logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

รอบรู้อยู่กับแผ่นดินไหว

โดย :
ว่าที่ ร.ต.ภูริวัจน์ จิราตันติพัฒน์
เมื่อ :
วันอังคาร, 15 สิงหาคม 2566
Hits
1404

      เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.3 Mw (แมกนิจูดโมเมนต์ ) ที่ความลึกจากผิวดินประมาณ 7 กิโลเมตร บริเวณตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย รวมถึงแรงสั่นสะเทือนที่ตามมาอีกนับร้อยครั้ง เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้สร้างความเสียหายกับ อาคาร บ้านเรือน วัด และถนนเป็นอย่างมากนอกจากนี้อาคารสูงในกรุงเทพฯ ยังรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้อีกด้วย

     เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงรายมีสาเหตุมาจากการปลดปล่อยพลังงานที่สะสมไว้ของรอยเลื่อนพะเยา เป็นกลุ่มรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย ซึ่งรอยเลื่อนมีพลัง (active fault) คือ รอยเลื่อนที่มีหลักฐานทางธรณีวิทยาแสดงว่ามีการเลื่อนตัวภายใน 11,000 ปี กลุ่มรอยเลื่อนมีพลังเหล่านี้ส่วนมากวางตัวอยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันตก เช่น รอยเลื่อนแม่จัน รอยเลื่อนเมย รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์  แต่รอยเลื่อนทุกแนวนั้นไม่ใช่แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว มีเพียงรอยเลื่อนที่ยังมีการเลื่อนตัวอยู่เท่านั้นที่สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับแผ่นดินไหวจึงมีความสำคัญต่อการป้องกันและบรรเทาพิบัติภัยที่เกิดจากแผ่นดินไหว โดยการศึกษาเรื่องแผ่นดินไหวมีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

ภาพแสดงจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว และความรุนแรงของแผ่นดินไหว ข้อมูลจาก USGS

ภาพแสดงจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว และความรุนแรงของแผ่นดินไหว ข้อมูลจาก USGS

ภาพความเสียหายของวัดในจังหวัดเชียงราย

ภาพความเสียหายของวัดในจังหวัดเชียงราย
ที่มา : http ://www.oknation.net

   หลังจากที่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวมาเป็นเวลานาน มนุษย์จึงมีการพัฒนาเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหว (Seismometer) ทำการตรวจวัดขนาดหรือแอมพลิจูดของคลื่นไหวสะเทือน ซึ่งมีทั้งแบบแอนะล็อกและดิจิทัล โดยเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวจะถูกติดตั้งอยู่ในสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหว สำหรับในประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบคือสำนักแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา เมื่อสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวตรวจวัดสัญญาณคลื่นไหวสะเทือนได้แล้ว จะรายงานขนาดของแผ่นดินไหวให้ประชาชนได้รับทราบ โดยการรายงานข่าวยังใช้คำว่าริกเตอร์อยู่ เนื่องจากมาตราริกเตอร์สามารถใช้รายงานแผ่นดินไหวระยะใกล้ได้ ซึ่งประชาชนส่วนมากยังมีความสับสนเกี่ยวกับรายงานขนาดของแผ่นดินไหวว่า ทำไมในปัจจุบันในบางพื้นที่จึงรายงานขนาดแผ่นดินไหวว่า “แมกนิจูด” แทน คำว่า “ริกเตอร์” ?

   มาตราริกเตอร์ (Richter scale) ML ถูกคิดค้นโดย ชาร์ล ฟรานซิส ริกเตอร์นักแผ่นดินไหววิทยาชาวเยอรมนี โดยวัดขนาดของแผ่นดินไหวจากแอมพลิจูดที่สูงที่สุดของคลื่นทุติยภูมิ และระยะห่างจากจุดศูนย์กลาง มาตราริกเตอร์นั้นไม่มีขอบเขตจำกัดว่าสิ้นสุดอยู่ที่ใด แต่มีข้อจำกัดอยู่ที่ใช้ได้กับแผ่นดินไหวที่มีระยะห่างจากสถานีตรวจวัดไม่เกิน 650 กิโลเมตร จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าแมกนิจูดท้องถิ่น (Local magnitude)

ภาพแสดงรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย

ภาพแสดงรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย
ภาพจากกรมทรัพยากรธรณี

ภาพแสดงพื้นที่ภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย

ภาพแสดงพื้นที่ภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย
ภาพจากกรมทรัพยากรธรณี

แผนผังสำหรับประเมินขนาดแผ่นดินไหวตามมาตราริกเตอร์

แผนผังสำหรับประเมินขนาดแผ่นดินไหวตามมาตราริกเตอร์
ที่มา: http://earthquake.usgs.gov

   มาตราแมกนิจูดโมเมนต์ (Moment magnitude scale) MW ถูกพัฒนาโดยทอมัส แฮงค์  และฮิรูโอะ คานาโมริ นักแผ่นดินไหววิทยาเพื่อทำให้มีความแม่นยำในการตรวจวัดมากขึ้น โดยวัดขนาดจากโมเมนต์ของแผ่นดินไหว ซึ่งสามารถคำนวณได้จากมอดูลัสเฉือนของหิน ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดแผ่นดินไหว พื้นที่การแตกตามแนวรอยเลื่อน และค่าการกระจัดเฉลี่ยของรอยเลื่อน มาตราแมกนิจูดโมเมนต์นั้น เหมาะที่จะใช้กับแผ่นดินไหวระยะไกลที่มีขนาดใหญ่ ดังนั้นในปัจจุบันจึงนิยมรายงานขนาดของแผ่นดินไหวเป็นแมกนิจูด

   เมื่อสามารถตรวจวัดและบอกขนาดของแผ่นดินไหวได้แล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ต้องทราบคือแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นที่ไหน และเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นไม่สามารถทำนายเวลาการเกิดที่แน่นอนได้ การทำนายแผ่นดินไหวสามารถคาดการณ์ช่วงเวลาการเกิดแผ่นดินไหวได้จากคาบอุบัติซ้ำของแผ่นดินไหวในแต่ละที่ โดยการขุดร่องสำรวจรอยเลื่อนและทำการหาอายุของการเลื่อนตัวในแต่ละครั้ง รวมทั้งข้อมูลสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในอดีต เพื่อประมาณช่วงเวลาการเกิดในครั้งต่อไป

ภาพการขุดร่องสำรวจรอยเลื่อน

ภาพการขุดร่องสำรวจรอยเลื่อน
ที่มา : http ://home.hiroshima-u.ac.jp/kojiok/QR/BCN2

   อย่างไรก็ตาม เมื่อเราไม่ทราบเวลาเกิดที่แน่นอนของแผ่นดินไหวทราบแต่ช่วงเวลาการเกิดคร่าว ๆ กับพื้นที่เสี่ยงภัยเท่านั้น อีกทั้งมนุษย์ยังไม่สามารถควบคุมไม่ให้เกิดแผ่นดินไหวได้ การเตรียมพร้อมก่อนการเกิดแผ่นดินไหว รวมไปถึงการปฏิบัติตนที่ถูกต้องในขณะเกิด และหลังเกิดแผ่นดินไหว เป็นสิ่งสำคัญที่ควรต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เพื่อให้เราสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างมีความสุข

บรรณานุกรม

กรมทรัพยากรธรณี. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2557, จาก http ://www.dmr.go.th

สำนักแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2557,จาก http ://www.seismology.tmd.go.th/home.html

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
แผ่นดินไหว, แมกนิจุดโมเมนต์, แรงสั่นสะเทือน
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ว่าที่ ร.ต.ภูริวัจน์ จิราตันติพัฒน์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
ระดับชั้น
ปฐมวัย
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
ปฐมวัย
ประถมศึกษาตอนต้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 12814 รอบรู้อยู่กับแผ่นดินไหว /article-earthscience/item/12814-2023-01-20-06-50-28
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    แรงสั่นสะเทือน แมกนิจุดโมเมนต์ ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว
คุณอาจจะสนใจ
Charles Lyell บิดาคนหนึ่งของวิชาธรณีวิทยา
Charles Lyell บิดาคนหนึ่งของวิชาธรณีวิทย...
Hits ฮิต (3385)
ให้คะแนน
เมื่อ Charles Darwinเรียบเรียงหนังสือ On the Origin of Speciesเขาได้อ้างถึง Charles Lyell ว่า เป็นผ ...
วงแหวนแห่งไฟ
วงแหวนแห่งไฟ
Hits ฮิต (87187)
ให้คะแนน
ในช่วงหลายปีที่มีข่าวมากมายเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว และสึนามิ ซึ ...
การใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ในการประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่น ...
การใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ในการประเมิน...
Hits ฮิต (2248)
ให้คะแนน
บริเวณภาคเหนือภาคตะวันตก ตลอดจนถึงภาคใต้ของประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวมากกว่าบริเว ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)