logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

Blue Origin จะพาเราไปพักผ่อนที่ดวงจันทร์!

โดย :
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 03 มกราคม 2562
Hits
21526

        ทุกท่านคงทราบกันเป็นอย่างดีว่ามนุษยชาติของเรานั้นเคยขึ้นไปสัมผัสพื้นผิวอันน่าพิศวงของดวงจันทร์กันมาแล้ว โดยมนุษย์คนแรกที่ได้ลงจากยาน อพอลโล 11 ไปสัมผัส คือ นีล อาร์ม สตรอง นั่นเอง แต่ในปี 2020 เราจะกลับไปที่ดวงจันทร์กันอีก ไปทำอะไรน่ะหรือ “ไปตั้งรกราก!” ส่วนจะไปตั้งทำไม และยังไงนั้น วันนี้จะมาเล่าให้ฟัง

8678 1
ภาพที่ 1 Jeff Bezos และจรวดของ Blue Origin
ที่มา https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000062849

8678 2
ภาพที่ 2 ฐานปล่อยจรวดของ Blue Origin
ที่มา https://thestandard.co/mu-space-blue-origin/

Blue Origin คืออะไร?

          Blue Origin เป็นบริษัทเอกชนที่ให้บริการเดินทางไปอวกาศ รวมถึงผลิตจรวดเองด้วย (แบบเดียวกับ SpaceX ของ Elon Musk) โดยบริษัทนี้ก่อตั้งขึ้นโดยคุณ Jeff Bezos ประธานกรรมการบริหาร หรือ chief executive officer (CEO) ของ Amazon (ไม่ใช่ร้านกาแฟในปั๊มน้ำมันนะ) ซึ่งคน ๆ นี้ก็คือมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของโลกอีกด้วย อ้างอิงจากผลสำรวจของ Bloomberg Billionaire Index ที่ได้เปิดเผยว่า เจฟฟ์ เบโซส์ (Jeff Bezos) แห่ง Amazon ขึ้นแท่นเป็นมหาเศรษฐีที่มีมูลค่าทรัพย์สินสูงแตะ 1.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 4.95 ล้านล้านบาท ซึ่งรวยแซงหน้าอันดับที่ 2 อย่าง บิล เกตส์ เจ้าพ่อ Microsoft กว่า 5.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 1.8 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว และล่าสุดเขาประกาศเปิดบริการส่งของไปยังดวงจันทร์ภายในกลางปี 2020 (ตอนนี้ 2018 ก็อีกแค่ 2 ปีเอง)  โดยที่ Blue Origin มีแผนพัฒนายานอวกาศที่สามารถลงจอดบนดวงจันทร์ได้ในชื่อ Blue Moon มีจุดประสงค์เพื่อการส่งอุปกรณ์การทดลอง, ของใช้ และสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต สำหรับการอยู่อาศัยของมนุษย์ในอนาคตภายในกลางปี 2020 นั่นเอง

8678 3
ภาพที่ 3 จรวดรุ่นต่าง ๆ ของ Blue Origin
ที่มา https://www.thespacecoast.net/blue-origin.html

 

Blue Moon ดวงจันทร์สีน้ำเงิน???

          ถ้าแปลตามชื่อก็คงจะใช่ แต่ว่าในอีกความหมายของคำนี้ก็คือ การเกิดพระจันทร์เต็มดวงรอบที่สองในเดือนเดียวกัน (โดยปกติแล้วพระจันทร์จะเต็มดวงแค่ 1 ครั้งใน 1 เดือน แต่ว่าก็จะมีบางครั้งซึ่งยากมาก ๆ นานมาก ๆ ที่จะเกิดปรากฏการณ์พระจันทร์เต็มดวงสองครั้งใน 1 เดือน จนฝรั่งเค้ามีสำนวนกันเลยว่า “Once in a blue moon” ที่มีความหมายว่า หายากมาก นานมากกว่าจะได้มา) ซึ่งก็อาจจะเป็นที่มาของชื่อจรวด Blue Moon ก็เป็นได้ ที่กว่าจะสร้างขึ้นมาได้ก็คงต้องผ่านอะไรกันมาเยอะแน่ ๆ โดยจรวดลำนี้สามารถบรรทุกของได้ 10,000 ปอนด์ หรือ 4.5 ตัน ต่อเที่ยวเลยทีเดียว หน้าที่หลัก ๆ ของจรวดลำนี้ก็คือ ขนส่งสิ่งของจำเป็นต่าง ๆในการตั้งถิ่นฐานหรือทำการทดลองขึ้นไปยังดวงจันทร์

8678 4
ภาพที่ 4 จรวด New Shepherd ขณะทำการปล่อยจากฐาน
ที่มา https://www.blognone.com/node/90634

New Shepherd???

          New (adj.) แปลว่า ใหม่ , Shepherd (N.) แปลว่า ผู้ชี้นำ ผู้คุ้มครอง พอแปลสองคำโดยรวมแล้วก็จะเป็น ผู้นำทางคนใหม่ และนี่คือชื่อของจรวดลำนึงของ Blue origin  โดยเจ้าจรวดลำนี้มีความสามารถพิเศษคือ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้! และยังเป็นจรวดลำแรกของโลกเลยที่มีความสามารถแบบนี้ โดยทำการทดสอบไปในเดือนพฤศจิกายน 2015 จากความสูง 100 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล (suborbital) หรือก็คือจรวด New Shepherd ของ Blue Origin เป็นจรวดของเอกชนลำแรกในประวัติศาสตร์ที่ลงจอดแนวดิ่งได้จากความสูงที่นับว่าเข้าเขตอวกาศ (Kármán line)

แหล่งที่มา
BlackMiracle. (4 มีนาคม 2560). อวกาศมันง่าย ซีอีโอ Amazon เตรียมเปิดบริการส่งของไปดวงจันทร์เพื่อการอยู่อาศัย. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2561, จาก https://www.blognone.com/node/90634
ปณชัย อารีเพิ่มพร. (23 กรกฎาคม 2561). ก้าวแรกสู่อวกาศ เมื่ออุปกรณ์และงานวิจัยของไทยถูกลำเลียงพร้อมจรวด New Shepard ของ Blue Origin. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2561, จาก https://thestandard.co/mu-space-blue-origin/

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
Jeff Bezos ,Blue Origin, Amazon, Space, Moon ,ดวงจันทร์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอาทิตย์, 26 สิงหาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8678 Blue Origin จะพาเราไปพักผ่อนที่ดวงจันทร์! /article-earthscience/item/8678-blue-origin
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)