logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

สัมภาษณ์หญิงไทยคนแรกที่ได้ไปอวกาศ

โดย :
yrprincess
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 04 ธันวาคม 2557
Hits
26954

การเดินทางขึ้นสู่อวกาศนั้นเป็นสิ่งที่หลายๆ คนใฝ่ฝัน เช่นเดียวกันกับ "หญิงไทยคนแรกที่ได้ไปอวกาศ"

มิ้ง พิรดา เตชะวิจิตร์ วิศวกรดาวเทียมประจำสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)

คุณมิ้งจบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งในขณะที่เรียนอยู่ชั้นปีที่ 3 นั้นได้รับทุนไปฝึกงานที่บริษัทอินเทล ประเทศอินเดีย เป็นเวลาหนึ่งปี ก่อนจะกลับมาเรียนจนจบ จากนั้นได้รับทุนการศึกษาภายใต้ THEOS Operation Training Program (TOTP) ของโครงการพัฒนาดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทย หรือดาวเทียมไทโชต ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ด้านวิศวกรรมดาวเทียม ที่สถาบัน ISAE ประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันทำงานในตำแหน่ง นักพัฒนานวัตกรรม สำนักพัฒนาอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA)

คุณมิ้ง พิรดา เตชะวิจิตร์

คุณมิ้งมีความสนใจทางด้านอวกาศและอยากเป็นนักบินอวกาศมาโดยตลอด รวมทั้งมีคนที่เป็นแรงบันดาลใจให้เดินตามความฝัน คือ นักบินอวกาศหญิงคนแรกของเกาหลีใต้ “คุณ ยี โซฮยอน” และสุดท้ายก็ได้ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้ายเป็น 1 ใน 23 คน ที่จะได้ร่วมเดินทางไปอวกาศในปี พ.ศ. 2558 ในโครงการ แอ็กซ์ อพอลโล สเปซ อคาเดมี (AXE Apollo Space Academy)

ซึ่งหลังจากได้รับรางวัลมาต้องฝึกภารกิจหลัก 3 ภารกิจ คือ

- Air combat หรือ ภารกิจ “G Centrifuge” เป็นการฝึกนั่งเครื่องบินในห้องนักบินในสภาวะการขับขี่ยานขึ้นสู่อวกาศจริงแบบซิมูเลเตอร์ เพื่อทดสอบสภาวะร่างกายและลองเปิดรับประสบการณ์จริงภายใต้แรงดันสูงสุดถึง 4.5 จี ทดสอบบินจริงบนเครื่องบินความเร็วมากกว่าความเร็วเสียง พร้อมกลับหัวกลางอากาศ  ซึ่งระหว่างฝึกปฏิบัติภารกิจนี้ จะรู้สึกว่าเลือดมันไหลเวียนลงไปที่เท้า เหมือนโดนฉุดกระชากลงไป ซึ่งจะส่งผลให้หน้ามืด เพราะฉะนั้นผู้ฝึกต้องพยายามเกร็งไม่ให้เลือดลงไปเยอะ  ต้องใช้พลังงานสูงและร่างกายต้องฟิตและแข็งแรงมากๆ

- ภารกิจสภาวะไร้น้ำหนัก หรือ Zero G  Flight ไฟลต์บินเป็นโค้งพาราโบลา ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่สามารถทำได้บนพื้นโลกปกติ เป็นหนึ่งในบททดสอบของผู้ชนะการแข่งขัน EXE Apollo เพื่อฝึกซ้อมร่างกายและจิตใจให้พร้อมก่อนจะเดินทางไปสัมผัสสภาวะไร้น้ำหนักในห้วงอวกาศ โดยภารกิจนี้ถือเป็นภารกิจหนึ่งที่เข้มข้นและยากอีกทั้งเป็นประสบการณ์ที่หาบนโลกไม่ได้

- ภารกิจฝึกในเครื่อง G Force คือฝึกให้ลองอยู่ในเครื่องที่มีแรงเหวี่ยง นอกจากผ่านการฝึกภารกิจทั้ง 3 ภารกิจแล้ว อีกหัวใจหลักของการฝึกนี้ก็คือ การทำงานเป็นทีมเวิร์ก รวมถึงสภาวะการเป็นผู้นำที่ทุกคนต้องมี นอกจากนี้ยังต้องมีการฝึก Astronaut Assault Course คือการฝึกความแข็งแกร่งของร่างกาย ในเรื่องของความกล้าหาญ  เสมือนการฝีกในค่ายทหาร เช่น ปีนผาจำลอง วิดพื้น 50 ครั้ง ซิตอัพ 50 ครั้ง กระโดดข้ามรั้ว กระโดเชือก ซึ่งเป็นภารกิจที่ถือว่าหนักมาก

หญิงไทยคนแรกในอวกาศ

ภายในเดือนธันวาคม 2558 นี้ ชื่อของ มิ้ง พิรดา เตชะวิจิตร์ จะถูกบันทึกเป็นหญิงไทยคนแรกที่ได้ไปอวกาศ ที่พร้อมทะยานขึ้นสู่ห้วงอวกาศด้วยความเร็ว 3,552 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งจะใช้เวลาแค่ 3 นาทีครึ่งเท่านั้น บนยาน LYNX MARK II (ลิงซ์ มาร์ค ทู) และยานก็จะมาอยู่ที่บริเวณระดับความสูงเหนือพื้นดิน 103 กิโลเมตร และเมื่อขึ้นไปแลวจะคางอยูบนอวกาศได้สัมผัสกับภาวะไร้แรงโน้มถ่วงนาน 6 นาที เธอจะสามารถมองเห็นโลกได้ทั้งใบโดยไร้แรงโน้มถ่วง และจดจำกับประสบการณ์อันล้ำค่านี้ ก่อนที่จะพากลับมายังพื้นโลก ซึ่งการเดินทางบนห้วงอวกาศนี้ใช้เวลารวม 60 นาที ซึ่งขณะนี้ไฟลตเดินทางกําลังอยูในชวงของการทดสอบ

และเมื่อถึงเวลานั้น....ชื่อของ “พิรดา เตชะวิจิตร” ก็จะถูกบันทึกไวในประวัติศาสตรวาเปนหญิงไทยคนแรกที่ได้ไปอวกาศ

อ้างอิงจาก
http://fieldtrip.ipst.ac.th/intro_sub_content.php?content_id=34&content_folder_id=423
http://women.mthai.com/amazing-women/162837.html
http://www.ap.mju.ac.th/data_silo/newsys/2014-03-04-10-25-04-002477ST6.pdf
http://www.thairath.co.th/content/412530

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
สัมภาษณ์หญิงไทยคนแรกที่ได้ไปอวกาศ
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอาทิตย์, 24 มิถุนายน 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
yrprincess
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 4418 สัมภาษณ์หญิงไทยคนแรกที่ได้ไปอวกาศ /article-earthscience/item/4418-2014-12-04-07-49-22
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)