logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

อนาคตของดวงอาทิตย์

โดย :
สสวท.
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 08 กันยายน 2554
Hits
24390

อนาคตของดวงอาทิตย์

โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 149,598,023 กิโลเมตร และโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยใช้เวลานาน365.256366 วัน ด้วยความเร็วโดยเฉลี่ย 107,220 กิโลเมตร/ชั่วโมง เรารู้ว่าดวงอาทิตย์ปัจจุบันหนัก1.9889 x 1027 ตัน ซึ่งคิดเป็น 332,946 เท่าของโลก เส้นผ่าศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ยาว1,392,140 กิโลเมตร และอุณหภูมิที่จุดศูนย์กลางสูงถึง 15,430,000 องศาเซลเซียส ในการเปล่งแสงและปลดปล่อยพลังงานความร้อน ดวงอาทิตย์ต้องเผาผลาญเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่มันมี วินาทีละ 4 ล้านตัน นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าในอีก 5,000 ล้านปี ดวงอาทิตย์ของเราจะดับ



ปฏิกิริยานิวเคลียร์บนดวงอาทิตย์เกิดเมื่อไฮโดรเจนที่อยู่ในบริเวณแกนของดวง อาทิตย์ถูกหลอมรวมเป็นฮีเลียม ดังนั้นที่บริเวณแกนของดวงอาทิตย์จะมีธาตุฮีเลียมสะสมมากขึ้นๆ และบริเวณรอบแกนจะมีไฮโดรเจนน้อยลงๆ ในขณะที่เหตุการณ์เช่นนี้กำลังดำเนินการ ดวงอาทิตย์ของเราก็กำลังเปลี่ยนสภาพจากดาวเคราะห์เหลือง (yellow dwarf) ไปสู่ความเป็นดาวยักษ์แดง (red giant)

นัก ดาราศาสตร์ได้สังเกตเห็นว่า ดาวยักษ์แดงที่มีน้ำหนักพอๆ กับดวงอาทิตย์ ทุกดวงมีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์มาก ดาวยักษ์แดงบางดวงมีรัศมียาวถึง 150 ล้านกิโลเมตร จึงเป็นที่คาดหวังว่าวันหนึ่งในอนาคตข้างหน้า เมื่อดวงอาทิตย์เป็นดาวยักษ์แดงที่สมบูรณ์ มันจะมีขนาดใหญ่จนโลกต้องถูกกลืนให้เข้าไปโคจรอยู่ภายในมันในที่สุด

แต่เมื่อเร็วๆ นี้ I. J. Sackmann แห่ง California Institute of Technology และคณะได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสาร Astrophysics ระบุว่าเหตุการณ์ที่ดวงอาทิตย์จะมีขนาดใหญ่จนกลืนโลกเข้าไปภายในนั้น ไม่มีทางเป็นไปได้

โดย Sackmann และคณะยอมรับว่า ดวงอาทิตย์จะมีขนาดใหญ่ขึ้นมากในอนาคต จนสามารถกลืนดาวพุธที่โคจรอยู่ใกล้มันที่สุดให้เข้าไปอยู่ในตัวมันได้ แต่ ก่อนที่โลกจะถูกกลืนตามไปด้วยนั้น ตัวดวงอาทิตย์เองได้สูญเสียน้ำหนักไปมาก ดังนั้น แรงดึงดูดระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์จะลดลงมากและเมื่อแรงดึงดูดลดลง โลกจะโคจรห่างจากดวงอาทิตย์ออกมาโดยรัศมีวงโคจรใหม่ที่ยาวกว่ารัศมีวงโคจรปัจจุบันมาก



คณะนักวิจัยทีมนี้ยังทำนายว่า ในอีก 4,000 ล้านปีข้างหน้าปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงจะหยุด และปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่มีการเผาผลาญฮีเลียมจะเกิด ในขณะนั้นดวงอาทิตย์จะมีขนาดใหญ่เป็น 10 เท่าของปัจจุบัน และมีสภาพเป็นดาวยักษ์แดงที่สมบูรณ์ โดยมีอุณหภูมิที่จุดศูนย์กลางสูงถึง 100 ล้านองศาเซลเซียส และเมื่อน้ำหนักของดวงอาทิตย์ลดลงถึง 28 เปอร์เซ็นต์ รัศมีวงโคจรของโลกจะเพิ่มขึ้น 38 เปอร์เซ็นต์ จึงเป็นอันว่าโลกของเราปลอดภัยจากการถูกดวงอาทิตย์กลืน

แต่ดวงอาทิตย์จะยังคงสุกสว่างมากขึ้นๆ เมื่อดวงอาทิตย์สุกสว่างกว่าปัจจุบัน 2,349 เท่าและมีขนาดใหญ่ครึ่งฟ้าเมื่อมองบนโลก ความร้อนอันมหาศาลจากดวงอาทิตย์จะทำลายชีวิตทุกรูปแบบ และมหาสมุทรจะแห้งขอด จากนั้นไปอีก 160 ล้านปี ดวงอาทิตย์จะเย็นลงๆ จนกลายสภาพเป็นดาวแคระขาว(white dwarf) ในที่สุด…….

Sackmann กับคณะได้หยุดการทำนายแล้วเมื่อถึงขั้นนี้



ที่มาข้อมูล : http://www.ipst.ac.th

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ดวง,ดวงอาทิตย์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 08 กันยายน 2554
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สสวท.
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 2169 อนาคตของดวงอาทิตย์ /article-earthscience/item/2169-the-future-of-the-sun
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)