logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

รู้จักกับเมฆจานบิน

โดย :
ณัฐดนัย เนียมทอง
เมื่อ :
วันพุธ, 14 พฤศจิกายน 2561
Hits
24799

        ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ปรากฏอยู่บนท้องฟ้า สร้างความสวยงามและประหลาดใจอยู่เสมอ  เราเคยนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับปรากฏการทางธรรมชาติที่ปรากฏให้เห็นบนท้องฟ้าไปแล้วในเรื่อง ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ 3 ดวง หรือ ปรากฏการณ์ซันด็อก (Sun Dog) วันนี้มีอีกหนึ่งปรากฏการณ์ที่สร้างความสวยงามไม่แพ้กันอย่าง ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับเมฆที่มีความสวยงามและแปลกประหลาดจนทำให้ผู้พบเห็นรู้สึกตื่นเต้นเพราะคิดไปว่า กลุ่มมวลเมฆที่พบเห็นเป็นจานบินของมนุษย์ต่างดาว ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า  เมฆจานบิน

8499 1
ภาพที่ 1 ภาพการเกิดปรากฏการณ์ เมฆจานบิน โดยความสูงที่จะเกิดปรากฏการณ์นี้จะอยู่ที่ระหว่าง 6,000 - 12,000 เมตร โดยแสดงทิศทางการไหลของกระแสลม
ที่มา http://wowboom.blogspot.com/2009/06/lenticular-cloud.html

          เมฆจานบิน เมฆรูปทรงเลนส์ที่ทำให้เรามองเห็นกลุ่มเมฆเป็นจานบินอวกาศ บ้างก็เรียกมันว่า เมฆสิ่งบินลึกลับ หรือ UFO cloud (Unidentified Flying Object ) ในบางพื้นที่ก็จะเรียกชื่อตามลักษณะอย่างที่เห็น เช่น การมองเห็นกลุ่มเมฆลักษณะแบบที่เกิดขึ้นบริเวณเหนือยอดเขาขนาดใหญ่ ก็จะมีลักษณะคล้ายดอกเห็ดขนาดยักษ์บ้าง หรือบ้างก็เรียกชื่อจากการมองเห็นเป็นหมวกว่า cap cloud เป็นต้น

          เมฆจานบินเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของกลุ่มก้อนเมฆเกิดขึ้นในเวลาที่อากาศชื้นอิ่มตัวพัดผ่านยอดเขาสูง และทำให้เกิดการไหลของกระแสอากาศชื้น ตามภาพที่แสดงข้างต้น ซึ่งแต่ละเส้นนั้นจะแสดงเส้นทางการไหลของกระแสอากาศ ซึ่งมักจะเกิดที่ตำแหน่งยอดคลื่น  แบบลูกคลื่นขนาดใหญ่หลายระลอกขึ้น เมื่ออากาศชื้นถูกพัดไหลขึ้นสูงขึ้นเรื่อยตามระลอกคลื่น อุณหภูมิจะค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ จนถึงจุดที่ทำให้อากาศชื้นเริ่มกลั่นตัว ทำให้เกิดปรากฏการณ์เมฆจานบิน เมื่อเมฆไหลลงมาต่ำเรื่อย ๆ อุณหภูมิจะสูงขึ้น เมฆจะค่อย ๆ ระเหยกับไปอยู่ในสภาพของอากาศชื้นอีกครั้ง

8499 2
ภาพที่ 2 ตัวอย่างภาพเมฆจานบินหรือเมฆรูปหมวกเหนือยอดเขา
ที่มา https://www.gotoknow.org/posts/79047

         อากาศในมวลเมฆจะถูกแบ่งเป็นชั้น แต่ละชั้นเมื่อถูกยกให้ลอยสูงขึ้น ก็จะขยายตัวออก ส่งผลให้มีอุณหภูมิลดลง และก็อย่างที่ทราบกันดีว่านั่นเป็นกระบวนการก่อนตัวของไอน้ำที่เมื่อลอยสูงขึ้น ก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเล็ก ๆ ที่ทำให้เกิดก้อนเมฆนั่นเอง แต่เมฆที่เกิดขึ้นนี้ถูกกักอยู่ในชั้นอากาศที่ว่ามาแล้ว จึงมีรูปร่างออกจะแบนๆ ในแนวดิ่ง และยืดยาวออกทางด้านข้างโดยรอบ กลายเป็น ‘จานบิน’ นั่นเอง

8499 3
ภาพที่ 3 ปรากฏการณ์สีรุ้งบนเมฆจานบิน
ที่มา https://www.gotoknow.org/posts/79047

ปรากฏการณ์สีรุ้งบนเมฆจานบิน

         สิ่งที่สร้างความสวยงามให้แก่ก้อนมวลเมฆเหล่านี้ก็คือ ในกลุ่มเมฆจานบินเหล่านี้ ไอน้ำที่เกิดขึ้นจะมีขนาดเล็กมาก ๆ ในขนาดที่เท่า ๆ กัน ทำให้แสงสีขาวจากดวงอาทิตย์สอดส่องและเกิดการเลี้ยวเบน แตกออกเป็นสีรุ้งสร้างความสวยงามอย่างเป็นธรรมชาติอีกด้วย

8499 4
ภาพที่ 4 ปรากฏการณ์เมฆจานบินแบบหลายชั้น
ที่มา https://www.gotoknow.org/posts/79047

เมฆจานบินแบบหลายชั้น

        เมฆจานบินบางก้อนอาจมีลักษณะเป็นชั้น ๆ หลายชั้นซ้อนกัน เพราะความชื้นในอากาศมีค่ามากน้อยสลับกันเป็นชั้น ๆ ชั้นไหนมีความชื้นมาก ก็จะมีโอกาสเกิดหยดน้ำได้มากนั่นเอง

        เป็นอย่างไรกันบ้าง หากมีโอกาสได้พบเห็นกลุ่มเมฆจานบิน อย่าลืมหาโอกาสบันทึกภาพเก็บไว้เป็นที่ระลึกกันนะ

แหล่งที่มา

ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เมฆจานบิน . สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2561. จาก http://wowboom.blogspot.com/2009/06/lenticular-cloud.html

บัญชา ธนบุญสมบัติ.ปริศนา เมฆจานบิน. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2561. จาก https://www.gotoknow.org/posts/79047

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ปรากฏการณ์ธรรมชาติ, ปรากฏการณ์, เมฆ, เมฆจานบิน, เมฆรูปทรงเลนส์, UFO cloud, จานบินอวกาศ
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 03 สิงหาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณัฐดนัย เนียมทอง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8499 รู้จักกับเมฆจานบิน /article-earthscience/item/8499-2018-07-18-04-46-26
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)