logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

เทคนิคการใช้จ่ายเงินให้เลิศ แบบมนุษย์เงินเดือน (น้อย)

โดย :
วนิดา สิงห์น้อย
เมื่อ :
วันอังคาร, 26 เมษายน 2565
Hits
102

            สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้พนักงานที่มีรายได้จากเงินเดือนเพียงทางเดียว ต้องระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอย เนื่องจากสินค้าที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคได้ปรับราคาสูงขึ้น แต่รายรับยังเท่าเดิม ประกอบทั้งสภาวะเงินเฟ้อ' และ เงินฝืด ในแต่ละช่วงของภาวะเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อมูลค่าของเงิน ทำให้มนุษย์เงินเดือนต้องหาวิธีใช้จ่ายเงินเดือนให้เกิดประโยชน์คุ้มค่ามากที่สุด และต้องเฝ้าคอยจนกว่าจะถึงสิ้นปีซึ่งจะมีการปรับเงินเดือนและรับเงินโบนัสพิเศษเพิ่มเติมคืออาจจะได้มาก ได้น้อย หรือไม่ได้เลย ก็ขึ้นกับผลการประเมินงาน ที่พนักงานแต่ละคนได้ทุ่มเท อุทิศกายและใจให้แก่องค์กร และกำไรจากผลประกอบการที่องค์กรจะจัดสรรให้แก่พนักงานที่สร้างผลงานให้โดนใจผู้ประเมินนั้น เป็นความสามารถของแต่ละบุคคลในการสร้างสรรค์ผลงาน อันจะนำไปสู่การปรับขึ้นเงินเดือนที่เพิ่มมากขึ้น นั่นหมายถึงการมีรายรับเพิ่มขึ้นจนสามารถนำไปจับจ่ายใช้สอยกับสิ่งที่ต้องการ แต่ละคนคงมีวิธีการจัดการกับเงินเดือนของตนที่ได้ รับมาในแต่ละเดือนอยู่แล้วมนุษย์เงินเดือน (น้อย) ถ้าอยากได้หรืออยากมีในสิ่งที่ต้องการ ซึ่งมีราคาแพงก็คงต้องใช้เทคนิคการเก็บออมเงินและการบริหารจัดการเงินแบบวิธีพิเศษ โดยมี "วินัย" เป็นตัวช่วยอีกแรงหนึ่ง ผู้เขียนขออนุญาตแบ่งปันข้อมูลประสบการณ์บางส่วนที่เป็นเรื่องที่ใคร ๆ ก็ทำได้ถ้ามี "วินัย" ในตนเอง ทั้งนี้ ทั้งนั้น ก็เป็นเพียงเทคนิคส่วนตัวหากผู้อ่านเห็นว่ามีประโยชน์และสามารถทำได้จริงเห็นผลจริง ก็จะเป็นประโยชน์และจัดระเบียบการใช้จ่ายเงินเพื่อให้เกิดความมั่งคั่งต่อตัวผู้อ่านเอง หากทำแล้วรู้สึกว่าตัวเองเป็นทุกข์ รู้สึกว่าไม่สะดวกสบาย ก็จงท่อง "วินัย" ไว้ให้ถี่และขึ้นใจ แต่ถ้าพยายามจนสุดความสามารถแล้ว ยังไม่สามารถทำได้ ก็คงต้องแล้วแต่ตัวใครตัวมัน มาดูว่ามีเทคนิคอะไรบ้างในการบริหารจัดการเงินแบบมนุษย์เงินเดือน (น้อย)

            เมื่อถึงวันที่เงินเดือนออก เราต้องพยายามจัดสรรเงินให้เป็นหมวดหมูในการใช้จ่ายดังนี้

เงินออม

            กันเงินไว้ส่วนหนึ่งตามที่เห็นว่าเหมาะสมอาจจะเป็น 10% ของเงินเดือน แล้วนำเงินจำนวนนั้นไปฝากบัญชีประจำที่มีดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไปหรือจะนำไปเปิดบัญชีกองทุนรวม' สามารถขอรายละเอียดได้ที่ธนาคารแต่ละแห่ง ซึ่งจะมีหลากหลายแบบเพื่อให้เลือกตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล หรือที่ทำงานบางแห่งอาจมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ' เป็นสวัสดิการพนักงานเพื่อเป็นการออมเงินไว้ให้พนักงาน เวลาเกษียณจะได้มีเงินก้อนใช้

            "วินัย" สอนไว้ว่า เงินส่วนนี้ เก็บแล้วห้ามถอนออกมาใช้ ให้ฝ่ากยาว แต่หมั่นตรวจเช็คดูว่ามีจำนวนเท่าไหร่และวางแผนนำเงินไปลงทุนเพื่อต่อยอดจำนวนเงินให้เพิ่มมากขึ้น เช่น อาจจะลงทุนในหุ้น" หรือ กองทุนอสังหาริมทรัพย์เป็นต้น ทั้งนี้ เราต้องศึกษารายละเอียดของการลงทุนแต่ละประเภทให้เหมาะกับความเสี่ยงที่เรารับได้

เงินใช้จ่ายประจำ

            กันเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้จ่ายสำหรับค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเป็นประจำรายเดือน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าอาหารค่าพาหนะ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต

เงินฉุกเฉิน

            เก็บเงินบางส่วนไว้ใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉิน เช่นค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมบำรุงบ้าน-รถ ซึ่งหากเดือนไหนไม่ได้ใช้ก็สามารถโยกไปเป็นเงินออมได้

เงินอื่น ๆ

            ค่าใช้จ่ายทางสังคม ค่าทำบุญงานศพ ค่าของขวัญงานแต่งงาน ค่าเสื้อผ้า เครื่องใช้ส่วนตัว เป็นต้น

            เพื่อให้มนุษย์เงินเดือน (น้อย) สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างราบรื่น เพราะปัจจัยทางเศรษฐกิจมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต และกำลังซื้ออยู่ในภาวะถดถอย ผู้เขียนขอเสนอเทคนิคและวิธีการลดค่าใช้จ่าย เพื่อเพิ่มเงินในกระเป๋าหลายคนอาจจะไม่คาดคิดว่า ค่าใช้จ่ายในแต่ละวันในบางเรื่อง จะมีผลกระทบต่อเงินในกระเป๋าของมนุษย์เงินเดือน (น้อย) มากมาย ลองมาดูกันว่าเราจะสามารถลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มเงินในกระเป๋าได้อย่างไรบ้าง

  • ลดการซื้อสินค้าแบรนด์เนม คงจะเป็นเรื่องยากสำหรับคนที่ติดสินค้าแบรนด์เนม แต่เชื่อหรือไม่สินค้าแบรนด์เนมที่ซื้อมาด้วยราคาแพง เป็นการใช้สอยที่ไม่คุ้มกับเงินที่จ่ายไป บางคนใช้สินค้านั้นแค่ครั้งหรือสองครั้งแล้วก็เปลี่ยนไปซื้อยี่ห้อใหม่หรือรุ่นที่ออกใหม่ ของเก่าจึงกลายเป็นของไร้ค่าซุกอยู่ที่กันตู้ถ้าลดการใช้จ่ายเรื่องนี้ได้ ก็จะพบว่ามีเงินเหลือเก็บมากขึ้น
  • ประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ซึ่งเป็นสิ่งใกล้ตัวที่ทุกคนสามารถทำได้ มีหลายวิธีในการประหยัดเพื่อในแต่ละเดือนจะมีเงินเหลือเพิ่มขึ้น ให้ทดลอง 1-2 เดือนแล้วเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในเดือนก่อนนั้นว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่
  • ลองเปรียบเทียบราคาสินค้าอุปโภค และบริโภคก่อนซื้อตรวจสอบจากเว็บไซต์ หรือจากประกาศโฆษณาต่าง ๆ ของห้าง ร้าน และจดรายการที่จำเป็นต้องซื้อและต้องใช้จริง ๆ
  • หักห้ามใจซื้อสินค้าที่ลดราคาในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น ควรซื้อแค่พอดีใช้ เพราะปัจจุบันห้างร้านต่าง ๆ มักจัดรายการลดราคาบ่อย
  • วางแผนการเดินทางอย่างรอบคอบ เพื่อจะได้ไม่เสียเวลาและประหยัดค่าน้ำมัน
  • ทำอาหารเองที่บ้าน นอกจากจะได้รับประทานอาหารที่สะอาด และรสชาติถูกปากแล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในครอบครัวลดการออกไปรับประทานอาหารที่มีราคาแพงนอกบ้านด้วย แต่อาจจะออกไปรับประทานข้าวนอกบ้านบ้าง ตามโอกาสที่สำคัญ ๆ เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ
  • ลดการบริโภคชา กาแฟ น้ำอัดลม และน้ำหวานเครื่องดื่มทั้งหลายที่บั่นทอนทั้งเงินในกระเป๋าและสุขภาพ ลองลดดู 1-2 เดือน ก็จะพบว่าเรามีเงินเหลือเพิ่มขึ้นแถมได้ลดน้ำตาลในเลือดอีกทางหนึ่งด้วยบางคนติดกาแฟที่มียี่ห้อดังและราคาแพง ลองคำนวณคร่าว ๆ ในกรณี ที่ดื่มกาแฟทุกวัน ถ้าราคากาแฟต่อแก้วอยู่ที่ 40 บาท ภายในเวลา 30 วัน ก็จะคิดเป็นเงิน 1,200 บาทต่อเดือน แล้วถ้าคูณด้วย 12 เดือน ก็จะเห็นตัวเลขการประหยัดซัดเจนมากยิ่งขึ้น
  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มีสุขภาพดีจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้และมีร่างกายแข็งแรง พร้อมจะสู้กับงานในวันต่อไปการออกกำลังกายไม่จำเป็นต้องไปสถานที่ออกกำลังกายฟิตเนสที่ต้องเสียค่าใช้บริการเป็นรายเดือน หรือรายปี้ เพราะทุกวันมีสวนสาธารณะหลายแห่งที่สะอาด และสะดวก อีกทั้งสามารถไปใช้บริการได้ฟรี ในสถานที่บางแห่งอาจต้องเสียค่าบำรุงไม่แพงมากเท่ากับสถานที่ออกกำลังกายฟิตเนส หรืออาจจะเลือกวิธีออกกำลังกายที่ไม่ต้องใข้อุปกรณ์เสริม เช่น เดิน วิ่ง และโยคะ เป็นต้น
  • เลือกใช้แพ็คเกจค่าโทรศัพท์/อินเทอร์เน็ตรายเดือนในราคาที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน บางคนเลือกแพ็คเกจราคาสูง แต่ใช้น้อย ก็ไม่คุ้มค่า ปัจจุบันมี Wi-Fi ให้บริการในที่ทำงาน หรือตามที่สาธารณะต่าง ๆ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
  • หาวิธีสร้างรายได้เพิ่ม โดยนำความรู้ความชำนาญที่มีไปสร้างรายได้ เช่น สอนพิเศษในวิชาที่ตนเองถนัด ร้อยลูกปัด ทำขนมโฮมเมดเป็นต้นในขณะนี้ มีการหาตัวแทนในช่องทางการจำหน่ายสินค้าทางออนไลน์ที่หลากหลายและสามารถเข้าถึงง่ายและสะดวก เช่น Facebook หรือ Instagram เป็นต้น หรือถ้าจะนำสิ่งของที่ใช้แล้วแต่ยังมีสภาพดีไปขายตลาดนัดก็มีมากมาย

            ยังมีอีกหลากหลายวิธีการในการลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ หากผู้อ่านสามารถลดค่าใช้จ่ายในบางข้อได้ก็จะทำให้มีเงินเหลือเพิ่มมากขึ้น และควรหาวิธีเพิ่มเงินที่มีให้งอกงยด้วยช่องทางต่าง ๆ เช่น การเปิดบัญชีเงินฝากประจำดอกเบี้ยพิเศษแบบไม่ต้องเสียภาษี การลงทุนในกองทุนรวมการลงทุนในหุ้น หรือการลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์เป็นต้น ซึ่งใช้เงินลงทุนไม่มากก็สามารถซื้อได้ ทุกคนคงมีแนวทางในการบริหารจัดการเงินทองของตนเองอยู่แล้วเพียงแต่หาวิธีที่ที่เหมาะกับตนเองและสามารถรับความเสี่ยงได้ทั้งนี้ ควรประเมินความเสี่ยงในการลงทุนแบบต่าง ๆ สำหรับตัวเราเองด้วย อย่างไรก็ตาม "สติ" และ "วินัย" คือตัวช่วยในการกำกับการใช้จ่ายเงิน หวังว่าผู้อ่านที่เป็นมนุษย์เงินเดือน(น้อย) จะได้เกร็ดความรู้การใช้จ่ายเงินไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

หมายเหตุ

            1. เงินเฟ้อ (Inflation) หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและค่าบริการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ความสามารถในการซื้อสินค้าลดลง กล่าวคือจำนวนเงินมูลค่าเท่าเดิมแต่ซื้อสินค้าได้ปริมาณลดลง

            2. เงินฝืด (Deflation) หมายถึงภาวะที่ระดับราคาสินค้าและค่าบริการโดยทั่วไปลดลงอย่างต่อเนื่องแต่ก็ขายไม่ได้ เพราะประขาขนไม่มีกำลังซื้อ

            3. กองทุนรวม (Mutual fund) หมายถึง การระดมทุนจากนักลงทุนรายย่อยให้เป็นเงินก้อนใหญ่แล้วจดทะเบียนให้มีสถานะเป็นนิติบุคคล แล้วนำเงินนั้นไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ต่าง ๆ ตามนโยบายการลงทุนที่ได้ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายแก่ผู้ลงทุน ข้อดีคือ มีนักบริหารมืออาชีพดูแล สามารถเลือกลงทุนได้มาก-น้อยตามต้องการมีสภาพคล่อง กระจายความเสี่ยงได้แทนที่จะเป็นการลงทุนในก้อนเดียว คือ มีหลากหลายกองทุนให้เลือก

            4. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident fund) คือกองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น  เงินของกองทุนมาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายมาให้ส่วนหนึ่งเรียก "เงินสะสม" และนายจ้างจ่ายอีกส่วนหนึ่งเรียกว่า "เงินสมทบ" เพื่อนำเงินไปบริหารให้เกิดดอกผล โดยผู้บริหารมืออาชีพที่เรียกว่า"บริษัทจัดการ" โดยดอกผลที่เกิดขึ้นจะนำมาเฉลี่ยให้แก่สมาชิกกองทุนทุกคน ตามสัดส่วนของเงินที่แต่ละคนมีอยู่ในกองทุน สมาชิกกองทุนมีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนเมื่อความเป็นสมาชิกสิ้นสุดลง โดยจะได้รับส่วนของเงินสะสมเต็มจำนวนในทุกกรณี พร้อมทั้งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากเงินสะสม ในส่วนของเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากเงินสมทบนั้น สมาชิกจะได้รับตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุน

            5. หุ้น (Stock) เป็นตราสารที่กิจการออกให้แก่ผู้ถือเพื่อระดมเงินทุนไปใช้ในกิจการ โดยผู้ถือหุ้นจะมีฐานะเป็น"เจ้าของกิจการ" ซึ่งจะมีส่วนได้ เสีย หรือมีสิทธิในทรัพย์สินและรายได้ของกิจการ และมีโอกาสได้รับกำไรจากส่วนต่างราคา (capital gain) เมื่อราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นจากที่ซื้อครั้งแรกรวมทั้งมีโอกาสได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผล (dividend) เมื่อบริษัทมีกำไร

            6. กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (Property fund) เป็นการลงทุนในที่ดิน บ้าน หอพัก คอนโตมีเนียม เพื่อเก็งกำไรและได้รับผลประโยซน์จากการให้เช่า หรือขาย ในรูปของเงินปันผล

            บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/

บรรณานุกรม

กองทุนรวม. สืบคั้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://www.start-to-invest.com/

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ. สืบคั้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2559. จา Ihtp://www.thaipvd.com/

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
เทคนิคการใช้จ่ายเงิน, รายรับ, รายจ่าย
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
วนิดา สิงห์น้อย
ระดับชั้น
ปฐมวัย
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
ปฐมวัย
ประถมศึกษาตอนต้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 12579 เทคนิคการใช้จ่ายเงินให้เลิศ แบบมนุษย์เงินเดือน (น้อย) /article-mathematics/item/12579-2022-02-15-07-00-17-2-2-2-2-2-2
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    รายจ่าย รายรับ เทคนิคการใช้จ่ายเงิน
คุณอาจจะสนใจ
เคมีในสระว่ายน้ำ
เคมีในสระว่ายน้ำ
Hits ฮิต (3463)
ให้คะแนน
สระว่ายน้ำ เป็นสถานที่พักผ่อนและออกกำลังกายที่่หลาย ๆ คนชื่นชอบ การรักษาสภาพน้ำในสระว่ายน้ำให้้สะอา ...
ความจริงเรื่อง แก๊สโซฮอล์
ความจริงเรื่อง แก๊สโซฮอล์
Hits ฮิต (29796)
ให้คะแนน
...ความจริงเรื่อง แก๊สโซฮอล์... “แก๊สโซฮอล์มีราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซินถึงลิตรละ 1.50 บาท เพราะฉะนั้นก ...
มลพิษทางอากาศ (Air Pollution)
มลพิษทางอากาศ (Air Pollution)
Hits ฮิต (81505)
ให้คะแนน
มลพิษทางอากาศ... เราสามารถหยุดมันได้ ยุวศรี ต่ายคำ ปัจจุบันเราต้องเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมมากมาย ซึ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

SciMath ใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้
ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตกลง
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)