logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

รู้หรือไม่ว่าตำแหน่งของดวงดาวบอกอะไรเราได้บ้าง

โดย :
ศรุดา ทิพย์แสง
เมื่อ :
วันพุธ, 05 สิงหาคม 2563
Hits
28705

           ในการที่จะศึกษาหรือทำความเข้าใจในเรื่องของดาราศาสตร์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากดวงดาวทั้งหลายรวมทั้งวัตถุท้องฟ้าอื่น ๆ นั้นอยู่ไกลแสนไกล การบอกจะตำแหน่งของดวงดาวเหล่านั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ในความไม่ง่ายนั้นก็แฝงไปด้วยเรื่องราวที่ชวนสนุกและน่าตื่นเต้น การหาวิธีที่จะสื่อสารกันว่ากำลังกล่าวถึงดวงดาวใด ดังนั้นขั้นแรกต้องสร้างจินตนาการก่อนว่ามีท้องฟ้าเป็นรูปครึ่งทรงกลมครอบเราอยู่ โดยมีเรายืนอยู่ที่จุดศูนย์กลางของครึ่งวงกลม เมื่อสมมติว่ามีท้องฟ้าแล้วจึงกำหนดต่อไปว่าดวงดาวหรือวัตถุท้องฟ้าที่ต้องการจะศึกษาอยู่ที่ใดบนท้องฟ้า  จากบทความนี้เราจะมาศึกษาตำแหน่งของดวงดาวกัน

11353

ภาพดาราจักร (แกแล็คซี่ - galaxy) เป็นที่รวมของดวงดาว      
ที่มา https://www.pexels.com/photo/sky-space-dark-galaxy-2150/

         ในการบอกตำแหน่งของวัตถุใด ต้องบอกค่าอย่างน้อย 2 ค่า เช่น การบอกตำแหน่งบนโลก ต้องบอกค่าละติจูดและลองจิจูด เช่นเดียวกับการบอกตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า ต้องบอกด้วยค่าอย่างน้อย 2 ค่า วิธีที่ง่ายคือ ใช้ระบบเส้นขอบฟ้า และเป็นการบอกตำแหน่งที่สัมพันธ์กับเวลา คือ เวลาเปลี่ยนไปตำแหน่งของวัตถุก็จะเปลี่ยนไป ในระบบนี้จะบอกตำแหน่งวัตถุด้วยค่า 2 ค่า คือ มุมทิศ (Azimuth) และมุมเงย (Altitude) เราสามารถวัดมุมทิศและมุมเงย

          การวัดมุมในระบบพิกัดขอบฟ้าประกอบด้วย มุมทิศ​ และ มุมเงย

          มุมทิศ (Alzimuth)​ เป็นมุมในแนวราบขนานกับเส้นขอบฟ้า นับจากทิศเหนือในทิศทางตามเข็มนาฬิกาไปยังทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก และกลับมายังทิศเหนืออีกครั้ง ซึ่งวัดจากทิศเหนือ (0° ) ไปตามเส้นขอบฟ้าในทิศตามเข็มนาฬิกา ไปยังทิศตะวันออก (90°) ทิศใต้ (180°) ทิศตะวันตก (270°) และกลับมาที่ทิศเหนือ (360°) อีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นมุมทิศจึงมีค่าระหว่าง (0° - 360°)

          มุมเงย (Altitude) เป็นมุมในแนวตั้งหรือมุมที่มองขึ้นสูงจากขอบฟ้า นับจากเส้นขอบฟ้าขึ้นไปสู่จุดเหนือศีรษะ ซึ่งนับจากเส้นขอบฟ้า (0°) สูงขึ้นไปจนถึงจุดเหนือศีรษะ (90°) ดังนั้นมุมทิศจึงมีค่าระหว่าง (0° - 360°) ดังนั้นมุมเงยจึงมีค่าระหว่าง (0° - 90°) 

          นอกจากนี้ยังมีวิธีการวัดระยะเชิงมุมอย่างง่ายโดยไม่ต้องพึ่งเครื่องมือใด ๆ นั่นก็คือร่างกายของเรานั่นเอง

          การใช้ร่างกายเป็นเครื่องวัดมุม

          หากเราไม่มีอุปกรณ์วัดมุมที่ทันสมัยในการออกภาคสนามดูดาวจริง ๆ เราอาจจะต้องใช้ร่างกายของเราเป็นอุปกรณ์วัดมุมชั่วคราวไปก่อนโดยการยื่นแขนของเราไปข้างหน้าให้สุดแขน นิ้วมือของเราทั้ง 5 เป็นเครื่องบอกมุม ได้ดีทีเดียว

          - ความกว้างของนิ้วก้อย มีค่าเท่ากับ 1° ดวงอาทิตย์ และ ดวงจันทร์ กว้าง 1/2° หรือ ครึ่งหนึ่งของนิ้วก้อย

          - ความกว้างของนิ้วชี้นิ้วกลางนิ้วนาง สามนิ้วรวมกัน มีค่าเท่ากับ 5° หรือเท่ากับระยะระหว่างดาวคู่หน้าของดาวหมีใหญ่

          - ความกว้างของกำปั้น มีค่าเท่ากับ 10° หรือ 9 กำปั้นจากระดับสายตาจะถึง จุดยอดฟ้า Zinith หรือ จุดเหนือศีรษะพอดี

          - ความกว้างระหว่างนิ้วชี้ กับ นิ้วก้อย มีค่าเท่ากับ 15° ดาวเหนืออยู่สูงจากขอบฟ้า ประมาณ 15° หรือเท่ากับความกว้างระหว่างนิ้วชี้ กับ นิ้วก้อย

          - ความกว้างระหว่างนิ้วโป้ง กับ นิ้วก้อย มีค่าเท่ากับ 20°  หรือเท่ากับความยาวของดาวหมีใหญ่  

          ตัวอย่างวิธีการใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือวัดมุม เช่นถ้าเราไปดูดาวดวงหนึ่งที่อยู่สูงจากขอบฟ้าทิศตะวันออก 22°  เราจะรู้ได้อย่างไรว่า 22° มันแค่ไหน ก็ใช้มือของเรานั่นแหละวัดได้เลย จะใช้มือซ้ายหรือมือขวาก็ได้แล้วแต่ถนัด แต่ขอให้เหยียดแขนให้ตรง แล้วกางมือเหยียดนิ้วให้เต็มที่ ใช้ตาข้างใดข้างหนึ่งเล็งผ่านนิ้วก้อยและนิ้วโป้งไปบนท้องฟ้า โดยให้ปลายนิ้วก้อยชี้ที่ขอบฟ้า ระยะทางเชิงมุมบนท้องฟ้าจากปลายนิ้วก้อยถึงปลายนิ้วโป้งจะประมาณ 22°   และในคืนที่มีดวงจันทร์เต็มดวง ให้เราลองกำมือชูนิ้วก้อยและเหยียดแขนออกไปให้สุด ทาบนิ้วก้อยกับดวงจันทร์ เราจะพบว่านิ้วก้อยของเราจะบังดวงจันทร์ได้พอดี เราจึงบอกได้ว่าดวงจันทร์มี "ขนาดเชิงมุม" (Angular Diameter) เท่ากับ 1° โดยขนาดเชิงมุมก็คือ ระยะเชิงมุมที่วัดระหว่างขอบ ของดวงจันทร์นั้นเอง ขนาดเชิงมุมของวัตถุขึ้นอยู่กับระยะห่างของวัตถุกับผู้สังเกต และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางจริงของวัตถุนั้น

          สรุปได้ว่าการที่จะสามารถบอกหรือวัดตำแหน่งของดวงดาวหรือวัตถุท้องฟ้าได้อย่างค่อนข้างแม่นยำนั้น สิ่งที่สำคัญคือจะต้องรู้ทิศเหนือที่ถูกต้อง คือ ทิศที่ชี้ไปยังขั้วโลกเหนือเพราะการวัดมุมทิศ เราเริ่มวัดจากทิศเหนือไปตามเส้นขอบฟ้า และอีกประการหนึ่งคือ ต้องหมั่นสังเกตดวงดาวหรือวัตถุท้องฟ้าจริงก็จะเพิ่มความชำนาญและ สร้างความมั่นใจในการ บอกตำแหน่งและสังเกตกลุ่มดาวต่อไปได้

แหล่งที่มา

ตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า . สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2563, จาก http://astro.rajsima.ac.th/unit6_1.html

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน).  การวัดระยะทาง ทางดาราศาสตร์ (ตอนที่1).  สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2563, จาก http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-article/3343-astronomy-distance-01

Jean Kovalevsky and P.Kenneth Seidelmann. Fundamentals of Astrometry.   Retrieved January 29, 2020, from https://books.google.co.th/books?id=0Srje-dQBicC&pg=RA3-PA261&redir_esc=y#v=onepage&q&f=false  

Stephen P. Maran, MD.  How to Determine the Positions of the Stars. : a review.  Retrieved January 29, 2020, from https://www.dummies.com/education/science/astronomy/determine-positions-stars/

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ดาว,ดวงดาว,ตำแหน่งดวงดาว
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพุธ, 29 มกราคม 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ศรุดา ทิพย์แสง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11353 รู้หรือไม่ว่าตำแหน่งของดวงดาวบอกอะไรเราได้บ้าง /article-earthscience/item/11353-2020-03-12-02-08-31
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    ตำแหน่งดวงดาว ดวงดาว ดาว
คุณอาจจะสนใจ
การนำโปรแกรม Stellarium มาใช้ประกอบการสอน
การนำโปรแกรม Stellarium มาใช้ประกอบการสอ...
Hits ฮิต (431)
ให้คะแนน
เมื่อกล่าวถึงดาราศาสตร์ทุกคนคงทราบกันดีว่าเป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงสิ่งที่อยู่ภายนอกโลก แต่น้อยคนนักจะท ...
การขึ้น-และตกของดวงดาว
การขึ้น-และตกของดวงดาว
Hits ฮิต (114313)
ให้คะแนน
หลายคนเรียนรู้เรื่องราวของดวงดาวและท้องฟ้าจากตำราด้วยการท่องจำ แล้วก็รู้สึก ว่าเรื่องของดวงดาวและท้ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)