภาษาอังกฤษ.....................................ชื่อภาษาไทย........................................
(5) (4,2) , (4,5) , (4,2) , (2,3) , (-6,-1) , (0,0) , (2,-1) , (4,2) , (2,3)
ชื่อภาษาอังกฤษ.....................................ชื่อภาษาไทย........................................
(6) (-1,-1) , (4,5) , (4,2) , (1,5) , (1,-5) , (-1,-1)
ชื่อภาษาอังกฤษ.....................................ชื่อภาษาไทย........................................
เฉลยใบงาน ถอดรหัสคำศัพท์
(1) ชื่อภาษาอังกฤษ MUAK LEK ชื่อภาษาไทย มวกเหล็ก
(2) ชื่อภาษาอังกฤษ SAO HAI ชื่อภาษาไทย เสาไห้
(3) ชื่อภาษาอังกฤษ KAENG KHOI ชื่อภาษาไทย แก่งคอย
(4) ชื่อภาษาอังกฤษ WANG MUANG ชื่อภาษาไทย วังม่วง
(5) ชื่อภาษาอังกฤษ NONG SAENG ชื่อภาษาไทย หนองแซง
(6) ชื่อภาษาอังกฤษ DON PUD ชื่อภาษาไทย ดอนพุด
บรรณานุกรม
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2542. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 . กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
Grammatis , Yannis. 1998. Learning Styles. (Online). สืบค้นจาก
http://www.chaminade.org/INSPIRE/learnstl.htm , 15 กุมภาพันธ์ 2552.
Kolb,D.A. 1981. Disciplinary Inquity Norms and Student Learning Style : Divers Pathway for
Growth. The Modern American College. San Francisco :375.
Wikipedia. 2009. Learning styles. (Online). สืบค้นจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Learning_styles ,
5 กุมภาพันธ์ 2552.-
619 เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยแผนการสอนคณิตศาสตร์แบบ Learning Style /index.php/article-mathematics/item/619-learning-styleเพิ่มในรายการโปรด