logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • เคมี
  • สเตียรอยด์ในเครื่องสำอางอันตรายอย่างไร?

สเตียรอยด์ในเครื่องสำอางอันตรายอย่างไร?

โดย :
สุภาวดี สาระวัน
เมื่อ :
วันอังคาร, 04 มิถุนายน 2562
Hits
16221

          ท่านผู้อ่านเคยสงสัยหรือไม่ว่า ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่จำหน่ายในท้องตลาดในทุกวันนี้ มีมากมายหลากหลายชนิดทั้งคุณภาพและราคาที่แตกต่างกันออกไปนั้น เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าผลิตภัณฑ์ที่เราเลือกใช้มีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด?  ในวันนี้เราจะมากล่าวถึงสารชนิดหนึ่งที่มีอันตรายและส่งผลต่อผู้บริโภคอย่างยิ่ง ซึ่งจากรายงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักยาและวัตถุเสพติด ได้กล่าวถึงโทษของสารสเตียรอยด์ในเครื่องสำอางไว้ดังรายละเอียดต่อไปนี้

9828 1

ภาพที่1  สเตียรอยด์ในเครื่องสำอาง
ที่มา https://pixabay.com/ ,Bru-nO

         steroid หรือ สเตอรอยด์ (ออกเสียงแบบอเมริกัน) สเตียรอยด์ (ออกเสียงแบบอังกฤษ) เป็นลิพิดที่มีคุณสมบัติพิเศษ โดยที่โครงสร้างคาร์บอนจะเป็นวงแหวน 4 วงเชื่อมต่อกัน ความแตกต่างของชนิดสเตียรอยด์จะผันแปรไปตามฟังก์ชันนัลกรุ๊ป (functional group) ที่ติดอยู่กับวงแหวนเหล่านี้ มีสเตียรอยด์แตกต่างกันนับร้อยชนิดที่สามารถตรวจพบในพืชและสัตว์ ตัวอย่างบทบาทสำคัญของสเตียรอยด์ในสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่คือ ฮอร์โมน

9828 2

ภาพที่  2  โครงสร้างทางเคมีของสเตียรอยด์
ที่มา  https://th.wikipedia.org/wiki/สเตียรอยด์

          ในสรีรวิทยาและการแพทย์ของมนุษย์ สารสเตียรอยด์ที่สำคัญส่วนใหญ่ คือ คอเลสเตอรอล, สเตียรอยด์, ฮอร์โมน และสารตั้งต้น (precursor) และเมแทบอไลต์ คอเลสเตอรอลเป็นสารประกอบประเภท สเตียรอยด์แอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ในสัตว์ แต่อย่างไรก็ดี ถ้ามันมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้เกิดโรค และภาวะผิดปกติมากมาย เช่น ภาวะผนังเส้นโลหิตแดงหนาและมีความยึดหยุ่นน้อยลง (atherosclerosis) สเตียรอยด์อื่นส่วนใหญ่ถูกสังเคราะห์จากคอเลสเตอรอลฮอร์โมนต่าง ๆ เช่น ฮอร์โมนเพศของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrate) ก็เป็นสเตียรอยด์ที่สร้างจากคอเลสเตอรอล

          สเตียรอยด์ เป็นกลุ่มฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นได้เอง ในปริมาณเพียงเล็กน้อย เพื่อทำหน้าที่ในกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกายให้เป็นปกติ ตัวอย่าง เช่น ต้านการอักเสบ ลดอาการปวด ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานเป็นปกติ  เป็นต้น เนื่องด้วยคุณสมบัติของสารสเตียรอยด์ที่จำเป็นต่อร่างกาย จึงทำให้มีการผลิตสเตียรอยด์สังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้ทางการแพทย์ มีหลายชนิด และหลายรูปแบบทั้งยาฉีด ยาเม็ด และยาครีม

9828 3
ภาพที่  3  ปฎิกิริยาเคมีในการสังเคราะห์สเตียรอยด์ 
ที่มา  https://th.wikipedia.org/wiki/สเตียรอยด์       

          สำหรับสเตียรอยด์สังเคราะห์ 2 ชนิดที่ตรวจพบว่ามักนำมาปนปลอมในยาแผนโบราณ มีชื่อว่า เด็กซาเมทาโซน (Dexamethasone) และเพร็ดนิโซโลน (Prednisolone) เป็นยาแผนปัจจุบันในรูปแบบยาเม็ด โดยมีการนำมาบดผสมในยาแผนโบราณ เนื่องจากสเตียรอยด์มีฤทธิ์ต่อหลายระบบในร่างกาย ระยะแรกที่ได้รับสเตียรอยด์อาจรู้สึกว่าทำให้อาการโรคดีขึ้น ผู้รับประทานจึงหลงเชื่อและรับประทานต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก เนื่องจากเป็นการได้รับยาที่ไม่ได้บ่งใช้โดยแพทย์ เนื่องจากสเตียรอยด์เป็นยาอันตราย มีผลข้างเคียงมาก การใช้ยาต้องมีการติดตามและปรับขนาดยาให้เหมาะสม มักไม่ใช้ต่อเนื่องนานโดยไม่จำเป็นและแพทย์ต้องดูแลใกล้ชิด

          เนื่องจากสเตียรอยด์มีฤทธิ์ต่อหลายระบบของร่างกาย จึงมีผลได้ทั่วร่างกาย เช่น ผลกดภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง จึงติดเชื้อง่ายทำให้เยื่อบุในกระเพาะอาหารบางลงและยับยั้งการสร้างเนื้อเยื่อกระเพาะอาหารใหม่ อาจทำให้กระเพาะอาหารทะลุ หรือเลือดออกในกระเพาะอาหารโดยไม่มีอาการปวดท้องมาก่อน

          ทำให้กระดูกพรุน ในผู้ป่วยเบาหวานจะไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในช่วงปกติได้ ผู้ป่วยความดันโลหิตไม่สามารถควบคุมระดับความดันให้อยู่ในช่วงปกติได้ จะมีระดับความดันโลหิตสูง แต่ไม่มีอาการเตือน  เป็นภัยเงียบที่อาจทำให้เกิดเส้นเลือดในสมองแตก เสี่ยงเป็นอัมพฤกษ์-อัมพาตได้

          นอกจากนี้การได้รับสเตียรอยด์ในขนาดสูงเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า “คุชชิ่ง ซินโดรม (Cushing Syndrome)” ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่สังเกตได้ คือ ใบหน้ากลมคล้ายพระจันทร์ มีไขมันพอกที่ต้นคอ ด้านหลังเป็นหนอก ผิวหนังบาง มีรอยแตกสีม่วงแดงตามผิวหนังที่หน้าท้องและต้นขา สิ่งที่อันตรายอย่างยิ่งคือ เมื่อร่างกายได้รับสารสเตียรอยด์เป็นเวลานาน  ร่างกายจะหยุดสร้างสเตียรอยด์ตามธรรมชาติ ที่เคยสร้างเองได้  หากหยุดใช้อย่างกะทันหันจะทำให้ร่างกายขาดสเตียรอยด์อย่างฉับพลัน อาจเกิดภาวะช็อก หมดสติและเสียชีวิตได้ หากนำส่งโรงพยาบาลไม่ทัน ดังนั้นหากสงสัยว่าได้รับสเตียรอยด์จากการซื้อมาเอง ไม่ใช่โดยแพทย์สั่งใช้ อย่าเพิ่งหยุดยาเอง ขอให้รีบมาพบแพทย์เพื่อหาทางลดยา และการรักษาที่ถูกต้อง

          สเตียรอยด์ชนิดที่ชื่อว่า เด็กซาเมทาโซน (Dexamethasone) และ เพร็ดนิโซโลน (Prednisolone) พบการปนปลอมในยาชุดยาแผนโบราณที่ไม่มีเลขทะเบียนหรือทะเบียนปลอม พบได้ในทุกรูปแบบยา ทั้งยาลูกกลอน ยาผง ยาน้ำ ยาเม็ด ที่กล่าวอ้างสรรพคุณการรักษาแบบครอบจักรวาล เช่น แก้ปวดเข่า ปวดข้อ ปวดหัว แก้แพ้ทุกชนิด แก้หอบ หืด แพ้อากาศ อัมพฤกษ์ อัมพาต ช่วยเจริญอาหาร ถ้าพบยาที่สรรพคุณดีขนาดนี้ขอให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจปนปลอมเสตียรอยด์  และผลตรวจในห้องปฏิบัติการพบว่ามักลักลอบใส่ในปริมาณมากเพื่อหวังให้เห็นผลชัดเจน  ทำให้ประชาชนรู้สึกว่ายาดี กินแล้วหายเป็นปลิดทิ้ง ซึ่งในความจริงคือ ด้วยฤทธิ์ของสเตียรอยด์ที่มีผลต่อหลายระบบของร่างกาย  ในช่วงแรกที่รับประทานยาผู้ป่วยจะรู้สึกว่ามีอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อได้รับยาเป็นเวลานานจะเกิดผลข้างเคียงของสเตียรอยด์  ซึ่งบางกรณีรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

          จากกรายงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักยาและวัตถุเสพติด แนะนำให้หลีกเลี่ยงการซื้อยาแผนโบราณที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา  ในการเลือกซื้อให้ตรวจดูฉลากที่ปิดผนึกบนภาชนะบรรจุ ว่าจะต้องมีเลขทะเบียนตำรับยาซึ่งแสดงว่าได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยเลขทะเบียนดังกล่าวขึ้นต้นด้วยตัวอักษร “G” สำหรับยาแผนโบราณที่ผลิตในประเทศ หรือ “K” สำหรับยาแผนโบราณที่นำเข้ามาในประเทศ นอกจากนี้ฉลากจะต้องมีรายละเอียดอื่น ๆ  ได้แก่ ชื่อยา สูตรยา ชื่อและจังหวัดที่ตั้งของผู้ผลิตยา วันเดือนปีที่ผลิตยา  เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิตยา  ปริมาณยาที่บรรจุ  เนื่องจากหากเป็นทะเบียนยาปลอมรายละเอียดจะไม่ครบถ้วน เนื่องจากเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายที่ต้องแจ้งให้ทราบ

แหล่งที่มา

วิกิพิเดีย สารานุกรมเสรี. สเตียรอยด์. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2562, จาก https://th.wikipedia.org/สเตียรอยด์

สำนักยาและวัตถุเสพติด. (2555). ชุดทดสอบสเตียรอยด์ในเครื่องสำอาง. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 54(3-4): 174-186.

Jeremy M. Berg, John L. Tymoczko and Lubert Stryer. (2002). Steroids and Related Hydrophobic Molecules. Medical Biochemistry.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
สเตียรอยด์, เครื่องสำอาง, ยาและครีมปนเปื้อน, อันตรายของครีม
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอาทิตย์, 10 กุมภาพันธ์ 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุภาวดี สาระวัน
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เคมี
ระดับชั้น
ปฐมวัย
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
ปฐมวัย
ประถมศึกษาตอนต้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 9828 สเตียรอยด์ในเครื่องสำอางอันตรายอย่างไร? /article-chemistry/item/9828-2019-02-21-08-52-18
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ผงะ!40ปีขยะพลาสติกเพิ่มขึ้น100เท่า กระทบชีวิตสัตว์ทะเลแปซิฟิ ...
ผงะ!40ปีขยะพลาสติกเพิ่มขึ้น100เท่า กระทบ...
Hits ฮิต (14282)
ให้คะแนน
ปริมาณชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กที่ ลอยเท้งเต้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่ง ตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้นกว ...
ประโยชน์ของสารส้ม
ประโยชน์ของสารส้ม
Hits ฮิต (20486)
ให้คะแนน
สารส้มใช้ทำให้น้ำตกตะกอนสำคัญ อย่าลืมซื้อพกติดตัวกันไว้สัก 2-3 ก้อน ถึงน้ำที่แกว่งสารส้มแล้วจะยังใช ...
แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม
แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม
Hits ฮิต (23635)
ให้คะแนน
หากลูกหลานหรือเด็กที่คุณรู้จักตั้งแต่อายุประมาณ 3 ขวบขึ้นไป ปรากฏพฤติกรรมแปลก ๆ เช่น ชอบเล่นหรือทำก ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)