logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

เครื่องบิน บินสูงเเค่ไหน!?

โดย :
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 06 ธันวาคม 2561
Hits
51517

          เครื่องบินที่ลอย ๆ ล่อง ๆ อยู่บนฟ้า เชื่อว่าทุกคนต้องเคยเห็นกันมาบ้าง หรือถ้าใครที่มีบ้านหรือใช้ชีวิตใกล้สนามบิน ต้องเคยได้ยินเสียงเครื่องบินดัง ๆ กันอย่างแน่นอน อย่างผู้เขียนเองมีพักใกล้กับกองบินของทหารอากาศ เวลา F-16 ขึ้นบิน นอกจากเสียงจะดังมาก ๆ แล้ว หลังคาบ้านถึงกับสั่นเลยทีเดียว เลยเป็นที่มาของเรื่องที่จะเล่าวันนี้ เคยสงสัยกันบ้างรึเปล่า “เครื่องบิน บินสูงแค่ไหนกัน”

8658 1

ภาพที่ 1 Electric Airplane
ที่มา https://www.technologyreview.com/the-download/609058/this-12-seater-electric-airplane-could-fly-you-on-short-trips-one-day/

8658 2

ภาพที่ 2 Air Force One
ที่มา http://www.thefiscaltimes.com/2018/02/16/Air-Force-One-Isn-t-Getting-Any-Cheaper

8658 3

ภาพที่ 3 เครื่องบินขนส่งทางด้านการทหาร C-150
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Lockheed_C-130_Hercules

8658 4

ภาพที่ 4 เครื่องบินส่วนตัวขนาดเล็ก Honda Jet
ที่มา https://motor-fan.jp/article/10004439

          ก่อนที่จะเล่าถึงความสูงของการบินของเครื่องบิน เราต้องมาจำแนกประเภทของเครื่องบินกันก่อน เพราะว่าเครื่องบินแต่ละประเภทนั้น ใช้ระดับทำการบินไม่เท่ากัน โดยเครื่องบินนั้นในปัจจุบัน มีมากมายหลายประเภทมากไม่ว่าจะเป็น เครื่องบินส่วนตัวขนาดเล็ก เครื่องบินส่วนตัวขนาดใหญ่อย่าง Air Force One เครื่องบินขนส่งสินค้าทางด้านพาณิชย์ เครื่องบินขนส่งทางด้านการทหาร นอกจากนี้ในปัจจุบันนั้นยังมีอากาศยานไร้คนขับ หรือที่เรียกกันในสายวิศวกรว่า UAV (Unmanned Aerial Vehicle) แต่ในวันนี้ขอเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องบินที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวางที่สุดอย่างเครื่องบินขนส่งพาณิชย์  

8658 5

ภาพที่ 5 Boeing Aircraft
ที่มา http://www.ghn.ge/com/news/view/205497

8658 6

ภาพที่ 6 Airbus Aircraft
ที่มา https://global.handelsblatt.com/companies/airbus-rocked-by-corruption-allegations-ceo-tom-enders-boeing-rival-837108

          เครื่องบินขนส่งพาณิชย์ ที่ว่านี้ ก็เช่นพวก Boeing, Airbus ไม่ว่าจะเป็น Boeing747, 787, 777 หรือ Airbus A320 A380 A350 เครื่องบินจำพวกนี้ก็มีหน้าที่หลัก ๆ คือ ขนส่งผู้โดยสาร หรือ สินค้าที่มีขนาดไม่ใหญ่มากจนเกินไป โดยความสูงของเครื่องบินจำพวกนี้ มีช่วงกว้างๆคือ 28,000 - 41,000 ฟุต (แต่เรามองจากพื้นเหมือนใกล้เรามากกว่านั้น)

แล้วทำไมเครื่องบินต้องไปบินที่ความสูงระดับนั้นด้วยล่ะ?

          คำถามนี้ เป็นหนึ่งในคำถามที่ตอบยากมาก เพราะมันสามารถตอบได้หลากหลายมากๆ มีนักวิชาการหลายต่อหลายท่านพยายามออกมาให้ความเห็นโดยอ้างจากทฤษฎีต่างๆ เช่น สมการของเบอร์นูลี กลศาสตร์ของไหล หรือ อากาศพลศาสตร์ แต่วันนี้จะขอเสนอทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน

          ที่ความสูงระดับนั้น ในทางวิศวกกรรมศาสตร์การบิน เราเรียกอากาศบริเวณนั้นว่า “Thin Air” Thin (adj.) ที่แปลว่า ผอม, บาง, เบา, จาง   Air (n.) ก็แปลว่า อากาศ พอแปลโดยรวมแล้วจะเป็น “อากาศที่บาง”ทีนี้พออากาศมันบางแล้วเนี่ย เครื่องบินก็จะสามารถแหวกอากาศเพื่อเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้โดยง่าย เมื่อเครื่องบินเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ง่าย ก็จะส่งผลให้ ประหยัดน้ำมัน นั่นเอง เพราะนักบินก็จะไม่ต้องเร่งการทำงานของเครื่องยนต์ Jet ให้ทำงานหนักมากจนเผาพลาญเชื้อเพลิงมาก พอไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงมาก ก็ส่งผลให้สายการบินประหยัดต้นทุนมากขึ้น นอกจากนี้ยังเกี่ยวกับเรื่องของแรงเสียดทาน หรือ แรงต้านของอากาศด้วย เพราะอากาศที่บาง จะสร้างแรงต้านที่น้อย ซึ่งส่งผลที่ดีต่อทั้งโครงสร้างของเครื่องบิน สภาพผิว และการใช้เชื้อเพลิง

8658 7

ภาพที่ 7 เครื่องบินที่ทำการบินสูงกว่า 35000 ft
ที่มา https://www.mirror.co.uk/lifestyle/travel/air-update-british-airways-matches-4455481

          และเหตุผลสุดท้ายคือ สภาพภูมิอากาศ ที่ความสูงระดับ 30,000 ฟุต แน่นอนว่าแดดไม่ร่ม (สูงขนาดนั้นร้อนแดดแน่นอน แต่หนาวนะ!? ส่วนทำไมถึงหนาวจะพูดถึงในบทความในโอกาสหน้า) แต่ถึงแม้แดดมันจะไม่ร่ม แต่! ลมนั้นสงบ! ที่ความสูงขนาดนั้นต้องบอกว่าไม่มีพายุ และแทบจะไม่มีเมฆอีกด้วย การทำการบินของเครื่องบินนั้นเราต้องพยายามหลบเลี่ยงการแปรปรวนของสภาพอากาศให้มากที่สุด เพราะมันทำให้เครื่องบินสั่นมาก และอาจเป็นอันตรายต่อผู้โดยสารได้ วิศวกรผู้ออกแบบอากาศยานจึงต้องพยายามหาความสูงที่เหมาะสมที่สุดในการทำการบิน จึงไปตกอยู่ช่วง 30,000-41,000 ฟุต

แหล่งที่มา

Hugh Morris. (2017, 14 Mar).  Why planes fly at 35,000 feet: The reason for high altitude flights?.  Retrieved August 24, 2018, from http://www.traveller.com.au/why-planes-fly-at-35000-feet-the-reason-for-high-altitude-flights-guxhc9

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
เครื่องบิน , ความสูง , เชื้อเพลิง , อากาศยาน
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพุธ, 22 สิงหาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8658 เครื่องบิน บินสูงเเค่ไหน!? /article-earthscience/item/8658-2018-09-11-07-57-13
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)