logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ไขรหัสความลับเวลาและพิชิตซีกโลกซ้ายขวา ณ หอดูดาวกรีนิช ประเทศอังกฤษ

โดย :
ดร.อลงกต ใหม่ด้วง
เมื่อ :
วันอังคาร, 18 เมษายน 2566
Hits
470

            สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่คนรักวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งดาราศาสตร์ ไม่สามารถมองข้ามหากมีโอกาสได้ไปเยือน กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ก็คือหอดูดาวหลวงที่ตำบลกรีนิขซึ่งมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน แถมยังเป็นสถานที่สำคัญในทางภูมิศาสตร์และเวลาของโลกในปัจจุบันเนื่องจากเป็นตำแหน่งที่กำหนดให้เป็นเส้นลองจิจูด 0 องศา หรือที่เรียกว่าเส้นเมริเดียนปฐม ซึ่งเป็นเส้นอ้างอิงสำคัญในการแบ่งโซนเวลารวมทั้งแบ่งซึกโลกออกเป็นฝั่งซ้ายและฝั่งขวานั่นเอง

            หอดูดาวหลวงที่ตำบลกรีนิชนี้สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1675 โดยกษัตริย์ Charles ที่ 2 ทรงแต่งตั้งให้ John Flamsteed เป็นนักดาราศาสตร์หลวงทำหน้าที่ศึกษาและพัฒนาแผนที่ดาวซึ่งมีประโยชน์ต่อการเดินเรือในสมัยนั้นโดยใช้หอดูดาวแห่งนี้เป็นทั้งที่พักและที่ทำงาน John Flamsteed ดำรงตำแหน่งเป็นนักดาราศาสตร์หลวงที่นี่จนเขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1719 จากนั้นก็มีผู้สืบทอดตำแหน่งนักดาราศาสตร์หลวงต่อจากเขาอีกสิบรายกระทั่งปี ค.ศ. 1948 จึงมีการย้ายสถานที่ปฏิบัติงานดาราศาสตร์หลวงไปที่เมืองซัสเซกส์แทน หอดูดาวที่ตำบลกรีนิชแห่งนี้จึงได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์เปิดบริการให้นักท่องเที่ยวได้สำรวจประวัติด้านการศึกษาดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และวิวัฒนาการของการพยายามสร้างเครื่องมือบอกเวลาที่เที่ยงตรง

            พื้นที่จัดแสดงหลัก ๆ ของพิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์หรืออดีตหอดูดาวหลวงแห่งนี้ก็อยู่ที่ตัวอาคารซึ่งเคยเป็นที่พักและที่ทำงานของเหล่านักดาราศาสตร์หลวงทั้งหลายเหล่านี้นั่นเองโดยปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ได้ตั้งชื่ออาคารแห่งนี้ว่า Flamsteed House เพื่อเป็นเกียรติแก่นักดาราศาสตร์หลวงท่านแรก และได้เปิดแสดงทั้งในส่วนของชั้นล่าง ชั้นบน รวมถึงชั้นใต้ดินด้วยสำหรับห้องต่าง ๆ ใน Flamsteed House นี้ก็ประกอบไปด้วยห้องพักและห้องทำงานของบรรดานักดาราศาสตร์ โดยยังมีการเก็บรักษาเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ อาทิ โต๊ะทำงานโต๊ะเขียนแผนที่ เครื่องเขียนและเครื่องมือโบราณ เก้าอี้นั่งรวมถึงเตียงนอนเอาไว้ให้ผู้ชมได้สัมผัสถึงบรรยากาศในยุคสมัยนั้น

            ในส่วนของชั้นบนซึ่งเป็นห้องแปดเหลี่ยมทำให้สามารถมองเห็นท้องฟ้าได้รอบทิศทาง ก็มีการจัดแสดงกล้องโทรทรรศน์ดูดาวแบบโบราณที่ประกอบด้วยไม้และมีขั้นคล้ายบันไดเพื่อปรับมุมเงยของตัวกล้องในองศาต่าง ๆ ได้ โดยในด้านหนึ่งของห้องก็มีการจัดแสดงพระบรมฉายาทิศลักษณ์ขนาดใหญ่ของกษัตริย์Charles ที่ 2 และกษัตริย์ James ที่ 2 องค์อุปถัมภ์พระองค์สำคัญของหอดูดาวหลวงแห่งนี้ด้วย

greenwich 01

นิทรรศการใน Flamsteed House

            สำหรับชั้นใต้ดินของ Flamsteed House ก็เป็นการแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์ของประดิษฐ์กรรมนาฬิกาและระบบการแบ่งเขตเวลาของมนุษย์โดยมีการเท้าความกันตั้งแต่ความจำเป็นของการพัฒนาเครื่องมือบอกตำแหน่งภูมิศาสตร์และเวลาที่แม่นยำซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญในการเดินเรือข้ามมหาสมุทรในสมัยนั้น ความท้าทายสำคัญคือการประดิษฐ์นาฬิกาที่สามารถนำไปใช้บนเรือและสามารถบอกเวลาได้อย่างเที่ยงตรงโดยไม่อาศัยการแกว่งของลูกตุ้มเพราะพื้นเรือจะโคลงเคลงไปตามกระแสคลื่นตลอดเวลาไม่สามารถรักษาความเสถียรได้ ปัญหาอันนี้นับเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอังกฤษในยุคสมัยนั้นมาก ถึงขนาดที่เมื่อปี ค.ศ. 1714 รัฐบาลอังกฤษได้ประกาศให้เงินรางวัลเป็นจำนวนถึง 20,000 ปอนด์หรือเทียบเท่ากับ 137 ล้านบาทในปัจจุบันแก่ผู้ใดก็ตามที่สามารถประดิษฐ์คิดคันนาฬิกาบอกเวลาซึ่งสามารถใช้ในการเดินเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดสามารถพิชิตความทำทายนี้ได้จนกระทั่งปี ค.ศ. 1736 John Harrison ช่างไม้และช่างทำนาฬิกาจากแคว้นยอร์กเชียร์ก็สามารถประดิษฐ์นาฬิกาเดินเรือที่ชื่อ H1 ที่มีความแม่นยำขึ้นมาได้ โดยเขาได้ดัดแปลงกลไกการใช้ลูกตุ้มแกว่งของนาฬิกาบก มาเป็นการใช้ตุ้มดัมเบลล์โลหะสองลูกเชื่อมต่อกันแทน พร้อมทั้งได้ปรับกลไกของเฟืองด้วยการใช้ซี่โลหะรูปร่างคล้ายขาตั๊กแตนมาบังคับการหมุน ทำให้นาฬิกาH1 ของเขาสามารถบอกเวลาได้อย่างเที่ยงตรงที่สุดเท่าที่มีการสร้างมา แม้ว่าจะยังไม่ถึงระดับความแม่นยำที่จะได้รับรางวัลก็ตาม อย่างไรก็ดี John Harrison ก็ยังได้รับเงินรางวัลปลอบใจจากรัฐบาลอังกฤษเป็นจำนวน 500 ปอนด์ เพื่อเป็นทุนในการพัฒนานาฬิกา H1 ให้แม่นยำขึ้น จนในที่สุดเขาก็สามารถผลิตนาฬิกาเดินเรือขนาดเล็กที่มีกลไกแบบนาฬิกาข้อมือซึ่งใช้สปรึงเป็นกลไกในการควบคุมเวลาซึ่งเรียกว่า H4 และสามารถรักษาความเที่ยงตรงได้โดยไม่ได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิ ความชื้นแรงเสียดทานหรือแม้แต่การเคลื่อนที่ของเรือ ทำให้เขาได้รับเงินรางวัลที่เหลือไปในที่สุด ซึ่งพิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์แห่งนี้ก็ได้จัดแสดงนาฬิกาเดินเรือรุ่นต่าง ๆ ของJohn Harrison ตั้งแต่รุ่น H1 ถึงH4 ให้ผู้ชมได้เห็นถึงวิวัฒนาการและความพยายามของนักประดิษฐ์ท่านนี้อีกด้วย

 

greenwich 02

วิวัฒนาการนาฬิกาเดินเรือของ John Harrison รุ่น H1 - H4

 

            รายละเอียดขั้นตอนของการพัฒนานาฬิกาที่สามารถบอกเวลาในสภาพต่าง ๆ โดยเฉพาะในระหว่างการเดินเรือได้อย่างเที่ยงตรงที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์แห่งนี้ ทำให้เราเห็นว่ากว่าที่นักประดิษฐ์จะคิดค้นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพอย่างที่เราใช้กันในปัจจุบัน ก็ต้องผ่านการคิดแก้ปัญหาลองผิดลองถูกกันเป็นเวลายาวนาน ซึ่งหลังจากที่ John Harrison สามารถพัฒนาตันแบบของนาฬิกาพกหรือนาฬิกาข้อมือในปัจจุบันได้แล้ว นิทรรศการประวัติศาสตร์การสร้างเครื่องมือบอกเวลาก็ยังมีการแสดงวิทยาการใหม่ ๆ ที่ให้ความแม่นยำในการบอกเวลามากขึ้น อาทิ การใช้เครื่องสั่นอิเล็กทรอนิกส์ของผลึกแร่ควอตซ์ การวัดเวลาด้วยอะตอม และเทคโนโลยีล่าสุดคือการยิงเลเชอร์ไปวัดคาบการสั่นของอนุภาคอิออนเดี่ยวในสนามของแรงซึ่งสามารถให้ความละเอียดแม่นยำในระดับผิดพลาดเพียงแค่ 1 วินาทีในหนึ่งร้อยล้านปี

            นอกจากเรื่องราวสนุก ๆ ของการคิดคันเครื่องมือบอกเวลาต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว ทางพิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์ที่หอดูดาวกรีนิชนี้ยังมีการจัดแสดงนาฬิกาแดดรูปปลาโลมาที่ใช้งาของหางปลาคอยชี้บอกเวลา รวมทั้งนาฬิกาโบราณที่มีเลขบนหน้าปัดตั้งแต่ 0 ถึง 23 ชั่วโมงแสดงให้ดูอีกด้วย

greenwich 03

นาฬิกาแดดรูปปลาโลมา

 

greenwich 04

นาฬิกา 24 ชั่วโมง

            ในส่วนด้านข้างของอาคาร Flamsteed House ก็ยังมีการแสดงห้องมืดสำหรับสังเกตการณ์ที่เรียกว่า Camera Obscura ซึ่งอาศัยหลักการสะท้อนแสงผ่านกระจกและเลนส์ project ภาพสะท้อนผ่านรูแคบ ๆ บริเวณโดมของตัวอาคารซึ่งปิดทึบและมืดสนิทส่องลงบนโต๊ะที่ตั้งไว้กลางห้อง โดยภาพที่ปรากฏบนโต๊ะนั้นจะเป็นภาพสะท้อนของอาคาร (ueen's House ซึ่งตั้งอยู่อีกฟากถนนหนึ่ง ทำให้ผู้ชมสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกได้ แม้จะอยู่ในห้องที่ปิดมิดชิด หลักการของ Camera Obscura นี้ถือเป็นต้นกำเนิดของกล้องถ่ายรูปที่ใช้กันในปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ในการเล่นกับหลักการสะท้อนของแสงผ่านกระจกและเลนส์มาประยุกต์ใช้ในการช่วยการมองเห็นวิธีต่าง ๆ ได้อย่างน่าสนใจ

greenwich 05

ทางเข้า Camera Obscura

 

greenwich 06

ช่องรับแสง

 

greenwich 07

ภาพสะท้อนบนโต๊ะ

            ไม่เพียงแต่จะเป็นมาตรฐานในการบอกเวลาสำหรับชาวอังกฤษ มาตั้งแต่สมัยยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 เท่านั้น หอดูดาวเมืองกรีนิชยังทำหน้าที่เป็นผู้ให้มาตรฐานด้านการวัดความยาวด้วยการใช้หมุดโลหะแสดงระยะตามหน่วยวัดที่นิยมใช้ในประเทศอังกฤษ ซึ่งประกอบด้วย ความยาวหนึ่งหลาอังกฤษ ความยาวสองฟุต หนึ่งฟุตหกนิ้ว และสามนิ้วให้ผู้คนมาเทียบวัดกันได้บริเวณทางเข้าหอดูดาว

 

greenwich 08

มาตรฐานความยาวที่นิยมใช้กันในอังกฤษ

 

            ส่วนพื้นที่เด็ดที่ผู้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์หอดูดาวแห่งนี้จะพลาดถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึกไม่ได้ก็คือบริเวณลานหน้าอาคาร Flamsteed House ที่แสดงเส้นลองจิจูด 0 องศา ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถยืนแยกขาตั้งท่าพิชิตชีกโลกทั้งซ้ายและขวาหน้าประติมากรรมโลหะแสดงจุดผ่านของเส้นลองจิจูดกันอย่างเท่ โดยทางหอดูดาวก็ได้ติดป้ายแสดงจุดเริ่มต้นของเส้นเมริเดียนปฐมด้วยแถบสีแดงก่อนจะลากต่อลงมาเป็นแถบโลหะสีทองบนพื้นลาน ซึ่งบนป้ายแสดงเส้นเมริเดียนปฐมหรือ Prime Meridian of the World นี้ก็มีการระบุตำแหน่งลองจิจูดที่ 0 องศา 0 ลิปดา 0 ฟิลิปดา และละติจูดที่ 51 องศา 28 ลิปดา 38 ฟิลิปดา เหนือ อย่างชัดเจน ทั้งยังมีการแบ่งซีกโลกเป็นฝั่งตะวันออกและตะวันตกอย่างเด่นซัดอีกด้วย โดยบริเวณพื้นที่มีการตีด้วยเส้นโลหะสีทองก็มีการบอกพิกัดลองจิจูดของเมืองสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ว่าอยู่ห่างจากหอดูดาวตำบลกรีนิชแห่งนี้ไปกึ่องศา ซึ่งประเทศไทยของเราก็ไม่น้อยหน้าเพราะมีการแจ้งพิกัดของกรุงเทพมหานครเอาไว้ที่ 100 องศา 30 ลิปดา ตะวันออกด้วย

 

greenwich 09

 

            นอกเหนือจากจะได้ถ่ายรูปกับเส้นเมริเดียนปฐมอันเป็นจุดกำเนิดของเส้นแบ่งเวลาโลกแล้ว ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ยังสามารถสั่งประกาศนียบัตรที่ระลึกเพื่อเป็นการยืนยันว่าได้มาพิชิตเส้นแบ่งชีกโลก ณ ลองจิจูดที่ 0 องศา 0 ลิปดา 0 ฟิลิปดา ณ วันที่เท่าไหร่ เวลาใดในราคาเพียงแค่ 1 ปอนด์ ซึ่งโอกาสดี ๆ อย่างนี้ผมเองก็ไม่ขอพลาดขอสั่งประกาศนียบัตรจากเจ้าหน้าที่เพื่อยืนยันว่าได้มาเยือนสถานที่สำคัญทางดาราศาสตร์และภูมิศาสตร์แห่งนี้ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 12:46:1058นาฬิกา ตามเวลาท้องถิ่นที่ตำบลกรีนิช

greenwich 10

ประกาศนียบัตรจากหอดูดาวกรีนิช

            พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ดาราศาสตร์และภูมิศาสตร์แห่งนี้จึงนับเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่คนรักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายไม่ควรพลาด โดยสามารถไปเยี่ยมชมกันได้ด้วยการเดินทางไปยังสถานี DLR ชื่อ Cutty Sark แล้วเดินไปตามป้ายบอกทางอีกเพียงประมาณ 10 นาทีเท่านั้นครับ

             บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://emagazine.ipst.ac.th/

 

บรรณานุกรม

Classtoom Resources. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2556, จาก http://www.mng.co.uk/schools/royal-observatory/ckassroom-resources

What's on guide Royal Museum Greenwich. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2556,จาก  http://www.rmg.co.uk/whats-on/whats-on-guide

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
เวลา, ซีกโลก, หอดูดาวกรีนิช, ประเทศอังกฤษ
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ดร.อลงกต ใหม่ด้วง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
คณิตศาสตร์
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
ประถมศึกษาตอนต้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 12797 ไขรหัสความลับเวลาและพิชิตซีกโลกซ้ายขวา ณ หอดูดาวกรีนิช ประเทศอังกฤษ /article-mathematics/item/12797-2023-01-20-06-36-33
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    ประเทศอังกฤษ หอดูดาวกรีนิช ซีกโลก เวลา
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)