logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

Amazon ป่ามหัศจรรย์ ตอนที่ 1

โดย :
สุภัตรา ทรัพย์อุปการ
เมื่อ :
วันศุกร์, 27 กันยายน 2562
Hits
44906

          วันนี้เราจะมาว่ากันด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับ Amazon (แอมะซอน)  แต่อย่าพึ่งเข้าใจผิดไปว่าจะเป็นร้านกาแฟยี่ห้อดังที่เราคุ้นเคย เพราะแอมะซอนที่กำลังจะนำเสนอนี้ คือชื่อป่าสำคัญแห่งหนึ่งของโลกในทวีปอเมริกาใต้นั่นเอง ส่วนที่ว่าจะมหัศจรรย์ยังไง ติดตามอ่านกันได้เลย

10463 1
ภาพมุมสูงป่าแอมะซอน
ที่มา https://pixabay.com/ , pioordozgoith

ลักษณะทั่วไปทางภูมิศาสตร์

          แอมะซอน (Amazon) ป่ามหัศจรรย์ของโลกก็เนื่องมาจากลักษณะสำคัญต่าง ๆ อย่างมากมาย เช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ ขนาดพื้นที่และอีกมากมาย นับเป็นป่าที่ถูกยกให้เป็นป่าลึกลับและเป็นปอดของโลก อันเนื่องมาจากเป็นป่าดิบชื้นเขตร้อนที่มีพื้นที่กว้างใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดในโลก โดยมีอาณาเขตพื้นที่ประมาณ 5.5 ล้านตารางกิโลเมตร กินพื้นที่ประมาณ 9 ประเทศในทวีปอเมริกาใต้ คือ บราซิล เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา เอกวาดอร์ โบลิเวีย กายอานา ซูรินาม และเฟรนช์เกียนา โดย 60% ตั้งอยู่ในประเทศบราซิล และมีแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลกไหลผ่าน คือ แม่น้ำแอมะซอน  ทิศตะวันตกของป่าคือภูเขาแอนดีส ส่วนทิศตะวันตกคือมหาสมุทรแอตแลนติก มีปริมาณน้ำตลอดปี เนื่องจากมีลักษณะพื้นที่เป็นแอ่งขนาดใหญ่รวมถึงแม่น้ำใต้ดินที่ชื่อว่า แม่น้ำริโอแฮมซ่า ที่มี

พืชและสัตว์หลากหลายสายพันธุ์

          ป่าแห่งนี้เป็นป่าที่ถือว่ามีระบบนิเวศที่สมบูรณ์สุดในตอนนี้ แหล่งรวมพืชพันธุ์นานาชนิด ทั้งชนิดที่หายากและชนิดที่ยังรอการสำรวจและค้นพบอีกมากมาย  จากข้อมูลการสำรวจและประมาณการของนักสำรวจ กล่าวว่า พบต้นไม้ประมาณ 390 พันล้านต้นและมีพันธุ์ไม้ประมาณ 16,000 ชนิด  พื้นที่ป่าส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่าทึบ ต้นไม้สูงใหญ่จะมีใบขึ้นในส่วนที่สูงที่สุดของลำต้น ทำให้แสงอาทิตย์ไม่สามารถสอดส่องไปยังพื้นดินได้ ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เพียง 1% เท่านั้น  ดินในผืนแห่งนี้จะมีลักษณะไม่หน่าแน่น ทำให้ต้นไม้ต้องหยั่งลึกรากลึกลงไปกินรัศมีในวงกว้าง

          พืชพรรณหายากสามารถหาได้จากผืนป่าแห่งนี้ เช่น ต้นไม้ระเบิด ที่เป็นต้นไม้ที่มีการขยายพันธุ์ที่โดยการระเบิดตัวเองกลายเป็นเม็ดพันธุ์ โดยสามารถขยายพันธุ์ด้วยแรงระเบิดไปได้ไกลถึง 150 ฟุต

          สัตว์ป่าหายากก็สามารถพบได้ที่ป่าแอมะซอนได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างสัตว์ที่พบในป่านี้เท่านั้นก็อย่างเช่น เคเมนหรือไคเมน สีขาว (Caiman) ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มเดียวกับจระเข้

          ในป่าแห่งนี้จึงขึ้นชื่อว่าเป็นป่าที่รวบรวมสัตว์ดุร้าย รวมถึงมีพิษมากที่สุดในโลก เช่น มดหัวกระสุน ชื่อก็บอกถึงความเจ็บปวดราวกับถูกกระสุนปืนยิงได้เลย โดยความเจ็บนี้อาจเทียบได้ 30 เท่าเมื่อเทียบกับการถูกผึ้งต่อย  เสือจากัวร์ ที่มีความดุร้ายรุนแรงจนสามารถทำกะโหลกของสัตว์ที่เป็นเหยื่อแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ ได้ในพริบตา นอกจากนี้ยังมีสัตว์อื่น ๆ อีกมากมายเช่น กบลูกศรพิษ ที่มีความสวยงามแต่มีพิษร้ายแรง รวมไปถึงสัตว์น่ากลัวที่เรารู้จักกันดีอย่าง อนาคอนด้างูยักษ์ และปลาที่ดุร้ายที่สุดอย่างปลาปิรันยา

แม่น้ำสายสำคัญ

          ป่าแอมะซอนมีแม่น้ำสำคัญหลายสายไหลผ่าน เช่น แม่น้ำแอมะซอน ซึ่งถือเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยมีความยาวประมาณ 4,100 ไมล์ ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนและสัตว์ป่าในกลุ่มลุ่มแม่น้ำแอมะซอน

กลุ่มชาติพันธุ์

         จากข้อมูลนักสำรวจ ได้รายงานว่า ป่าแอมะซอนเป็นบ้านเกิดของกลุ่มคน 300 กลุ่ม รวมถึงยังมีหลายชนเผ่า ที่คงยังเป็นชนเผ่าที่ปิดตัวเองจากโลกภายนอก ไม่ติดต่อและรับคนต่างถิ่นเข้าพื้นที่โดยเด็ดขาด

          นี่ก็เป็นเพียงการแนะนำให้รู้จักกับผืนป่ามหัศจรรย์กันไว้เบื้องต้น ยังไม่จบเพียงเท่านี้ ติดตามอ่านบทความ Amazon ป่ามหัศจรรย์ ตอนที่ 2 ได้ในโอกาสต่อไปเร็ว ๆ นี้

แหล่งที่มา

ป่าดิบชื้นแอมะซอน. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2562. จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ป่าดิบชื้นแอมะซอน

ป่าแอมะซอน. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2562. จาก www.bahaindex.com/category/ป่าแอมะซอน/

9 เหตุผลสุดโหดทำไม “แอมะซอน” ถึงไม่เหมือนที่ใดบนโลกใบนี้. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2562. จาก https://www.gobear.com/th/blog/travel-insurance/nine-things-why-amazon-is-unique

24 รูปภาพความมหัศจรรย์แห่ง “ป่าอเมซอน” และแสดงให้เห็นว่ามนุษย์ทำลายมันไปแค่ไหน. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2562. จาก https://www.catdumb.com/24-photo-of-amazon-destroy/

แม่น้ำแอมะซอน. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2562. จาก http://www.digitalschool.club/digitalschool/social1_1_1/social3_5/lesson5_3/page4.php

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
Amazon, ป่า,มหัศจรรย์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 13 มิถุนายน 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุภัตรา ทรัพย์อุปการ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10463 Amazon ป่ามหัศจรรย์ ตอนที่ 1 /article-earthscience/item/10463-amazon-1
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)