logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • คณิตศาสตร์
  • คณิตศาสตร์นอกตำรา: ระบบเลขฐานสิบในตลาดนัดโคกระบือ (กรณีศึกษา)

คณิตศาสตร์นอกตำรา: ระบบเลขฐานสิบในตลาดนัดโคกระบือ (กรณีศึกษา)

โดย :
นายปรีชากร ภาชนะ
เมื่อ :
วันจันทร์, 13 กันยายน 2553
Hits
21243

คณิตศาสตร์นอกตำรา: ระบบเลขฐานสิบในตลาดนัดโคกระบือ (กรณีศึกษา)

 

นายปรีชากร  ภาชนะ ตำแหน่ง ครู คศ. 1


ตลาดนัดโคกระบือ เป็นนวัตกรรมด้านการส่งเสริมอาชีพและเศรษฐกิจชุมชนที่สะท้อนให้เห็นความสำคัญของชุมชนการเกษตรด้านการเลี้ยงสัตว์และวิถีชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งพบเห็นว่ามีการเปิดตลาดนัดเพื่อการซื้อ ขายและแลกเปลี่ยนโคกระบือในทั่วทุกภาคของประเทศไทย อีกทั้งมีระบบการบริหารจัดการที่สร้างขึ้นในลักษณะเฉพาะ มีเอกลักษณ์ มีวัฒนธรรมการซื้อ ขายและแลกเปลี่ยนที่แตกต่างไปจากระบบการค้าขายอื่นๆ  (จรัส  สุวรรณมาลาและคณะ, 2547)   โดยกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับตลาดนัดโคกระบือ จะมีความคุ้นเคยและรู้จักเป็นอย่างดี มีลักษณะเฉพาะและมีความเป็นกลุ่มเดียวกันโดยพิจารณาจากภาษา คำศัพท์หรือวิธีการค้าขายที่เป็นเอกลักษณ์ในการสื่อสารหรือสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจร่วมกัน หากคนที่ไม่เคยเข้าไปในตลาดนัดโคกระบือแล้วจะเห็นว่าเป็นภาษาหรือวิธีการค้าขายที่ยากต่อการทำความเข้าใจ

ทั้งนี้จากการลงสนามพื้นที่จริงในตลาดนัดโคกระบือ บ้านหนองแวง ตำบลโอโล อำเภอ   ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเปิดทำการมาแล้ว 20 ปี การศึกษาจากสถานที่และเหตุการณ์จริงในการซื้อ ขายและแลกเปลี่ยนโคกระบือในตลาดนัด โดยเข้าไปเก็บข้อมูลจากการสังเกตบริบท สังเกตระหว่างการซื้อ ขายและการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง ช่วงเวลาที่ทำการศึกษาตั้งแต่เดือนตุลาคม – เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ในระหว่างการออกพื้นที่นั้นดำเนินการบันทึกข้อมูลและดำเนินการวิเคราะห์ตรวจสอบข้อมูลที่ได้ว่ามีความเพียงพอที่จะตอบคำถามในการศึกษาครั้งนี้ ข้อมูลที่ได้มีลักษณะเป็นคำพูดและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างการเก็บข้อมูล โดยการดำเนินการศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่ว่า กลุ่มคนในตลาดนัดโคกระบือ มีวิธีการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์เพื่อความเข้าใจร่วมกันอย่างไรและอธิบายให้เห็นถึงแนวคิดคณิตศาสตร์ในการสื่อความหมายเหล่านั้น โดยการอธิบายให้เห็นแนวคิดคณิตศาสตร์ในมุมมองของคณิตศาสตร์ในโรงเรียน ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า

วิธีการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์มี 2 วิธีการได้แก่การใช้ภาษาพูดและคำศัพท์เฉพาะที่นำมาใช้การค้าขายโคกระบือและการใช้ท่าทางแสดงสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์มาใช้ในการสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจในการค้าขายในตลาดนัดโคกระบือ ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้

วิธีการแรก มีการใช้ภาษาพูดที่ใช้ในการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระบบเลขฐานสิบมีใช้ในตลาดนัดโคกระบือความแตกต่างไปจากระบบเลขฐานสิบที่สอนในโรงเรียน ซึ่งจะเห็นได้จากคำศัพท์ที่ใช้และความหมายที่ได้จากการสังเกตและการสัมภาษณ์ เช่น

คำว่า      เพียง หมายถึง 10,000 บาท

สิบแปด หมายถึง 18,000 บาท

สิบสามห้าร้อย หมายถึง 13,500 บาท

สิบสองน้อย หมายถึง 12,000 บาท

สิบสองใหญ่ หมายถึง 120,000 บาท

ในระบบเลขฐานสิบที่สอนในโรงเรียนมีสัญลักษณ์หรือเลขโดดที่ใช้ในระบบเลขฐานสิบมีสิบตัว คือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8และ 9 ตัวเลขเหล่านี้ใช้เขียนแทนจำนวนใดขึ้นอยู่กับหลักที่ปรากฏอยู่และค่าประจำหลักนั้น ซึ่งจะแสดงหลักและค่าประจำหลักในระบบเลขฐานสิบ

จากการศึกษานี้ คำพูดที่กล่าวถึงข้างต้นนำมาใช้ในการติดต่อ ค้าขายโคกระบือ เช่นคำว่า “สิบแปด (18)”    จะเขียนกระจายในระบบเลขฐานสิบได้ดังนี้ 18 = (1´10) + (8´1) ค่าประจำหลักสิบคือ 10 และค่าประจำหลักหน่วย คือ 1 แต่ความหมายที่ใช้ในตลาดนัดโคกระบือนั้นสิบแปด (18) หมายถึง หนึ่งหมื่นแปดพัน ในหลักหน่วยค่าประจำหลักคือ 1,000 และหลักสิบค่าประจำหลักคือ 10,000 คำว่า สิบสองน้อย และสิบสองใหญ่จะใช้คำว่า “น้อย” หรือ “ใหญ่” แสดงค่าที่มากกว่าหรือน้อยกว่า คำว่า  “สิบสองน้อย” หมายถึง 12,000 เขียนกระจายในระบบเลขฐานสิบ ดังนี้ (1´10,000) + (2´1,000) และคำว่า “สิบสองใหญ่” หมายถึง 120,000 เขียนกระจายในระบบเลขฐานสิบได้ดังนี้ (1´100,000) + (2´12,000) สำหรับในหลักร้อยและหลักพันนั้นในตลาดนัดโคกระบือ จะเหมือนกับที่สอนในโรงเรียนซึ่งค่าประจำหลักร้อยคือ 100 และค่าประจำหลักพัน คือ 1,000 ตามลำดับ ข้อค้นพบสำคัญจากการศึกษานี้พบว่าในระบบเลขฐานสิบที่ใช้ในตลาดนัดโคกระบือนั้นจะใช้เพียงหลักหน่วย หลักสิบ หลักร้อยและหลักพัน สำหรับหลักพันค่าประจำหลักคือ 1,000 จะนำมาใช้บอกราคาโคกระบือที่มีราคา ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท สำหรับหลักร้อยค่าประจำหลักคือ 100 ซึ่งจะใช้พูดสำหรับราคาโคกระบือที่เป็นเศษของราคาที่เสนอ เช่น สิบสามห้ารอย  สิบแปดห้าร้อย เป็นต้น ในส่วนของหลักหน่วยมีค่าประจำหลัก 1,000 และหลักสิบมีค่าประจำหลัก 10,000 ซึ่งทั้งสองหลักนี้จะต้องพูดติดกันหรือคู่กันเสมอ เช่น สิบเจ็ด หมายถึง หนึ่งหมื่นเจ็ดพัน ยี่สิบห้า หมายถึง สองหมื่นห้าพัน เป็นต้น และจะเห็นว่าในตลาดนัดโคกระบือ มีการใช้คำพูดเฉพาะแทนจำนวน เช่น คำว่า “พียง” หมายถึง 10,000 เป็นคำเฉพาะที่มีใช้ในตลาดนัดโคกระบือเท่านั้นและจะไม่ใช้แทนจำนวนอื่นอีก เช่นจะไม่ใช้คำว่า สองเพียง แทน 20,000 หรือ สามเพียง แทน 30,000

วิธีการที่สอง การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อความหมายและสื่อความเข้าใจเกี่ยวกับการเสนอราคาขายโคกระบือ ซึ่งจากภาพที่ 1 ที่นำเสนอนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายแสดงให้เห็นว่าราคาของโคหรือกระบือมีราคา 20,000 บาท โดยคนที่เสนอราคาจะชูนิ้วมือสองนิ้วขึ้นเหนือศีรษะสองนิ้ว ซึ่งไม่ได้แสดงว่าแทนจำนวนสอง แต่สองนิ้วที่ชู้ขึ้นมานี้แสดงราคาโค กระบือ ราคา 20,000 บาท ซึ่งคนที่พบสัญลักษณ์ในตลาดนัดโคกระบือจะเข้าใจทันทีโดยที่ไม่ต้องถามราคาหรืออธิบายความหมาย หากผู้ซื้อหรือผู้ขายไม่พอใจราคาอย่างไรก็จะมีการต่อรองราคากันตามความพอใจอีกครั้งหนึ่ง วิธีการนี้แตกต่างจากภาษาพูดที่นำเสนอมาแล้วนั้นแต่ความหมายที่อธิบายด้วยระบบเลขฐานสิบจะเหมือนกับคำว่า ยี่สิบ (20) ที่เป็นภาษาพูดนั่นเอง


ภาพที่ 1 สัญลักษณ์แสดงการเสนอราคาโคกระบือ

สำหรับภาพที่ 2 มีความการใช้สัญลักษณ์แทนราคาโคกระบือ โดยชูนิ้วมือทั้งสองมือ ข้างหนึ่งชูหนึ่งนิ้วและอีกข้างหนึ่งชูสองนิ้ว จำนวนนิ้วมือที่แสดงนี้มีความหมายว่าราคาโคหรือกระบือมีราคา 12,000 บาท ซึ่งนิ้วหนึ่งที่ชูขึ้นมานั้นเท่ากับ 10,000 บาทและสองนิ้วที่ชูมานั้นเท่ากับ 2,000 บาท ความหมายที่อธิบายด้วยระบบเลขฐานสิบจะเหมือนกับคำว่า สิบสอง (12) ที่ภาษาพูดในตลาดนัดโคกระบือเหมือนกับที่กล่าวข้างต้นแล้ว จากการสัมภาษณ์สัญลักษณ์เหล่านี้ในตลาดนัดโคกระบือ จะเข้าใจว่าราคาเท่าไรและเป็นที่พอใจหรือไม่ เพราะมีการพิจารณาราคาที่เสนอกับขนาดของโค กระบือว่ามีความเหมาะสมกันหรือไม่


ภาพที่ 2 สัญลักษณ์แสดงการเสนอราคาโคกระบือ

 

ทั้งนี้จากที่กล่าวถึงเห็นว่าระบบเลขฐานสิบที่ใช้ในตลาดนัดโคกระบือและอธิบายความหมายแล้วนั้น แสดงให้เห็นถึงวิธีการและระบบการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อการสื่อสารหรือสื่อความหมายร่วมกันของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องในตลาดนัดโคกระบือ ซึ่งจะถูกสร้างขึ้นเมื่อใดนั้นเป็นเรื่องยากที่จะศึกษาให้รู้ได้ เพราะภาษาเฉพาะหรือวิธีการสื่อความหมายเหล่านี้มีใช้กันมาอย่างยาวนานและเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นหรือเป็นวิถีชีวิตเฉพาะของชุมชน จากการศึกษานี้ยังพบว่าระบบการค่าขาย ระบบเลขฐานสิบที่สร้างขึ้นในตลาดนัดโคกระบือมานี้เป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวก ภาษาพูดสั้นๆ และง่ายๆ ในการใช้งานและเกิดความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร สำหรับคนที่จะใช้หรือทำความเข้าใจระบบเลขฐานสิบในตลาดนัดโคกระบือนี้ได้ เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จากการติดต่อค้าขายจนเกิดความชำนาญและได้ใช้อย่างสม่ำเสมอ โดยไม่มีการสอนหรือฝึกเป็นพิเศษ จึงทำให้กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับตลาดนัดโคกระบือมีความเข้าใจภาษาหรือสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ร่วมกัน

ทั้งนี้จากการศึกษานี้จะเห็นว่าตลาดนัดโคกระบือ เป็นแหล่งการเรียนรู้เชิงบูรณาการหลากหลายสาขาวิชา ทั้งคณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคมศึกษา การงานอาชีพ เป็นต้น เราสามารถจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในแหล่งการเรียนรู้ที่อยู่ใกล้ตัวของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ในบริบทที่แตกต่างไปจากบริบทการเรียนในโรงเรียนและอีกทั้งจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักและเห็นคุณค่าของวิถีชีวิตของคนในชุมชนและเห็นความสัมพันธ์ระหว่างความรู้คณิตศาสตร์ที่เรียนในโรงเรียนกับความรู้คณิตศาสตร์ที่อยู่ในบริบทของชีวิตชาวบ้าน

 

 

เอกสารอ้างอิง

จรัส  สุวรรณมาลาและคณะ.  (2547). นามานุกรมนวัตกรรมท้องถิ่นไทย พ.ศ. 2547. พิมพ์ครั้งที่ 2.

กรุงเทพฯ:  โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.  (2549). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้

เพิ่มเติม คณิตศาสตร์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 7.  กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

 


หัวเรื่อง และคำสำคัญ
เลขฐานสิบ, ตลาดนัดโคกระบือ, สื่อสารทางคณิตศาสตร์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 13 กันยายน 2553
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ปรีชากร ภาชนะ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
คณิตศาสตร์
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 608 คณิตศาสตร์นอกตำรา: ระบบเลขฐานสิบในตลาดนัดโคกระบือ (กรณีศึกษา) /article-mathematics/item/608-decimal-system
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
Refined salt (เกลือบริสุทธิ์) อันตรายจริงหรือ???
Refined salt (เกลือบริสุทธิ์) อันตรายจริ...
Hits ฮิต (34949)
ให้คะแนน
Refined salt และ Unrefined salt เกลือก็คือเกลือใช่หรือ?? แน่นอนว่าบางทีก็ไม่ใช่เสมอไป เช่นเดียวกับร ...
การบอกลักษณะคุณภาพน้ำในชุมชนของเรา
การบอกลักษณะคุณภาพน้ำในชุมชนของเรา
Hits ฮิต (29296)
ให้คะแนน
การบอกลักษณะคุณภาพน้ำในชุมชนของเรา สุทธินันท์ เเต่ยธรพกุล บทความที่เรียบเรียงขึ้นนี้เป็นตัวอย่างหนึ ...
ไวน์, รสชาติ, บ่ม, แทนนิน, Tannin, สารประกอบฟีนอล, Phenolic  ...
ไวน์, รสชาติ, บ่ม, แทนนิน, Tannin, สารปร...
Hits ฮิต (12561)
ให้คะแนน
ผู้คนมีแนวโน้มที่จะซื้อไวน์ขวดเก่าเป็นของที่ระลึกด้วยความเชื่อที่ว่า การเก็บรักษาไวน์ไว้เป็นเวลานาน ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)