logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • เคมี
  • พาราควอท สารเคมีอันตรายทางการเกษตร

พาราควอท สารเคมีอันตรายทางการเกษตร

โดย :
สุภัตรา ทรัพย์อุปการ
เมื่อ :
วันอังคาร, 08 มกราคม 2562
Hits
13165

          ข่าวความเคลื่อนไหวที่เป็นกระแสหนึ่งในสังคมการสื่อสารของไทยคงหนีไม่พ้นเรื่องดังเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับการผลักดันการห้ามใช้สารเคมีอันตราย 3 ชนิด ด้วยกันคือ พาราควอท คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเสต อันเนื่องมาด้วยการตระหนักถึงความสำคัญต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในกลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร โดยเฉพาะช่วงนี้ หลายท่านคงได้ยินได้ฟังคำว่า พาราควอท อยู่บ่อย ๆ เคยสงสัยหรืออยากรู้กันบ้างไหมว่า มันคืออะไร วันนี้เรามีข้อมูลมาให้ได้อ่านกัน แต่สำหรับบทความนี้คงไม่ได้กล่าวถึงข้อพิพาทดังกล่าว เพียงแต่อยากให้ทราบถึงคุณสมบัติของสารเคมีชนิดดังกล่าวไว้เป็นข้อมูลติดตัวไว้เพียงเท่านั้น

8676 1

ภาพที่ 1 พาราควอท สารเคมีอันตราย
ที่มา https://pixabay.com , TheDigitalArtist

ทำความรู้จัก พาราควอท

          พาราควอท (Paraquat) สารเคมีที่เกิดจากการสังเคราะห์ หรือรู้จักกันง่าย ๆ ก็คือยาฆ่าหญ้าชนิดหนึ่ง โดยจัดอยู่ในกลุ่มชนิดของสารกำจัดศัตรูพืชชนิดสารป้องกันกำจัดวัชพืช ซึ่งโดยปกติสารเคมีกำจัดวัชพืช แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ พวกที่มีพิษทำลายไม่เลือก กับพวกที่มีพิษเฉพาะกลุ่มวัชพืช คือทำลายเฉพาะวัชพืชหญ้าใบกว้างหรือวัชพืชใบแคบ ทั้งนี้ พาราควอท จัดอยู่ในกลุ่มของสารกำจัดวัชพืชที่มีพิษทำลายไม่เลือก

         พาราควอทถูกผลิตขึ้นมาครั้งแรกในปี พ.ศ. 2425 ถูกมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2505 ภายใต้ชื่อที่เราอาจคุ้ยเคยกับชื่อต่อไปนี้เสียมากกว่าคือ กรัมม็อกโซน ไตรควอท หรือ เดกซ์ซูรอน สารที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสารเคมีที่สามารถกำจัดวัชพืชได้รวดเร็ว ด้วยคุณสมบัติทำลายคลอโรฟิลล์ในพืชได้อย่างดีเยี่ยม จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นเกษตรกร เพราะเป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ได้รวดเร็วทันใจ สามารถทำลายพืชให้แห้งเหี่ยวตายได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็วใน 1 – 2 ชั่วโมง หลังถูกสารเคมีดังกล่าว มักพบใช้มากในกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกอ้อย ยางพารา และมันสำปะหลัง 

         และด้วยเหตุที่ว่าเป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติสามารถละลายน้ำได้ดี จึงทำให้อาจพบได้ว่าสารดังกล่าวสามารถแทรกซึมไปกับแหล่งน้ำต่าง ๆ ตามธรรมชาติได้ นั่นหมายความว่า ก็มีความเสี่ยงที่สารเคมีชนิดนี้อาจสร้างความเสียหาย ทำอันตรายให้แก่สิ่งมีชีวิตในแหล่งชุมชนที่ใช้สารเคมีชนิดนี้ได้ ซึ่งในรายงานด้านการเกษตรของสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ก็เคยมีรายงานไว้ว่า พาราควอทจะตกค้างอยู่ในดินเป็นระยะเวลาหลายปี โดยจากการตรวจสอบการปนเปื้อนของสารพิษบนพื้นที่ต้นน้ำในจังหวัดน่าน พบว่า จากตัวอย่างน้ำผิวดินที่ตรวจสอบ 65 ตัวอย่าง พบพาราควอทปนเปื้อน 64 ตัวอย่าง ส่วนน้ำใต้ดิน จากตัวอย่าง 15 แห่ง พบพาราควอท 13 แห่ง สารที่ตกค้างยังสามารถแพร่กระจายต่อไปยังพืช สัตว์ และแหล่งน้ำอื่น ๆ ได้

         ในเรื่องของอันตรายของสารเคมีชนิดนี้ อาจเป็นการได้รับจากการเข้าสู่ทางร่างกายทางปาก ผิวหนัง ในกลุ่มเกษตรกรเป็นส่วนใหญ่ จากพฤติกรรม เช่น การใช้งาน การผลิต บรรจุ ขนส่ง และจำหน่าย  เมื่อร่างกายได้รับสารเคมีชนิดนี้ อาจมีอาการตั้งแต่เล็กน้อยจนไปถึงขั้นรุนแรงจนอาจเสียชีวิตได้ โดยแยกเป็นพิษแบบเฉียบพลัน และพิษเรื้อรัง อาการเฉียบพลันที่มักพบคือ อาจเกิดแปลในปาก เจ็บคอ อาเจียน ปวดท้อง แสบร้อนในช่องอก ระยะที่อาจเกิดต่อมาคือ อาการทางระบบปัสสาวะที่ปัสสาวะน้อยหรือขัด ไตวาย ตับอักเสบ หอบ เหนื่อย จนระบอวัยวะภายในไม่ทำงานจนถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด ถ้าโดนผิวหนังก็จะทำให้เกิดบาดแผลผุพอง แสบร้อน ไหม้

         ดังที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็อาจเป็นข้อมูลที่ทำให้ผู้อ่านสัมผัสถึงอันตรายของสารเคมีชนิดนี้ได้แล้วว่า มีความอันตรายแค่ไหน ซึ่งควรอยู่ให้ห่างในการสัมผัสหรือใช้งานสารเคมีชนิดนี้ หรือหากจำเป็นที่ต้องใช้งาน ก็ควรใช้งานอย่างระมัดระวังเป็นที่สุด

แหล่งที่มา

BBC. (2561,26 สิงหาคม). รู้จักพาราควอต 1 ใน 3 สารเคมีอันตรายในอุตสาหกรรมการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2561 . จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-45312985

สุธาสินี อั้งสูงเนิน. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืช.สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2561 . จาก https://tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/download/31481/35246/

Themomentum . (2561,23 พฤษภาคม). ใครแบน ไทยไม่แบน ‘พาราควอต’ สารกำจัดวัชพืชที่ทั่วโลกห้ามใช้. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2561 . จาก https://themomentum.co/paraquat-is-still-being-allowed-in-thailand/

รศ.สุชาตา ชินะจิตร.(2549,20 พฤษภาคม). พาราควอท. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2561 . จาก http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=1&ID=52

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
พาราควอท, สารเคมี ,อันตราย, เกษตร
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพุธ, 22 สิงหาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุภัตรา ทรัพย์อุปการ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เคมี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8676 พาราควอท สารเคมีอันตรายทางการเกษตร /article-chemistry/item/8676-2018-09-11-08-12-13
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ว่าด้วยเรื่องของ “ไฝ”
ว่าด้วยเรื่องของ “ไฝ”
Hits ฮิต (23335)
ให้คะแนน
ว่าด้วยเรื่องของ 'ไฝ' การมีไฝนั้นเป็นความเชื่อมาตั้งแต่โบราณว่าคนที่มีปานหรือไฝตามจุดต่าง ๆ ของร่าง ...
มารู้จักผึ้งในเมืองไทย
มารู้จักผึ้งในเมืองไทย
Hits ฮิต (119688)
ให้คะแนน
....มารู้จัก ผึ้งในเมืองไทย... สุนทร ตรีนันทวัน สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ที่จัดเป็นสัตว์สังคมการเป็นอยู ...
สารพิษ ในหัวกลอย กินแล้วอาจตายได้
สารพิษ ในหัวกลอย กินแล้วอาจตายได้
Hits ฮิต (42322)
ให้คะแนน
สารพิษ ในหัวกลอย กินแล้วอาจตายได้ สุนทร ตรีนันทวัน เมื่อเร็วๆนี้มีข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์เรื่องหนึ่ ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)