logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

วงรีสลายนิ่ว

โดย :
พัฒนชัย รวิวรรณ
เมื่อ :
วันอังคาร, 20 มิถุนายน 2566
Hits
1230

   ในปัจจุบันโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะเป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แต่จะพบในชายมากกว่าหญิงประมาณ 3 เท่า สำหรับประเทศไทยจะพบคนที่เป็นโรคนิ่วมากในภาคเหนือและภาคอีสาน

   ทางการแพทย์จึงให้ความสำคัญกับการรักษาโรคนี้ และมีการพัฒนาวิธีการรักษาอยู่ตลอดเวลา จนในปัจจุบันมีวิธีการรักษาแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการรักษาจากภายนอกและใช้เวลาพักฟื้นไม่นานนัก แต่สิ่งที่น่าทึ่งคือการรักษาด้วยวิธีนี้ ได้นำความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์มาช่วยในกระบวนการดำเนินงานด้วย

   นิ่ว เป็นสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในร่างกายของเรา นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะเกิดจากการตกผลึกของตะกอนในปัสสาวะ เช่น หินปูน (แคลเซียม) ออกซาเลต ฟอสเฟต กรดยูริก และซีสตีน ดังนั้นอวัยวะใดที่ปัสสาวะผ่านในระบบทางเดินปัสสาวะ ดังรูปที่ 1 ก็จะทำให้เกิดนิ่วได้ นิ่วจึงสามารถเกิดได้ทั้งในไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ

ระบบทางเดินปัสสาวะ

รูปที่ 1 ระบบทางเดินปัสสาวะ
ที่มา: http://bomsand.blogspot.com/2013_01_01_archive.html

   “อั้นฉี่นาน ๆ ระวังเป็นนิ่วนะ” เป็นวลีที่คงจะคุ้นหูตั้งแต่เด็ก เพราะว่าการอั้นปัสสาวะนาน ๆ จะทำให้ตะกอนที่อยู่ในปัสสาวะตกค้างอยู่ในระบบทางเดินปัสสาวะ เมื่อนานเข้าตะกอนก็จะสะสมกันจนเกิดเป็นก้อนนิ่ว นอกจากนั้น เพศ อายุ กรรมพันธุ์ ปริมาณน้ำที่ดื่ม ก็ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดนิ่วได้อีกด้วย

   โดยปกติ นิ่วที่มีขนาดเล็กจะหลุดออกได้เองพร้อมกับปัสสาวะโดยการดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ รับประทานยาละลายนิ่ว หรือยาขับปัสสาวะ ในกรณีที่นิ่วมีขนาดใหญ่จนร่างกายไม่สามารถขับออกมาได้ จำเป็นที่จะต้องใช้วิธีการรักษาแบบอื่นที่เรียกว่า lithotripsy และในบทความนี้ จะขอพูดถึงวิธีการรักษาดังกล่าว เนื่องจากเครื่องมือที่ใช้ มีความน่าสนใจทางคณิตศาสตร์ เพราะใช้สมบัติการสะท้อนของวงรีในกระบวนการทำงาน แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ จะเหมาะกับนิ่วที่อยู่ในไตและท่อไต และนิ่วจะต้องมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร ถ้านิ่วมีขนาดใหญ่กว่านี้ ต้องใช้วิธีการผ่าตัด

   วงรีมีสมบัติที่มีความสำคัญประการหนึ่ง คือ สมบัติการสะท้อน เช่น ถ้าสร้างทรงรีให้เป็นกระจกที่สะท้อนแสงได้ แล้วแสงจะเดินทางจากโฟกัสหนึ่งของทรงรีไปกระทบกับพื้นผิวของทรงรี จากนั้นจะถูกสะท้อนไปยังโฟกัสที่สองของทรงรี ดังรูปที่ 2

การสะท้อนของวงรี

รูปที่ 2 การสะท้อนของวงรี

   สมบัติดังกล่าวอธิบายได้โดยเริ่มจากกฎการสะท้อนของบนเส้นตรง เพราะเมื่อแสงเดินทางไปกระทบกับเส้นตรงแล้ว แสงจะถูกสะท้อนออกมาโดยมุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน ดังรูปที่ 3 ทำให้แสดงได้ด้วยว่าระยะทางของแสงที่เดินทางจากจุด R ไปกระทบจุด O แล้วสะท้อนไปยังจุด S เป็นระยะทางที่สั้นที่สุด เมื่อเทียบกับระยะทางที่แสงเดินทางจากจุด R ไปกระทบจุดอื่น ๆ บนเส้นตรง M แล้วสะท้อนไปยังจุด S (อ่านวิธีการพิสูจน์ได้จากหนังสือเพิ่มเติมเสริมศักยภาพการเรียนรู้คณิตศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) : เรขาคณิตวิเคราะห์)

   จากรูปที่ 2 ถ้าจะแสดงว่าแสงเดินทางจากจุด F1 ไปกระทบกับพื้นผิวทรงรีที่จุด P แล้วสะท้อนไปยังจุด F2 ก็เพียงแค่แสดงว่าระยะทางของแสงที่เดินทางจากจุด F1 ไปกระทบผิวทรงรีที่จุด Pแล้วสะท้อนไปยังจุด F2 เป็นระยะทางที่สั้นที่สุดเมื่อเทียบกับระยะทางที่แสงเดินทางจากจุด F1 ไปกระทบจุดอื่น ๆ บนเส้นสัมผัสวงรีที่จุด P แล้วสะท้อนไปยังจุด F2 ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ ดังนี้

การสะท้อนของแสงบนเส้นตรง

รูปที่ 3 การสะท้อนของแสงบนเส้นตรง

การพิสูจน์ จากรูปที่ 4 ให้ A เป็นจุดใด ๆ บนวงรี สร้างเส้นตรง l ซึ่งเป็นเส้นสัมผัสของวงรีที่จุด A

                                ให้ B เป็นจุดใด ๆ บนเส้นตรง l โดยที่จุด B ไม่ทับจุด A

                                ให้ C เป็นจุดตัดของวงรีกับเส้นตรง BF2

               จากบทนิยามของวงรี จะได้ว่า

                                F1C + CF2 = F1A + AF2

               จากอสมการอิงรูปสามเหลี่ยม (triangle inequality) จะได้ว่า

                                F1B + BC > F1C

               ดังนั้น        F1B + BF2 = F1B + BC + CF2 > F1C + CF2 = F1A + AF2

               จะได้ว่าจุด A เป็นจุดบนเส้นตรง l ที่ทำให้ระยะทางของแสงที่เดินทางจาก F1 ไปตกกระทบเส้นตรง l  แล้วสะท้อนไปยัง F2 เป็นระยะทางที่สั้นที่สุด จากหลักการสะท้อนแสงบนเส้นตรงที่ได้กล่าวมา จะได้ว่ามุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน ดังนั้นแสงที่เดินทางจากโฟกัสหนึ่งของทรงรีไปกระทบกับพื้นผิวของทรงรีจะถูกสะท้อนไปยังอีกโฟกัสหนึ่งของทรงรีเสมอ

การพิสูจน์

รูปที่ 4

   สมบัติการสะท้อนนี้ไม่ได้เป็นจริงสำหรับแสงเท่านั้น แต่ยังเป็นจริงสำหรับคลื่นเสียงด้วย และสมบัตินี้เองที่ถูกนำไปใช้เป็นกระบวนการทำงานของเครื่องสลายนิ่ว (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy/ESWL machine) โดยเครื่องสลายนิ่วถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นรูปครึ่งทรงรี และมีแหล่งกำเนิดคลื่นเสียงความถี่สูงอยู่ในตำแหน่งโฟกัสที่หนึ่งของทรงรี การสลายนิ่วด้วยเครื่องนี้ จะเลื่อนเครื่องสลายนิ่วเข้าไปใกล้ตัวผู้ป่วยจนตำแหน่งโฟกัสที่สองของทรงรีตรงกับตำแหน่งของนิ่ว เมื่อปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูงออกจากแหล่งกำเนิดคลื่นเสียงตรงตำแหน่งโฟกัสที่หนึ่ง คลื่นเสียงก็จะเคลื่อนที่ไปกระทบกับผิวของทรงรี จากสมบัติการสะท้อนของทรงรี ไม่ว่าคลื่นเสียงไปกระทบที่ส่วนไหนของทรงรีก็ตาม คลื่นจะถูกสะท้อนไปยังจุดโฟกัสที่สองเสมอ นั่นคือตำแหน่งของนิ่วดัง รูปที่ 5 ดังนั้นตำแหน่งของนิ่วจึงเป็นจุดรวมของคลื่นเสียงที่ถูกสะท้อนจากทรงรีทุกทิศทุกทาง ซึ่งทำให้เกิดการสั่นสะเทือนที่ก้อนนิ่ว และทำให้ก้อนนิ่วแตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ในที่สุด โดยจะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นร่างกายก็จะขับก้อนนิ่วที่แตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ออกมาทางปัสสาวะ

   เครื่องสลายนิ่วเป็นเครื่องมือที่ใช้ภายนอกร่างกาย ดังนั้นผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีนี้ จะไม่ได้รับความเจ็บปวดมากนัก และสามารถกลับบ้านได้ภายใน 1 วัน ด้วยเหตุนี้วิธีการรักษานิ่วโดยใช้เครื่องสลายนิ่วจึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย

   ไม่เพียงแต่วงรีเท่านั้น รูปเรขาคณิตอื่น ๆ ก็มีสมบัติ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาต่าง ๆ หรือช่วยในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ เช่น การใช้สมบัติของพาราโบลาในการสร้างจานรับส่งสัญญาณ การใช้สมบัติของไฮเพอร์โบลาในการสร้างกล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ศึกษาคณิตศาสตร์จากชีวิตจริงจะช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นประโยชน์ในการเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต และเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนสำหรับการทำงานในอนาคต

เครื่องสลายนิ่ว (ESWL)

รูปที่ 5 เครื่องสลายนิ่ว (ESWL)
ที่มา: http://bme240.eng.uci.edu/students/09s/ysantoro/CurrTechn.html

บรรณานุกรม

Natasha Glydon. Lithotripsy – A Medical Application of theEllipse. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2557, จาก http://mathcentral.uregina.ca/beyond/articles/Lithotripsy/lithotripsy1.html

วิสูตร คงเจริญสมบัติ. (2557). อาการและการรักษานิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2557, จาก http://www.prostate-rama.com/reading_detailphp?cid=5

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กระทรวงศึกษาธิการ(2557). หนังสือเพิ่มเติมเสริมศักยภาพการเรียนรู้คณิตศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) : เรขาคณิตวิเคราะห์ กรุงเทพมหานคร:สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
วงรี, นิ่ว, สลายนิ่ว, ปัสสาวะ, หินปูน, แคลเซียม, ออกซาเลต, ฟอสเฟต, กรดยูริก, ซีสตีน
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
พัฒนชัย รวิวรรณ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
คณิตศาสตร์
ระดับชั้น
ปฐมวัย
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
ปฐมวัย
ประถมศึกษาตอนต้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 12806 วงรีสลายนิ่ว /article-mathematics/item/12806-2023-01-20-06-44-09
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    ซีสตีน ฟอสเฟต ออกซาเลต แคลเซียม หินปูน ปัสสาวะ สลายนิ่ว วงรี นิ่ว กรดยูริก
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)