logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

เนบิวลาคืออะไร

โดย :
ณัฐดนัย เนียมทอง
เมื่อ :
วันพุธ, 08 สิงหาคม 2561
Hits
125647

           หลากหลายความสวยงามที่ปรากฏอยู่บนท้องฟ้าที่ไกลสุดลูกหูลูกตาอย่างอวกาศ “เนบิวลา” (Nebula) เป็นอีกหนึ่งวัตถุที่เรียกได้ว่ามีความสวยงามไม่แพ้วัตถุอื่น ๆ ในอวกาศ เนบิวลาหรือกลุ่มฝุ่น แก๊ส และพลาสมาในอวกาศ ที่อยู่รวมตัวกันจะมีลักษณะเป็นก้อนหมอกเมฆขนาดใหญ่ ปะปนอยู่ในกลุ่มดวงดาวที่เปร่งแสงสีสวยงาม มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “หมอกเพลิง”

7938 1
ภาพที่ 1 เนบิวลา
ที่มา https://pixabay.com/th/ , barewolf

          ดาวฤกษ์ในอวกาศเองก็เกิดขึ้นจากเนบิวลา เนบิวลาประกอบไปด้วยแก๊สไฮโดรเจนเป็นโครงสร้างพื้นฐาน การรวมกลุ่มกันด้วยแรงโน้มถ่วงที่ดึงดูดให้ฝุ่นและแก๊สเข้ามารวมตัวอัดแน่นเป็นก้อนที่มีขนาดเล็กและหนาแน่นขึ้น เมื่อมวลมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน แรงดึงดูดแปรผันตามมวล มวลยิ่งมากแรงดึงดูดยิ่งมาก ฝุ่นและแก๊สรวมตัวอันแน่นจนเกิดความดันและอุณหภูมิที่สูงขึ้น จนเกิดปฏิกิริยาฟิวชั่นกลายเป็นดาวฤกษ์ ในขณะเดียวกัน เนบิวลาเองก็เป็นวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ช่วงสุดท้าย ซึ่งอาจเกิดจากการระเบิดของดวงดาวฤกษ์ต่าง ๆ จนกลายเป็นฝุ่นและเศษซากต่าง ๆ จับตัวกันกลายเป็นเนบิวลาอีกครั้ง

          โดยปกติเราแบ่งเนบิวลาออกเป็น 2 ลักษณะคือ เนบิวลาสว่าง และ เนบิวลามืด

เนบิวลาสว่าง (Diffuse nebula)

7938 2

ภาพที่ 2 ภาพตัวอย่างเนบิวลลสว่าง ทั้ง 2 ชนิดคือ เนบิวลาเปล่างแสงและเนบิวลาสะท้อนแสง
ที่มา http://122.155.197.218/index.php?option=com_k2&view=item&id=4890:2015-09-11-10-19-03&Itemid=184

         มี 2 ชนิดคือ เนบิวลาสะท้อนแสง (Reflection nebula) หรือเรียกอีกอย่างว่า ซึ่งเกิดจากการกระเจิงของแสงจากดาวฤกษ์ใกล้เคียง แสงจะมีลักษณะสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน ส่วนอีกชนิดคือ  เนบิวลาเปล่งแสง (Emission nebula) ซึ่งเกิดจากการกระตุ้นด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตจากดาวข้างเคียง โดยจะเปล่งแสงในช่วงคลื่นที่เฉพาะตัวตามธาตุองค์ประกอบของเนบิวลา ทำให้มีสีต่าง ๆ กัน ตัวอย่างเช่นเนบิวลาเรืองแสงออกมาเป็นสีแดงจากแก๊สไฮโดรเจน หรือบางครั้งเป็นสีเขียวจากแก๊สออกซิเจน บางครั้งอาจมีสีอื่นซึ่งเกิดจากอะตอม หรือโมเลกุลอื่น ๆ ก็ได้

          ตัวอย่างเนบิวลาสว่าง

          สะท้อนแสง ได้แก่ เนบิวลาสว่างใหญ่ในกระจุกดาวลูกไก่ จะสะท้อนแสงสีน้ำเงิน  

          เรืองแสง ได้แก่ เนบิวลา M-42 ในกลุ่มดาวนายพราน เนบิวลาวงแหวน M-52 ในกลุ่มดาวพิณ

          ทั้งเรืองแสงละสะท้อนแสง ได้แก่ เนบิวลาสามแฉก M-20 ในกลุ่มดาวคนยิงธนู

เนบิวลามืด (Dark nebula)

7938 3

ภาพที่ 3 ภาพตัวอย่างเนบิวลามืด
ที่มา https://apod.nasa.gov/apod/ap171021.html ,Fabian Neyer

          เป็นแก๊สและฝุ่น ที่จับตัวบดบังและดูดกลืนแสงของดาวฤกษ์ จึงทำให้มองเห็นเป็นบริเวณสีดำ เราจะสามารถสังเกตเห็นเนบิวลามืดได้เมื่อมีเนบิวลาสว่าง หรือดาวฤกษ์จำนวนมากเป็นฉากหลัง

          ตัวอย่างเนบิวลามืด ได้แก่ เนบิวลามืดรูปหัวม้าในกลุ่มดาวนายพราน และ เนบิวลารูปถุงถ่านหิน ในกลุ่มดาวกางเขนใต้

          และในความเป็นจริงแล้ว เนบิวลาสว่าง เนบิวลาสะท้อนแสง และเนบิวลามืด ก็เป็นเพียงมุมมองที่เป็นปรากฎการณ์จากโลกเท่านั้น

         สำหรับบทความนี้จะแนะนำและเขียนเพื่อให้ทำความรู้จักโดยภาพรวมเกี่ยวกับเนบิวลาเพียงเท่านั้น  ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับตัวอย่างของเนบิวลาต่าง ๆ นั้น สามารถติดตามอ่านได้จากแหล่งที่มาด้านล่างนี้ได้เลย

แหล่งที่มา

เนบิวลา คืออะไร.  สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2561, จาก
          http://www.nextsteptv.com/mysci/เนบิวลา-คืออะไร/

เนบิวลา.  สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2561, จาก
          http://122.155.197.218/index.php?option=com_k2&view=item&id=4890:2015-09-11-10-19-03&Itemid=184

เนบิวลา.  สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2561, จาก
          http://www.lesa.biz/astronomy/star/nebula

วิมุติ วสะหลาย  .   สีของเนบิวลาบ่งบอกอะไรได้บ้าง? .  สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2560, จาก
          http://thaiastro.nectec.or.th/library/faqs/faq.php?faqid=19

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
เนบิวลา, Nebula, หมอกเพลิง, เนบิวลาสว่าง, Diffuse nebula, เนบิวลาสะท้อนแสง, Reflection nebula,  เนบิวลาเปล่งแสง, Emission nebula, เนบิวลามืด, Dark nebula
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 04 มิถุนายน 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณัฐดนัย เนียมทอง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7938 เนบิวลาคืออะไร /article-earthscience/item/7938-2018-03-20-04-05-25
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)