logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

แนะนำ ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ ผ่านงานคืนสู่เหย้า

โดย :
ดร.สุธารส นิลรอด
เมื่อ :
วันอังคาร, 06 ธันวาคม 2565
Hits
493

            ในการศึกษาของประเทศไทย ได้จัดให้มีการศึกษาเรื่องตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) ในระดับชั้นปริญญาตรี ทั้งในสาขาคณิตศาสตร์ สถิติวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ การบัญชีการจัดการ และเศรษฐศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรี่ยนมีความรู้ในระดับสูงเพียงพอที่จะนำไปใช้เป็นความรู้พื้นฐานในการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ ในปีค.ศ. 2001 Ang Keng Cheng นักวิจัยจาก National Institute of Education  จากประเทศสิงคโปร์  ได้เสนอการจัดการเรียนการสอนเรื่องตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาผ่านงานวิจัยเรื่อง Teaching Mathematical Modelling in Singapore Schools โดยยกตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนที่แนะนำให้ผู้เรียนรู้จักตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ผ่านปัญหาในชีวิตจริง ซึ่งแปลงปัญหาดังกล่าวโดยใช้หลักการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ และนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ช่วยในการหาคำตอบ เช่นการสร้างลานจอดรถที่มีอยู่อย่างจำกัดโดยการใช้ความรู้เรื่องตรีโกณมิติ การสร้างกล่องที่มีความจุมากที่สุดโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับอนุพันธ์การศึกษาเกี่ยวกับอัตราการเพิ่มของประชากรโดยใช้ความรู้เรื่องฟังก์ชันเลขชี้กำลัง

            การเริ่มต้นให้ผู้เรียนรู้จักตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษานั้น เริ่มด้วยการยกตัวอย่างปัญหาในชีวิตจริงมาอธิบายขั้นตอนของการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ จะสามารถแนะนำให้ผู้เรียนรู้จักตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์และอธิบายขั้นตอนในการสร้างได้ไม่ยากเพราะเป็นการอาศัยความคุ้นเคย  และใช้ความรู้พื้นฐานที่ผู้เรียนมีอยู่แล้วมาช่วยในการหาคำตอบของปัญหา ดังเช่น ตัวอย่างปัญหาต่อไปนี้

 

reunion 01

 

            จะเห็นได้ว่าปัญหาขายบัตรงานคืนสู่เหย้าให้ได้กำไรมากที่สุดนี้ แตกต่างจากปัญหาทางคณิตศาสตร์ทั่วไปเนื่องจากเป็นปัญหาปลายเปิดที่ไม่มีการระบุค่าของตัวแปรใด ๆ  มาให้ ซึ่งผู้แก้ปัญหาจะต้องคาดการณ์หรือระบุตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการหากำไรของการขายบัตร เช่น จำนวนบัตรหรือมูลค่าของรางวัลด้วยตนเอง จะเห็นว่านี่คือ "ความแตกต่างระหว่างโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไปและตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์" จากนั้นนำความรู้พื้นฐานและเทคนิคการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์มาใช้กับปัญหา วิธีการดังกล่าวนี้เรียกว่า "การสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์"

            จากปัญหางานคืนสู่เหย้า แปลงปัญหาดังกล่าวโดยใช้หลักการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ และนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ช่วยในการหาคำตอบ ตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. ระบุคำถามที่เกี่ยวข้องกับปัญหางานคืนสู่เหย้า เช่น บัตร์คืนสู่เหย้ามีราคาเท่าใดบ้างบัตรคืนสู้เหย้าแต่ละใบมีราคาเท่ากันหรือไม่มูลค่าของรางวัลเป็นเท่าใดบ้างมี้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอื่น ๆ เพิ่มเติมหรือไม่
  2. ระบุและบอกชนิดของตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับปัญหา เช่นราคาบัตร จำนวนบัตรที่ขายได้ มูลค่าของรางวัลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ โดยแจกแจงรายละเอียดของตัวแปรต่าง ๆ ดังแสดงในตาราง

reunion 02

 

            จากตารางข้างต้น  ชนิดของตัวแปรพารามิเตอร์คือตัวแปรที่ผู้แก้ปัญหากำหนดให้คงที่สำหรับแต่ละตัวแบบซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ เมื่อสมมติฐานเปลี่ยนแปลงไป

  1. ตั้งสมมติฐานเพื่อแก้ปัญหาที่กำหนด สมมติฐานหนึ่งที่เป็นไปได้คือ กำหนดให้บัตรทุกใบมีราคาเท่ากัน
  2. สร้างข้อความทางคณิตศาสตร์จากสมมติฐานที่ตั้งไว้โดยใช้สัญลักษณ์ของตัวแปรที่กำหนดไว้ในตารางข้างต้นและอาจใช้คำถามนำดังนี้

reunion 03

  1. แปลความหมายและตรวจสอบว่าคำตอบที่ได้นั้นทำให้ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ที่สร้างสอดคล้องกับความเป็นจริงหรือไม่ เช่น จำนวนของบัตรควรเป็นจำนวนเต็มบวก ทั้งนี้อาจเปลี่ยนแปลงสมมติฐานของตัวแบบ เช่น ถ้าราคาบัตรเพิ่มขึ้นหรือบัตรมีราคาไม่เท่ากัน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือต้องปรับเปลี่ยนตัวแบบอย่างไรบ้าง

            จากขั้นตอน 1-5 ของการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์จากปัญหางานคืนสู่เหย้านั้น จะเห็นได้ว่าเป็นการเปลี่ยนปัญหาในโลกของชีวิตจริงไปสู่โลกที่ไม่มีตัวตนนั่นคือ โลกของตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ซึ่งสร้างขึ้นโดยอาศัยแนวคิดทางคณิตศาสตร์ เช่น ฟังก็ชันและสมการจากนั้นอาศัยเทคนิคทางคณิตศาสตร์ช่วยในการคำนวณเพื่อหาผลเฉลยของปัญหาทางคณิตศาสตร์  ท้ายที่สุดแล้วผู้แก้ปัญหาต้องแปลงผลเฉลยกลับสู่โลกของชีวิตจริง ซึ่งจะเห็นว่าจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายของการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์คือ โลกของชีวิตจริง

            ในการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ที่ใกล้เคียงและสอดคล้องกับปัญหานั้น ผู้สร้างตัวแบบจะต้องเข้าใจสถานการณ์ที่ต้องการแก้ปัญหาอย่างถ่องแท้และเริ่มต้นอย่างถูกทิศทางจะช่วยให้ผู้สร้างตัวแบบสามารถนำวิธีการทางคณิตศาสตร์มาใช้ในการแก้ปัญหาได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

             บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/   

บรรณานุกรม

Ang Keng Cheng. (2001). Teaching Mathematical Modelling in Singapore Schools. The Mathematics Educators. 6, 1. 63-75.

ธีรวัฒน์ นาคะบุตร. (2546). ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Modeling) นครปฐม: คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏนครปฐม.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์, งานคืนสู่เหย้า
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ดร.สุธารส นิลรอด
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
ประถมศึกษาตอนต้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 12616 แนะนำ ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ ผ่านงานคืนสู่เหย้า /article-mathematics/item/12616-2022-07-25-08-20-30-20
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    งานคืนสู่เหย้า ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)